เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตา
เป็นต้น เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ
อัปปมัญญา 4 เป็น นวัตตัพพารัมมณะ (คือ เป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) ใน
ติกะทั้งสามทีเดียว. ในอัชฌัตตารัมมณติกะ อัปปมัญญา 4 เป็น พหิทธารัมมณะ
(คือ เป็นอารมณ์ภายนอก).
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อนึ่ง ในอัปปมัญญาวิภังค์นี้ อันพระสัมมาสัมพุทธะ ตรัสอัปมัญญา
ทั้งหลายไว้ในสุตตันตภาชนีย์ก็ดี เป็นโลกิยะอย่างเดียว. จริงอยู่ นัยทั้งสาม
(คือ สุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) เหล่านี้ กำหนดได้เป็นอย่างเดียว
กัน เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นเพียงโลกีย์. แม้อัปปมัญญาวิภังคนิทเทสนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว 3 ปริวัฏ ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล.
อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนิทเทส จบ

14. สิกขาปทวิภังค์


อภิธรรมภาชนีย์


แจกสิกขาบท 5 ด้วยกามาวจรกุศลจิต 8 นัยที่

1
[767] สิกขาบท 5 คือ
1. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
2. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
3. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
4. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[768] ใน สิกขาบท 5 นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน
สมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่
ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่
ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต การกำจัดต้นเหตุแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น
อันใดของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณี -
สิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?
กามาวรจกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน
สมัยใด การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ในสมัยนั้น อันใด