เมนู

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา. ในข้อนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึงพร้อม
ด้วยความเป็นมิตร. ชื่อว่า ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึง
พร้อมด้วยความเป็นอมิตร. คำใดยังเหลืออยู่ที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.
แม้วิธีการเจริญภาวนาของกรรมฐานเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้ว
โดยพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


ในอภิธรรมภาชนีย์ นี้ ว่าโดยกุศลก็ดี โดยวิบากก็ดี พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงจำแนกแล้ว โดยนัยที่จำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ.
แม้เนื้อความแห่งอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตก็พึงทราบ โดยนัยที่ท่านกล่าว
แล้วในที่นั้น.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตา
เป็นต้น เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ
อัปปมัญญา 4 เป็น นวัตตัพพารัมมณะ (คือ เป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) ใน
ติกะทั้งสามทีเดียว. ในอัชฌัตตารัมมณติกะ อัปปมัญญา 4 เป็น พหิทธารัมมณะ
(คือ เป็นอารมณ์ภายนอก).
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อนึ่ง ในอัปปมัญญาวิภังค์นี้ อันพระสัมมาสัมพุทธะ ตรัสอัปมัญญา
ทั้งหลายไว้ในสุตตันตภาชนีย์ก็ดี เป็นโลกิยะอย่างเดียว. จริงอยู่ นัยทั้งสาม
(คือ สุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) เหล่านี้ กำหนดได้เป็นอย่างเดียว
กัน เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นเพียงโลกีย์. แม้อัปปมัญญาวิภังคนิทเทสนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว 3 ปริวัฏ ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล.
อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนิทเทส จบ