เมนู

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อแสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง กรุณา. จริงอยู่
ความเป็นแห่งกรุณาอันมีกำลัง ย่อมเกิดในเพราะบุคคลเห็นปานนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ทุคฺคตํ ได้แก่ ผู้ถึงซึ่งความพรั่งพร้อม ด้วย
ทุกข์.
คำว่า ทุรุเปตํ ได้แก่ ผู้เข้าถึงแล้ว ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อีกอย่าง
หนึ่งพึงทราบเนื้อความในข้อนี้นั่นแหละว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืด
ด้วยสามารถแห่งคติวิบัติ ตระกูลวิบัติ และโภควิบัติ เป็นต้น ชื่อว่า ทุคคตะ
(คือ ผู้ตกทุกข์). บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืดในภพเบื้องหน้า เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ทุรุเปโต (คือบุคคล
ผู้เข้าถึงได้ยาก).

มุทิตาอัปปมัญญา


แม้คำว่า "เอกํ ปุคฺคลํ ปิยํ มนาปํ" (แปลว่า เหมือนบุคคล
คนหนึ่ง ผู้เป็นที่รักใคร่ ชอบใจแล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อ
แสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง มุทิตา. ในข้อนี้ พึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่
ในความเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยสามารถแห่งคติสมบัติ ตระกูลสมบัติ และโภคสมบัติ
เป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่รักใคร่. และพึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความ
เป็นผู้มีความรุ่งเรืองในภพเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายสุจริตเป็น
ต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่ชอบใจ.

อุเบกขาอัปปมัญญา


แม้คำว่า "เนว มนาปํ น อมนาปํ" (แปลว่า เหมือนบุคคล
เห็นบุคคลคนหนึ่ง ผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่) นี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา. ในข้อนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึงพร้อม
ด้วยความเป็นมิตร. ชื่อว่า ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึง
พร้อมด้วยความเป็นอมิตร. คำใดยังเหลืออยู่ที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.
แม้วิธีการเจริญภาวนาของกรรมฐานเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้ว
โดยพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


ในอภิธรรมภาชนีย์ นี้ ว่าโดยกุศลก็ดี โดยวิบากก็ดี พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงจำแนกแล้ว โดยนัยที่จำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ.
แม้เนื้อความแห่งอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตก็พึงทราบ โดยนัยที่ท่านกล่าว
แล้วในที่นั้น.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ