เมนู

เมตตาอัปปมัญญา


บัดนี้ พึงทราบบทภาชนีย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น. ในบทภาชนีย์นั้น
กรรมฐานอันประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้มีโทสจริต เพราะ
เหตุนั้น เมตตานี้จึงชื่อว่าถึงอัปปนาในบุคคลตามความเหมาะสม. เพื่อแสดง
ซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งเมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
นาม เอกํ ปุคฺคลํ
เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง
ความอุปมา อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง.
คำว่า ปิยํ (แปลว่า ผู้เป็นที่รักใคร่) ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
คำว่า มนาปํ (แปลว่า ชอบใจ) ได้แก่ ผู้กระทำความเจริญให้
หทัย.
บรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นที่รัก เพราะอำนาจแห่งการเคยอยู่ร่วม
กันในกาลก่อน หรือว่าโดยประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน. ชื่อว่า เป็นที่
ชอบใจ
เพราะการประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นทีรัก พึงทราบด้วยความ
ที่ตนเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทาน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบใจ พึงทราบด้วย
ความเป็นผู้มีวาจาไพเราะ และประพฤติประโยชน์. ก็ในที่นี้ การละพยาบาท
ของเขา ย่อมมีเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่รัก แต่นั้น เมตตา ก็ย่อมแผ่
ไปได้โดยง่าย. ความวางเฉยย่อมไม่ตั้งอยู่ในเพราะความเป็นผู้ชอบใจ อนึ่ง
บุคคลใด ย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ แต่นั้น เมตตาของเขาย่อมไม่
เสื่อม เพราะความเป็นผู้ตามรักษาซึ่งหิริโอตตัปปะ. ฉะนั้น คำว่า ปิยํ (แปลว่า