เมนู

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนินิทเทส


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบ อัปปมัญญาวิภังค์ ในลำดับแห่งฌาน
วิภังค์
นั้น ต่อไป.
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. คำว่า อปฺปมญฺญาโย ได้แก่ ชื่อว่า
อัปปมัญญาทั้งหลาย เพราะอำนาจแห่งการแผ่ไปไม่มีประมาณ. จริงอยู่ ภิกษุ
นั้น ย่อมแผ่อัปปมัญญาเหล่านั้นไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์ หรือว่าย่อมแผ่ไปด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปอันไม่มีส่วนเหลือแม้
สัตว์ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเมตตาเป็นต้นว่า
เป็นอัปปมัญญาทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปในสัตว์อันไม่มีขอบเขต
ดังนี้.
คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระศาสนานี้.
คำว่า เมตฺตาย ได้แก่ ประกอบด้วยเมตตา.
คำว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต.
คำว่า เอกํ ทิสํ ได้แก่ ทิศหนึ่ง. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอาสัตว์ที่ภิกษุกำหนดครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป อันเนื่อง
ด้วยทิศหนึ่ง.
คำว่า ผริตฺวา (แปลว่าแผ่ไป) ได้แก่ สัมผัสแล้ว กระทำให้เป็น
อารมณ์.
คำว่า วิหรติ ได้แก่ ให้วิหารธรรม ในอิริยาบถอันตนตั้งมั่นแล้ว
ด้วยพรหมวิหารเป็นไป.

คำว่า ตถา ทุติยํ (แปลว่า ทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น) อธิบายว่า บรรดา
ทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออก เป็นต้น ภิกษุนั้น ย่อมแผ่ไปยังสัตว์ ในทิศใด
ทิศหนึ่งอยู่ ในทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น ในทิศที่ 3 ในทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น.
คำว่า อุปริทิสํ นี้ พึงทราบคำอธิบายตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วโดยนัยแห่งคำว่า อิติ อุทฺธํ นั้นนั่นแหละ (อุทฺธํ แปลว่า ในทิศ
เบื้องบน).
คำว่า อโธ ติริยํ ได้แก่ ทิศเบื้องขวางก็ดี พึงแผ่เมตตาไป ฉัน
นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง คำว่า อโธ นี้ ได้แก่ ทิศเบื้องต่ำ. คำว่า ติริยํ ได้แก่
อนุทิศ (คือ ทิศน้อย) อธิบายว่า ภิกษุยังจิต อันสหรคตด้วยเมตตาให้แล่น
ออกไปบ้าง ให้แล่นกลับมาบ้าง (ให้ระลึกไปมา) ในทิศทั้งปวง ด้วยอาการ
อย่างนี้ เปรียบเหมือนม้า แล่นไปมาอยู่ในสนามแห่งม้า ฉันนั้น.
การแผ่เมตตา โดยเจาะจง (โอธิโส) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
กำหนดทิศหนึ่ง ๆ แสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้. แต่คำว่า สพฺพธิ
(แปลว่า ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งปวง) เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงการ
แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (อโนธิโส).
ในคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพธิ แปลว่า ในสัตว์โลกทั้งปวง.
คำว่า สพฺพตฺตตาย (แปลว่า เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอ
ในสัตว์ทุกหมู่เหล่า) ได้แก่ เพราะความที่เมตตาจิตนั้น เป็นไปในสัตว์
ทั้งปวงทุกหมู่เหล่า อันต่างด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ชนิดเลว ปานกลาง
อุกฤษฏ์ เป็นมิตรสหาย และสัตว์ผู้เป็นกลาง (คือมิใช่มิตร มิใช่ศัตรู) เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายคำว่า เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอกัน โดย
ตรัสว่า เพราะไม่ทำการแบ่งแยกว่า นี้เป็นสัตว์อื่น ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สพฺพตฺตตาย นี้ ได้แก่ โดยความเป็นจิตที่
ประกอบด้วยเมตตาทั้งปวง คือทรงอธิบายว่า เป็นผู้มีจิตเมตตา มิได้ฟุ้งไป
เป็นอย่างอื่นแม้หน่อยหนึ่ง.
คำว่า สพฺพาวนฺตํ (แปลว่า ทั้งปวง) อธิบายว่า ประกอบด้วย
สัตว์โลกทั้งปวง คำว่า โลกํ ได้แก่ สัตว์โลก. สำหรับในข้อนี้ ตรัสว่า
มีจิตอันสหรคตด้วยเมตตา อีก เพื่อแสดงปริยาย (คือ คำไวพจน์) แห่งคำว่า
วิปุเลน (แปลว่า ไพบูลย์)คือ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ นั้นนั่นแหละ เป็นต้น.
อนึ่ง ศัพท์ว่า ตถา ก็ดี (ตถาศัพท์) ศัพท์ว่า อิติ ก็ดี (อิติศัพท์) พระผู้มี-
พระภาคเจ้า มิได้ตรัสซ้ำในการแผ่ไปโดยไม่เจาะจงนี้ เหมือนการแผ่เมตตาจิต
ไปโดยเจาะจง ฉะนั้น จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ซ้ำอีก. อีก
อย่างหนึ่ง คำว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา นี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งคำ
นิคม (คือ คำที่ตรัสสรุปความ).
อนึ่ง ในคำว่า วิปุเลน นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเมตตาอันไพบูลย์
ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป. ก็เมตตาจิตนั้นเป็นจิตกว้างขวาง (คือ เป็นจิต-
มหัคคตะ) ด้วยสามารถแห่งภูมิ. เมตตาจิตนั้นเป็นจิตหาประมาณมิได้ ด้วย
สามารถเเห่งการกระทำให้คล่องแคล่ว และพึงทราบว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ
ด้วยสามารถแห่งการกระทำสัตว์ให้เป็นอารมณ์. เมตตาจิตนั้น เป็นจิตไม่มีเวร
เพราะละธรรมอันเป็นข้าศึก คือ การเบียดเบียน. เมตตาจิตนั้น เป็นจิตไม่มี
ความพยาบาท เพราะละโทมนัส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายว่า เป็นจิต
ไม่มีทุกข์
ดังนี้. เนื้อความที่ได้พรรณนามานี้ เป็นอรรถแห่งมาติกาที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้โดยนัยว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ด้วยจิตอัน
สหรคตด้วยเมตตา เพียงนี้ก่อน.

เมตตาอัปปมัญญา


บัดนี้ พึงทราบบทภาชนีย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น. ในบทภาชนีย์นั้น
กรรมฐานอันประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้มีโทสจริต เพราะ
เหตุนั้น เมตตานี้จึงชื่อว่าถึงอัปปนาในบุคคลตามความเหมาะสม. เพื่อแสดง
ซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งเมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
นาม เอกํ ปุคฺคลํ
เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง
ความอุปมา อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง.
คำว่า ปิยํ (แปลว่า ผู้เป็นที่รักใคร่) ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
คำว่า มนาปํ (แปลว่า ชอบใจ) ได้แก่ ผู้กระทำความเจริญให้
หทัย.
บรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นที่รัก เพราะอำนาจแห่งการเคยอยู่ร่วม
กันในกาลก่อน หรือว่าโดยประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน. ชื่อว่า เป็นที่
ชอบใจ
เพราะการประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นทีรัก พึงทราบด้วยความ
ที่ตนเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทาน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบใจ พึงทราบด้วย
ความเป็นผู้มีวาจาไพเราะ และประพฤติประโยชน์. ก็ในที่นี้ การละพยาบาท
ของเขา ย่อมมีเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่รัก แต่นั้น เมตตา ก็ย่อมแผ่
ไปได้โดยง่าย. ความวางเฉยย่อมไม่ตั้งอยู่ในเพราะความเป็นผู้ชอบใจ อนึ่ง
บุคคลใด ย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ แต่นั้น เมตตาของเขาย่อมไม่
เสื่อม เพราะความเป็นผู้ตามรักษาซึ่งหิริโอตตัปปะ. ฉะนั้น คำว่า ปิยํ (แปลว่า