เมนู

กรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งปวง หรืออุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐานไว้
ด้วยสติสัมปชัญญะ. ตรัสการได้สมถะ ด้วยสติหรือว่าด้วยอำนาจ
กายานุปัสสนา. ตรัสวิปัสสนาไว้ ด้วยสัมปชัญญะ. และตรัสผล
แห่งภาวนาไว้ ด้วยการนำอภิชฌาโทมนัสออก
ดังนี้.
พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ

พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาเป็นต้น


วินิจฉัย ในอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้น.
พึงทราบ เวทนาภายใน เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็บรรดา
เวทนาเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดไว้ 3 อย่าง คือ ใน
เวทนาเป็นต้น ของตน 1 ในเวทนาเป็นต้น ของผู้อื่น 1 ในเวทนาเป็นต้น
ของตนตามกาลสมควร และของผู้อื่นตามกาลสมควร 1. ก็ประโยชน์ในการ
กล่าวซ้ำซึ่งธรรมมีเวทนาเป็นต้น ในคำทั้งหลาย มีคำว่า เวทนาสุ เวทนา-
นุปสฺสี
เป็นต้น พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นแหละ.
ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี, จิตฺเต จิตฺ ตานุปสฺสี, ธมฺเมสุ
ธมฺมานุปสฺสี
นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่ เวทนา 3 และเวทนาเหล่านั้น
ก็เป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น. แม้จิตก็เป็นโลกีย์. แม้ธรรมทั้งหลาย ก็อย่างนั้น.
การจำแนกธรรมเหล่านั้น จักปรากฏในนิทเทสวาระ แต่ในที่นี้ เวทนาอันภิกษุ
พึงตามเห็นได้โดยประการใด เมื่อตามเห็นโดยประการนั้น ก็พึงทราบว่า เป็น
ผู้มีปกติตามเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลาย
ดังนี้. ในจิตและธรรมทั้งหลาย
ก็นัยนี้.

ถามว่า เวทนา พระโยคาวจรจะพึงตามเห็นอย่างไร ?
ตอบว่า สุขเวทนาก่อน พึงตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนา
พึงตามเห็นโดยความเป็นดังลูกศร อทุกขมสุขเวทนา พึงตามเห็นโดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร เห็นอทุกข-
มสุข อันสงบแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่
เที่ยง ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ จักเป็น
ผู้สงบ เที่ยวไป
ดังนี้.
อนึ่ง เวทนาเหล่านั้นทั้งหมดเทียว พึงตามเห็นว่า เป็นทุกข์เท่านั้น
ก็ได้ ข้อนี้สมกับคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เวทนาทั้งหมดนั้นเรากล่าวว่า เป็นทุกข์
ดังนี้. สุขเวทนา พึงตามเห็น
โดยความเป็นทุกข์ก็ได้ เหมือนคำที่ตรัสว่า สุขเวทนายังตั้งอยู่ก็เป็นสุข เมื่อ
แปรไปก็เป็นทุกข์ ดังนี้ บัณฑิตควรยังคำทั้งหมดให้พิสดาร.
อีกอย่างหนึ่ง พึงตามเห็นเวทนา ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา 7 มี
อนิจจานุปัสสนา เป็นต้นบ้างก็ได้. คำที่เหลือจักมีแจ้งในนิทเทสวาระ. แม้
ในจิตและธรรมทั้งหลาย เฉพาะจิต พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา 7
มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น อันมีประเภทต่าง ๆ กัน โดยเป็น อารมณ์ อธิปติ
สหชาต ภูมิ กรรม วิบาก และกิริยา
เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งการ
แตกต่างกันแห่งจิตมีราคะเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. ธรรมทั้งหลาย
พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งสลักษณะ และ สามัญญลักษณะ สุญญตา-
ธรรม อนุปัสสนา 7 มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น
และด้วยสามารถแห่ง

อันต่างด้วยธรรมอันสงบและไม่สงบเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. คำที่
เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในอธิการนี้ อภิชฌาโทมนัสในโลกกล่าว
คือกาย อันบุคคลใดละได้แล้ว อภิชฌาโทมนัสนั้น แม้ในโลกกล่าวคือเวทนา
เป็นต้น ก็ชื่อว่า บุคคลนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริง ถึงอย่างนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในสติปัฏฐานทั้งหมด ด้วยสามารถแห่งบุคคลต่าง ๆ และ
ด้วยสามารถแห่งการเจริญสติปัฏฐาน อันเกิดขึ้นในขณะแห่งจิตที่แตกต่างกัน.
จริงอยู่ การละอภิชฌาโทมนัสในโลกหนึ่งได้แล้ว ก็ชื่อว่า ละอภิชฌาโทมนัส
ในโลกที่เหลือได้. ด้วยเหตุนั้นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
คำนั้นไว้ ก็เพื่อแสดงการละอภิชฌาโทมนัสในโลกเหล่านั้น ของบุคคลนั้น แล.
อุทเทสวารกถา จบ

นิทเทสวารกถา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะกระทำสัตว์ทั้งหลาย ให้
บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ มีประการมิใช่น้อย ด้วยสติปัฏฐานเทศนา จึงทรงแบ่ง
สัมมาสติข้อหนึ่งนั่นแหละ ออกเป็น 4 ส่วน เป็นสติปัฏฐาน 4 ด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์ โดยนัยว่า ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายในเนือง ๆ อยู่
เป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงถือเอาสติปัฏฐานหนึ่ง ๆ จาก
สติปัฏฐาน 4 นั้นจำแนกออกไป จึงเริ่มตรัสนิทเทสวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ดังนี้
เปรียบเหมือนช่างสานผู้ฉลาด ต้องการจะทำอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเสื่อลำแพน
ชนิดหยาบละเอียด เตียบ ข้อง และชะลอมเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำ
หนึ่งแล้วตัดออกเป็น 4 ท่อน ถือเอาท่อนหนึ่ง ๆ จาก 4 ท่อนนั้นผ่าออกแล้ว