เมนู

สาตัจจะ เพราะยังความเพียรนั้นให้เป็นไปทั่ว และยังปัญญากล่าวคือ เนปักกะ
(ปัญญาเป็นเครื่องรักษา) อันถึงความแก่รอบ ให้เป็นไปอยู่นั้นแหละ จึง
ชื่อว่า ประกอบเนือง ๆ ในชาคริยานุโยค อยู่. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสความเพียรเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. แม้ปัญญา ก็มีคติเช่นวิริยะนั่น-
แหละ. คือ เมื่อตรัสเรื่องวิริยะในโลกิยะ วิริยะนั้นก็เป็นโลกิยะ ตรัสวิริยะ
ในโลกุตตระ ก็เป็นโลกุตตระ.
คำว่า โพธิปกฺขิยานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย อันเป็นไป
ในฝ่ายแห่งมรรคญาณ กล่าวคือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจจะทั้ง 4. อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดไว้มีประมาณ 37 เมื่อ
จะทรงแสดงองค์เเห่งการตรัสรู้นั่นแหละ อันสามารถเป็นไปโดยความเป็นอัน
เดียวกันในอารมณ์หนึ่งแห่งภาวนาแม้เป็นโลกีย์ จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา
เป็นอาทิ. โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเหมือนที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง แล.

อธิบายอิริยาบถ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคำว่า อภิกฺกนฺเต เป็นต้น การก้าว
ไปข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ ก่อน ในคำว่า
อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้. การถอยกลับมาข้างหลัง เรียกว่า ปฏิกกันตะ.
อภิกกันตะ แสะปฏิกกันตะ แม้ทั้งสองนี้ ย่อมได้ในอิริยาบถทั้ง 4 คือ
ในอิริยาบถเดินก่อน เมื่อน้อมกายเดินไปข้างหน้า ชื่อว่า อภิกกันตะ.
เมื่อถอยกลับมา ชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถยืน ยังยืนอยู่นั่นแหละ