เมนู

นัยแห่งอรรถกถา


ก็ในอรรถกถา ท่านกล่าวคำไว้เพียงเท่านี้ว่า สติปัฏฐานมีอย่าง
เดียวเท่านั้น ด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการ
ประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ว่าเป็น 4 ได้ด้วย
สามารถแห่งอารมณ์.
ดังนี้. เหมือนอย่างว่าในนครหนึ่งมี 4 ประตู ชน
ทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็
เข้าไปสู่นครทางประตูทิศตะวันออกนั้นนั่นแหละ. ผู้มาจากทิศใต้ ผู้มาจากทิศ
ตะวันตก ผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศเหนือแล้วก็เข้าไปสู่
นครทางประตูทิศเหนือนั่นแหละ ฉันใด คำอุปมาเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้
บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด. จริงอยู่ พระนิพพาน เปรียบเหมือน นคร.
โลกุตตรมรรค
อันประกอบด้วยองค์ 8 เปรียบเหมือน ประตู. กายเป็น
ต้น
เปรียบ เหมือนทิศตะวันออก เป็นต้น. ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก
ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็เข้าไปสู่นครโดยประตูทิศตะวันออก
นั่นแหละ ฉันใดพระโยคาวจรทั้งหลาย ผู้มาด้วยกายานุปัสสนาเป็นประธาน
ก็ฉันนั้น เจริญกายานุปัสสนาโดย 14 ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่ง
เทียว ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการเจริญกายานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศใต้ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศใต้แล้วก็เข้าไป
สู่นคร โดยประตูด้านใต้นั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มาด้วย
เวทนานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญเวทนานุปัสสนาโดย 8 ปัพพะ
แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคเกิดขึ้นด้วยอานุภาพ
แห่งการเจริญเวทนานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันตก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศตะวันตก
แล้วเข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านตะวันตกนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจร

ทั้งหลาย ผู้มาด้วยจิตตานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้นเจริญจิตตานุปัสสนา
16 ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้น
ด้วยอานุภาพแห่งจิตตานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศเหนือแล้ว
เข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านเหนือนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มา
ด้วยธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน
ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาโดย 5 ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่ง
นั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมานุปัสสนา.
ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน
ไว้ 1 เท่านั้นด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการ
ประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตรัสสติปัฏฐานไว้ 4
ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
ดังนี้.

กายานุปัสสนานิทเทส


อุทเทสวารกถา


อธิบายคำว่า อิธ ภิกฺขุ

(ภิกษุในพระศาสนานี้)


ในคำว่า อิธ ภิกฺขุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในเทวโลกตรัส
สติปัฏฐานวิภังค์นี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่านั่งอยู่ในสำนักของพระองค์ใน
เทวโลกนั้นไม่มีก็จริง เมื่อความเป็นอย่างนั้น (เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสคำ
ว่า อิธ ภิกฺขุ นี้) ก็เพราะสติปัฏฐานเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของภิกษุ ทั้ง
ภิกษุทั้งหลายก็เจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านั้น ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า อิธ
ภิกฺขุ
ดังนี้.