เมนู

ภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่ด้วยอิริยาบถของภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์สังวรศีล
ด้วยบทแม้ทั้ง 71 มีคำว่า อิริยติ เป็นต้น

อนาจารนิทเทส

2

ในนิทเทสแห่งอาจาระและโคจระ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านประสงค์จะกล่าวอาจาระของสมณะ โคจระของสมณะแม้โดยแท้ จึงทรงยก
ซึ่งบทว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระมีอยู่ด้วยบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวว่า
ท่านจงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา ย่อมบอกทางอันมีภัย ทางอันผิด อัน
บุคคลพึงปล่อยวางก่อน ภายหลังจึงบอกทางอันเกษม ทางอันตรงอันบุคคล
พึงถือเอา ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พระธรรมราชา เช่นกับบุรุษผู้
ฉลาดในทาง ทรงบอกอนาจาระ อันพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว อันบุคคล
พึงละก่อน เมื่อจะทรงบอกอาจาระในภายหลังจึงตรัสว่า ตตฺถ กตโม อนา-
จาโร
เป็นอาทิ. จริงอยู่ หนทาง ที่บุคคลบอกแล้วพึงไปถึงหรือไม่
ถึงก็ได้ ส่วนทางที่พระตถาคตบอกแล้ว
เป็นทางชอบธรรม ไม่ผิดหวัง
ย่อมให้บรรลุถึงพระนคร คือ พระนิพพาน ดุจวชิราวุธ อันพระอินทร์ทรง
ปล่อยไปแล้ว ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง
ดังนี้ คำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนี้ เป็นชื่อของพระตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบความเพียรในกัลยาณธรรม ย่อม
เป็นธรรมอันสมบูรณ์แก่บุคคลผู้มีบาปธรรมอันละแล้ว เปรียบเหมือนการทัด
ทรงด้วยเครื่องประดับ มีระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น

1. ทั้ง 7 บท คือ ผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วย
ดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี และประกอบแล้ว
2. อนาจาระ หมายถึงความประพฤติไม่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ อาจาระ

ย่อมสมควรแก่บุคคลผู้มีเหงื่อไคลและมลทินอันตนชำระแล้ว ด้วยการอาบน้ำ
พร้อมทั้งสระหัว ฉะนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระประสงค์จะบอก
อนาจาระอันบุคคลพึงละก่อน เหมือนบุคคลทำความสะอาดชำระล้างเหงื่อไคล
และมลทิน ด้วยการอาบน้ำสระหัว ภายหลังบอกอาจาระซึ่งเปรียบเหมือนการ
ทัดทรงด้วยเครื่องประดับมีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น จึง
ตรัสคำว่า ตตฺถ กตโม อนาจาโร เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความล่วงละเมิดทางกาย ได้แก่ กาย
ทุจริต 3. คำว่า ความล่วงละเมิดทางวาจา ได้แก่ วจีทุจริต 4. คำว่า
ความล่วงละเมิดทางกายและวาจา ได้แก่ กายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 เหล่า
นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการก้าวล่วงของบุคคลผู้มีอาชีวัฏฐมกสีล
(ศีลมีอาชีวะเป็นที่ 8) นั้นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้. ก็เพราะบุคคลไม่ประ-
พฤติอนาจารด้วยกายและวาจาเท่านั้น ย่อมประพฤติแม้ด้วยใจทีเดียว ฉะนั้น
เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความเป็นผู้ทุศีล
แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่า อนาจาระ
ดังนี้.
ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอาจาระอย่างใด
อย่างหนึ่ง จึงตรัสดำว่า อิเธกจฺโจ เวฬุทาเนน เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุ
บางรูปในพระศาสนานี้ย่อมเลี้ยงชีพ ด้วยการให้ไม้ไผ่เป็นต้น).
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า การให้ไม้ไผ่ ได้แก่ การให้ไม้ไผ่อัน
เป็นเครื่องอาศัยเป็นเหตุ. อธิบายว่า ภิกษุไม่ควรให้แก่อุปัฏฐาก ด้วยอันคิด
ว่า เราจักนำไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นเอง หรือไม้ไผ่ที่มีบุคคลคุ้มครองรักษามาให้เป็น
เครื่องใช้สอย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นต้น เพราะว่า ภิกษุเมื่อสำเร็จการเลี้ยง
ชีพอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาอันไม่ชอบธรรม เป็นมิจฉา-

อาชีวะ. ภิกษุนั้นแหละ ย่อมถูกครหา ในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ขวนขวายในอบาย ภิกษุนั้น เมื่อให้ไม้ไผ่อันเป็นของเฉพาะตนย่อม
ต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ (ผู้ประทุษร้ายตระกูล) เมื่อให้ไม้ไผ่อัน
เป็นของเฉพาะของคนอื่น ย่อมต้องอาบัติ ด้วยเถยยจิต (ขโมย) สงฆ์พึง
กระทำทัณฑกรรมแก่เธอตามราคาสิ่งของนั้น. แม้การให้ไม้ไผ่อันเป็นของสงฆ์
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุย่อมให้ไม้ไผ่นั้น เพราะความที่ตนเป็นใหญ่
เธอก็จะต้องอาบัติ เพราะการสละครุภัณฑ์.
ไม้ไผ่ประเภทไหนเป็นครุภัณฑ์ ประเภทไหนไม่เป็น พึงทราบ
ความดังต่อไปนี้.

ไม้ไผ่ใด ที่ไม่ได้ปลูกไว้ เกิดขึ้นเองก่อน ไม้ไผ่นั้นเป็นครุภัณฑ์
ตามฐานะที่สงฆ์กำหนดเท่านั้น นอกนั้น ไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ไผ่ทั้งปวง
เป็นครุภัณฑ์ โดยประการทั้งปวง
ในอันที่สงฆ์ปลูกไว้แล้ว. ไม้ไผ่นั้น
ท่านกำหนดแล้วโดยประมาณ. จริงอยู่ มีประมาณหนึ่งทะนานตวงน้ำมัน
จัดเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น. อนึ่ง ภิกษุใด มีความต้องการด้วย
ทะนานตวงน้ำมัน หรือต้องการไม้เท้า สงฆ์พึงถือเอาสิ่งนั้นกระทำให้เป็น
ผาติกรรม1 เถิด. ผาติกรรมเป็นของมีราคา หรือเป็นของมากกว่าของสงฆ์
ย่อมควร น้อยกว่า ไม่ควร. แม้หัตถกรรม ลักว่าวัตถุเป็นเครื่องนำน้ำไป
หรือว่า วัตถุเป็นเครื่องดายหญ้าอันเล็กน้อย ก็เช่นเดียวกัน สงฆ์ควรทำ
ผาติกรรมนั้นให้ถาวร. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุโกยเลนขึ้นจากสระน้ำก็ดี
ใช้ให้บุคคลปูลาดพื้นที่บันไดเพื่อทำพื้นที่ไม่เสมอให้เสมอกันก็ดี ควรอยู่ แต่ไม่
ต้องถือเอาเครื่องผาติกรรม คือ เมื่อเธออาศัยอยู่ที่นั้นนั่นแหละพึงใช้สอย เมื่อ

1. ผาติกรรม หมายถึงสิ่งของแลกเปลี่ยน ในทางพระวินัย หมายถึง การชดเชยของสงฆ์
ด้วยสิ่งอื่น

เธอหลีกไปแล้ว พึงทำสิ่งของเหล่านั้นให้เป็นของสงฆ์ เมื่อเธอหลงลืมถือเอา
สิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เมื่อไปแล้วในที่ระลึกได้ ก็พึงนำกลับมาคืนแต่ที่นั้น ถ้า
ภัยมีในระหว่าง ก็พึงวางสิ่งนั้นไว้ในที่วิหารอันตนไปถึงแล้ว. พวกมนุษย์
ไปสู่วิหารขอไม้ไผ่ ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะให้ได้ โดยการบอกว่า นั่น
เป็นของสงฆ์ ถ้าพวกเขาขอบ่อย ๆ หรือคุกคาม ในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงทำทัณฑกรรม1 แล้วถือเอาเถิด. ขึ้นชื่อว่า การ
ให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. ถ้าว่า พวกมนุษย์เหล่านั้นถวายสิ่งของมีมีดและขวาน
เป็นต้น หรือขาทนียะโภชนียะเพื่อกระทำให้เป็นสินไหม ไม่ควรรับ.
ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า พวกมนุษย์ถูกไฟไหม้บ้าน
ถือเอาสิ่งของไปอยู่ ภิกษุไม่ควรห้าม ถ้าขุยไผ่เกิดขึ้นที่กอไผ่ของสงฆ์ เมื่อ
ไม่ให้ใครเคาะอยู่ ไม้ไผ่นั้นย่อมพินาศไป สงฆ์จะพึงทำอย่างไร สงฆ์พึงบอก
พวกมนุษย์ในเวลาที่ไปภิกขาจาร ถ้าพวกเขาไม่ปรารถนาจะช่วยทำ ก็พึงพูดว่า
พวกท่านจะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าเขาไม่ต้องการ ก็พึงพูดว่า พวกท่านจักได้
2 ส่วน เมื่อพวกเขาไม่ปรารถนาแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ต้องการไม้ไผ่นั้น
ก็พึงบอกว่า พวกของท่านมีอยู่ ท่านจงทำให้เป็นสินไหม จงเคาะไม้ไผ่ แล้ว
ถือเอาสิ่งนั้นเถิด. ขึ้นชื่อว่า การให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. แม้กอไผ่ถูกไฟไหม้ก็ดี
แม้ถูกน้ำพัดไปก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
กถามรรค แม้ในต้นไม้ทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. สำหรับต้นไม้
มีประมาณเท่าท่อนเข็ม ก็จัดเป็นครุภัณฑ์ได้. ภิกษุทำลายต้นไม้อันเป็นของ
สงฆ์ เพื่อทำอาวาส (ที่อยู่) อันเป็นของสงฆ์ แม้ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน
ก็ทำได้ แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ พึงบอกขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วพึงทำ.
1. ทัณฑกรรม หมายถึงสินไหม หรือราคาของที่จะแลกเปลี่ยน

ถามว่า ภิกษุทำลายต้นไม้ของสงฆ์ ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน
ควรเพื่อกระทำอาวาสเฉพาะบุคคล หรือไม่.
ตอบว่า ไม่ควร.
ก็ เมื่อว่าโดยหัตถกรรมอย่างสูง ภิกษุย่อมได้สักว่าที่เป็นที่ตั้งเตียง
ในบ้านหลังหนึ่งในบ้าน 3 หลัง ภิกษุมีสิทธิได้หลังเดียว. ถ้าทัพพสัมภาระ
เป็นของเฉพาะบุคคล พื้นดินเป็นของสงฆ์ ภิกษุนั้นย่อมได้ส่วนเสมอกันกระทำ
บ้านหลังหนึ่ง คือ บรรดาบ้านที่เธอทำ 2 หลัง เธอควรได้หลังหนึ่ง. เมื่อ
ต้นไม้อันเป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาส (ที่อยู่) ของสงฆ์ ภิกษุไม่ขออนุญาต
สงฆ์ก่อนนำออกไป ควรหรือไม่ ตอบว่า ควร แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ
ควรขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วนำออกไป. ถ้าลาภใหญ่ของสงฆ์ อาศัยต้นไม้มีอยู่
ก็ไม่ควรนำออกไป.
เมื่อต้นไม้อันเป็นของเฉพาะบุคคล เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของสงฆ์
พึงบอกแก่เจ้าของต้นไม้. ถ้าว่า เขาไม่ปรารถนาจะนำออกไป พึงให้บุคคล
ตัดก่อน แล้วจึงนำออกไป. เมื่อถูกเขาท้วงว่า พวกท่านจงให้ต้นไม้แก่เรา
ดังนี้ พึงให้เขาตีราคาต้นไม้นั้น แล้วให้ทรัพย์ตามราคาทุน. เมื่อต้นไม้อัน
เป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ต้นไม้อันเป็นของเฉพาะ
บุคคลเบียดเบียน อาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
กถามรรค แม้ในเถาวัลย์ (ไม้เถา) ก็นัยนี้นั่นแหละ. อนึ่ง ในที่ใด
เถาวัลย์เป็นของหาได้ยาก เขาย่อมทำการซื้อขายกัน ในที่นั้น จัดเป็นครุภัณฑ์.
ก็เถาวัลย์นั้นแล มีประมาณกึ่งหนึ่งของแขน จัดเป็นครุภัณฑ์ ท่อนเถาวัลย์
ต่ำกว่านั้น ไม่เป็น.
คำทั้งปวง แม้ในคำว่า การให้ใบไม้ เป็นต้น ซึ่งมีคำว่า ด้วย
การให้ใบไม้ เป็นต้น ได้แก่ ด้วยการให้ใบไม้อันเป็นเครื่องอาศัยเป็นเหตุ.

พึงทราบวินิจฉัยว่าด้วยความเป็นครุภัณฑ์ ในอธิการนี้ต่อไป.
จริงอยู่ บุคคลย่อมซื้อขายแม้ใบไม้ในที่ใด ชนทั้งหลาย ย่อมถือเอา
เพื่อต้องการแก่ประโยชน์ทั้งหลาย มีการห่อหนังสือเป็นต้น ในที่อันหาได้ยาก
เช่นนั้น ย่อมจัดเป็นครุภัณฑ์ทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในใบไม้ทองหลาง และ
ใบตาล. แม้ใบตาลบัณฑิตก็พึงกล่าวในฐานะนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ใบตาล
ในป่าตาลที่เกิดเอง ในที่อันสงฆ์กำหนดไว้นั่นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์. นอก
จากนั้นไม่เป็น. ตาลที่สงฆ์ปลูกไว้ เป็นครุภัณฑ์ แม้ทั้งหมด. ใบลานเปล่า
โดยที่สุดมีประมาณ 8 นิ้ว เป็นประมาณของครุภัณฑ์. แม้หญ้า ก็พึงอนุโลม
เข้าในข้อนี้เหมือนกัน. ก็ในที่ใด หญ้าไม่มี ในที่นั้น ชนทั้งหลายย่อมใช้
กำบัง ด้วยหญ้ามุงกระค่าย ด้วยฟาง และด้วยใบมะพร้าวเป็นต้น เพราะฉะนั้น
หญ้าทั้งหลาย แม้เหล่านั้น ท่านจึงสงเคราะห์เข้าในข้อนี้. ในหญ้ามุงกระต่าย
และฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง มีประมาณหนึ่งกำมือ เป็นครุภัณฑ์.
ในบรรดาใบมะพร้าวเป็นต้น แม้ใบหนึ่ง อันบุคคลถวายแก่สงฆ์ หรือที่เกิด
ในที่ของสงฆ์ หรือหญ้าที่เกิดเอง เป็นของอันบุคคลคุ้มครองรักษาในพื้นที่
แห่งหญ้าของสงฆ์ ภายนอกอารามก็จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมก็ดี
ทำเจดีย์ก็ดี ในการทำอันเป็นของเฉพาะบุคคลก็ดี การให้หญ้านั้นเกินไป
ก็ควร. แม้ในไม้ไผ่ที่กล่าวแล้วในหนหลัง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ ดอกไม้ทั้งหลายที่จัดเป็นครุภัณฑ์
คือ ที่สงฆ์กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้ทั้งหลาย มี
ประมาณเท่านี้ แล้วน้อมไปในระเบียบแห่งข้าวยาคูและภัต หรือน้อมไปใน
การปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มีประมาณเท่านี้ ดังนี้.

สามเณรทั้งหลาย เก็บดอกไม้ทั้งหลายในภายนอกกระทำให้เป็นกองไว้
ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 ซึ่งเป็นผู้แจกดอกไม้ นับจำนวนภิกษุสงฆ์แล้ว
แบ่งไว้เป็นส่วน ๆ เธอไม่ต้องขออนุญาตสงฆ์ก่อน ย่อมแจกแก่บริษัทที่มา
แล้วได้. อนึ่ง ภิกษุผู้แจกนั้น สงฆ์ยังมิได้สมมติ พึงขออนุญาตสงฆ์แล้ว
พึงทำการแจกเถิด.
ถามว่า ก็ภิกษุย่อมได้เพื่อจะให้ดอกไม้ทั้งหลายแก่ใคร ไม่ไห้แก่ใคร
ตอบว่า ภิกษุนำดอกไม้ไปสู่บ้านของมารดาบิดาก็ดี หรือยังบุคคลให้
เรียกมารดาบิดามาจากบ้านก็ดี เธอย่อมได้เพื่ออันให้ ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลาย
จงบูชาพระรัตนตรัย
. มิใช่ให้เพื่อเป็นเครื่องประดับ. ภิกษุไม่ควรนำไป
ให้แก่หมู่ญาติเหลือทั้งหลาย ควรให้บุคคลเรียกมาแล้วให้ด้วยคำว่า พวกท่าน
ทั้งหลาย จงทำการบูชา ดังนี้. ภิกษุนั้น ไม่พึงประสงค์ให้แก่ชนที่เหลือ
ผู้มาสู่ที่เป็นที่บูชา. ชื่อว่า การให้ดอกไม้ ย่อมไม่มี. ในวิหาร มีดอกไม้
บานมาก ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เห็นพวกมนุษย์แล้ว พึงพูดว่า ในวิหาร
มีดอกไม้มาก พวกเธอ จงบูชา ดังนี้. โทษย่อมไม่มีในเพราะสักว่าคำพูด.
ก็แต่ว่า เธอไม่ควรพูดด้วยคิดว่า พวกมนุษย์ ถือเอาขาทนียะโภชนียะแล้ว
จักมา ดังนี้ . ก็ภิกษุนั้น ไม่ควรพูดถึงขาทนียะโภชนียะ อันตนพึงบริโภค
ถ้ามนุษย์ทั้งหลาย ถามตามธรรมดาของเขาว่า ดอกไม้ทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร
หรือ และกล่าวต่อไปว่า พวกผมจักมาสู่วิหารในวันชื่อโน้น ท่านทั้งหลาย.
อย่าให้พวกสามเณรเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ดังนี้. แต่พวกภิกษุลืมบอกสามเณร
พวกสามเณรจึงเก็บดอกไม้ทั้งหลายวางไว้ เมื่อพวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุพูดว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันโน้นเทียว พวกกระผมบอกแก่ท่านแล้วว่า อย่าให้
สามเณรเก็บดอกไม้ พวกท่านไม่ได้ห้ามแล้ว. ภิกษุพึงกล่าวว่า เราหลงลืมสติ

ดอกไม้ทั้งหลาย สักว่าอันสามเณรเก็บแล้วนั่นแหละ ยังมิได้ทำการบูชา. ไม่
ควรกล่าวว่า ท่านจงถือเอา จงบูชา. ถ้าว่า เขาย่อมกล่าวถึงอามิส อันตนมิ
พึงบริโภคไซร้ ภิกษุอื่น ย่อมบอกแก่พวกสามเณรว่า มนุษย์ทั้งหลาย บอกว่า
พวกท่านอย่าเก็บดอกไม้ ดังนี้. แม้พวกมนุษย์ นำอามิสมาถวายทาน และ
กล่าวว่า พวกผมไม่ได้สั่งให้สามเณรเก็บดอกไม้พร้อมกับพวกผม. พวกภิกษุ
พึงกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก สามเณรทั้งหลายมีภิกษาแล้ว ภิกษุใด ไม่ไป
ภิกขาจาร ภิกษุนั้นจักทราบเองนั่นแหละ. ภิกษุได้นัยมีประมาณเท่านี้ โทษ
เพราะทำสามเณร หรือบุตร หรือพี่ชายน้องชายให้เก็บดอกไม้ทั้งหลาย ย่อม
ไม่มี. ชื่อว่า การให้ซึ่งดอกไม้ ก็ไม่มี.
ในการให้ผลไม้ แม้ผลไม้ ที่สงฆ์กำหนดแล้ว เหมือนดอกไม้นั้นแหละ
จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อมีผลไม้น้อยใหญ่มากในวิหาร พวกมนุษย์ ไม่สบายมา
ขอ. ภิกษุทั้งหลายไม่ขวนขวายเพื่อให้ โดยคิดว่าสิ่งนั้น เป็นของสงฆ์.
พวกมนุษย์ผู้เดือดร้อน ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ในข้อนี้ ภิกษุพึงทำ
อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย พึงตั้งกฏ (กติกา) กำหนดด้วยผลไม้ทั้งหลาย หรือ
ด้วยต้นไม้ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายไม่พึงห้ามพวกมนุษย์ ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลาย
ไปมีประมาณเท่านี้ ที่ต้นโน้น ๆ หรือว่า ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลาย ในต้นไม้
ทั้งหลาย มีประมาณเท่านี้.
อนึ่ง พวกโจร หรือผู้เป็นใหญ่ ถือเอาโดยพลการ ก็ไม่พึงห้าม.
เพราะว่าชนเหล่านั้นโกรธแล้ว พึงยังวิหารทั้งสิ้นให้พินาศไปก็ได้. แต่ว่า
ภิกษุพึงบอกถึงโทษอันยังทุกข์ให้เป็นไปโดยยิ่ง.
ในการให้จุณสำหรับอาบ จุณสำหรับอาบที่เขาทุบ (บดขยี้) แล้ว
ไม่เป็นครุภัณฑ์. เปลือกไม้อันเขายังไม่ทุบนั่นแหละ เป็นครุภัณฑ์. จุณสำหรับ

อาบ อันสุกแล้วด้วยเครื่องย้อม สมควรแก่ผู้ไม่เป็นไข้ จุณสำหรับอาบอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ย่อมควรแก่ผู้ป่วยทั้งนั้น. แม้ดินเหนียวก็รวมอยู่ในข้อนี้นั่นแหละ.
จริงอยู่ แม้ดินเหนียวในที่ใด เป็นของหาได้โดยยาก ในที่นั้นนั่นแหละ จัด
เป็นครุภัณฑ์ ดินเหนียวแม้นั้นอย่างต่ำที่สุดมีประมาณเท่าน้ำอ้อยงบหนัก 30
ปละ (ตามมาตราชั่งน้ำหนักเท่ากับ 4 ออนซ์) เทียว ต่ำกว่านั้นไม่เป็น.
ในการให้ไม้ชำระฟัน ไม้ชำระฟัน อันเขายังไม่ใช้ เป็นครุภัณฑ์.
วาระแห่งการให้ไม้สีฟันแต่สงฆ์ ย่อมถึงแก่สามเณรเหล่าใด สามเณรเหล่านั้น
ย่อมไม่ได้เพื่อให้แก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะ. แต่ว่า สามเณรเหล่าใด
กำหนดว่า ชนทั้งหลายพึงนำไม้ชำระฟันมีประมาณเท่านี้มา สามเณรเหล่านั้น
ย่อมได้ เพื่ออันถวายแก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะ. ภิกษุรูปเดียว ไม่ควร
ถือเอาไม้ชำระฟันจำนวนมากมาจากโรงไม้ชำระฟัน พึงถือเอาอันเดียวเท่านั้น
ทุก ๆ วัน. แม้เมื่ออยู่แยกกัน พึงนับหมู่ภิกษุแล้วถือเอาไม้ชำระฟันตามที่ถึง
แก่ตน. เมื่ออาคันตุกภิกษุทั้งหลายมาในระหว่าง หรือเมื่อเธอหลีกไปสู่ทิศ
พึงนำไม้ชำระฟันมาตั้งไว้ในที่อันถือเอาได้นั่นแหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกคำชมเชย เพื่อต้องการให้เขารักใคร่
เพราะตั้งตนไว้ต่ำเหมือนทาสบ้าง การดำรงไว้ด้วยดีซึ่งคำอันผิดพลาดพลั้งของ
คนอื่นบ้าง ว่าเป็นคำพูดปรารถนาเพื่อต้องการให้เขารัก ในบทว่า ปาฏุกมฺย-
ตาย
เป็นต้น.
คำว่า มุคฺคสูปยตา นี้ เป็นชื่อของผู้เลี้ยงชีพด้วยการพูดทีจริงทีเล่น
เสมอด้วยแกงถั่วเขียว. เปรียบเสมือนแกงถั่วเขียวกำลังเดือด ถั่วเขียวจำนวน
มากย่อมสุก จำนวนน้อยไม่สุก ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้เลี้ยงชีพ
ด้วยการพูดทีจริงทีเล่น ย่อมพูดเท็จมาก พูดจริงน้อย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ที่เป็นที่ไม่ซึมเข้าไปแห่งน้ำแกงถั่วเขียว ย่อม
ไม่มี ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า วาจา อันไม่เข้าไปของบุคคลผู้พูดทีจริง
ทีเล่น ย่อมไม่มี. วาจานั้น ย่อมผูกพันเพื่อความทรงอยู่อันตนปรารถนาแล้ว
และปรารถนาแล้วดุจตะขอเหล็กเกาะอยู่. ด้วยเหตุนั้น วาจาอันมีปกติกล่าว
มุสาของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า วาจาเสมอด้วยแกง
ถั่วเขียว ดังนี้.
ความเป็นแห่งการงานอันบุคคลเลี้ยงดูแล้ว ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา
แปลว่า ความเป็นผู้เลี้ยงดูแล้ว. จริงอยู่ การงานของเด็ก อันเขาเลี้ยงดูแล้ว
ชื่อว่า การเลี้ยงดูเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา.
คำว่า ปาริภฏฺยตา นั้น เป็นชื่อของบุคคลผู้ยังเด็กให้เล่น ด้วยการทำซึ่ง
เครื่องประดับเป็นต้น.
คำว่า ชํฆเปสนิกํ ได้แก่ การนำข่าวสารไปและกลับของคฤหัสถ์
เหล่านั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีระหว่างบ้าน และระหว่างประเทศเป็นต้น. จริงอยู่
คำนี้ ชื่อว่า การเดินส่งข่าว ก็มารดาบิดา บำรุงซึ่งภิกษุนั้นอยู่ ภิกษุถือเอา
ข่าวสารของมารดาบิดาเหล่านั้นไป ด้วยสามารถแห่งการไปในที่ไหน ๆ ย่อม
ควร. การนำข่าวสาร แม้ของนายช่างผู้ทำการงานของเจดีย์ หรือของสงฆ์
หรือของตน ก็สมควร.
อนึ่ง พวกมนุษย์ เรียกว่า พวกกระผมจักถวายทาน จักกระทำบูชา
จักบอกแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมถวายบิณฑบาต หรือเภสัช
หรือจีวรด้วยการกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลาย จงถวายแก่พระเถระ ชื่อโน้นก็ดี
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมมอบวัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่อง
ลูบไล้เป็นต้น หรือธงชัยและธงแผ่นผ้า โดยการเรียนว่า ท่านทั้งหลาย จง

ทำการบูชาในวิหาร ดังนี้ก็ดี การนำข่าวสารทั้งหมดของชนเหล่านั้นไป
สมควร. ชื่อว่า การเดินส่งข่าว ย่อมไม่มี. ภิกษุถือเอาข่าวสารของชนทั้ง
หลายที่เหลือนอกนั้นไป โทษย่อมมีทุกย่างก้าว.
คำว่า อญฺญตรญฺญตเรน ได้แก่ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งภิกษุทั้งหลาย มีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น เหล่านั้น คือว่า ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งการงานทั้งหลายสำหรับเลี้ยงชีพเห็นปานนี้ คือ เวชกรรม ภัณฑคาริก-
กรรม (ดูแลร้านค้า) การแลกก้อนข้าวด้วยก้อนข้าว การบำรุงสงฆ์และเจดีย์
อันผิดปรกติ หรือด้วยมิจฉาอาชีวะ.
คำว่า พุทฺธปฏิกุฏฺเฐน ได้แก่ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงติเตียน
แล้ว รังเกียจแล้ว.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ชื่อว่า อนาจารแม้ทั้งปวงนี้ พระพุทธเจ้า
ย่อมตรัสไว้.
อาจารนิทเทส บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ.
แม้ในโคจรนิทเทส บัณฑิตก็พึงทราบการกระทำ ในเพราะถ้อยคำ
แห่งอโคจร โดยในที่กล่าวแล้วในหนหลังก่อนนั่นแหละ.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า โคจโร ได้แก่ ที่อันควรเข้าไปเพื่อต้องการ
บิณฑบาตเป็นต้น ชื่อว่า โคจร. ที่อันไม่สมควรเพื่ออันเข้าไป ชื่อว่า อโคจร.
โคจรแห่งหญิงแพศยา มีอยู่แก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มี
โคจรแห่งหญิงแพศยา. อธิบายว่า ที่เป็นที่โคจรอันบุคคลพึงเข้าไปด้วยสามารถ
แห่งความชมเชยอย่างมิตร. หญิงทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยรูป ชื่อว่า หญิงแพศยา
ในอธิการนี้ ภิกษุเข้าไปอยู่สามารถเป็นผู้ประพฤติผิดได้ง่าย หรือด้วยความ

สนิทสิเนหาดังมิตร ชื่อว่า มีโคจรแห่งหญิงแพศยา. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
เข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมไม่ควร.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะเป็นความวิบัติในการรักษา.
จริงอยู่ สมณธรรม แม้อันเธอคุ้มครองรักษาแล้วสิ้นกาลนานของ
ภิกษุผู้เข้าไปอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมถึงความพินาศไป ด้วยเหตุอันเล็กน้อย
นั่นแหละ. แม้ถ้าว่าสมณธรรมของเธอย่อมไม่พินาศไป ก็จะได้รับความติเตียน.
อนึ่ง ภิกษุเมื่อเข้าไปด้วย สามารถแห่งการรับทักษิณา (รับของทำบุญ) พึง
ตั้งสติแล้วเข้าไป. หญิงสามีตาย หรือว่าหญิงอันสามีหย่าร้างแล้ว ท่านเรียกว่า
หญิงหม้าย. หญิงแก่ที่ไม่ได้แต่งงาน ชื่อว่า สาวเทื้อ.
คำว่า ปณฺฑกา ได้แก่ บัณเฑาะก์ผู้มีถ้อยคำ อาศัยโลกามิส มีกิเลส
หนามีความเร่าร้อน ไม่สงบ. โทษในเพราะการเข้าไปของภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้ในภิกษุณีทั้งหลาย ก็นัยนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาภิกษุต้องประพฤติพรหมจรรย์ให้มาก. ภิกษุณี
ทั้งหลายก็เหมือนกัน. ภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมยังสมณธรรมอันภิกษุรักษาคุ้มครอง
แล้วให้พินาศไป ด้วยสามารถแห่งความสนิทสนมซึ่งกันและกันอันเป็นเหตุเล็ก
น้อยนั่นแหละ. แต่การที่ภิกษุไปด้วยสามารถแห่งการถามความเป็นไข้ ย่อม
ควร. ภิกษุให้ดอกไม้ทั้งหลายไปเพื่อต้องการบูชาบ้าง เพื่อต้องการให้โอวาท
บ้าง ย่อมควรทีเดียว.
โรงสุราชื่อว่า ปานาคาร. โรงสุรานั้น ย่อมไม่สงัดจากนักเลงสุรา
ซึ่งจะกระทำอันตรายพรหมจรรย์. ในโรงสุรานั้น ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรเข้า

ไปกับด้วยนักเลงสุราเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการคบนักเลง เพราะอันตราย
ของพรหมจรรย์มีอยู่.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สํสฏฺโฐ วิหรติ ราชูหิ เป็นต้น พระราชา
เหล่าใด อภิเษกแล้วก็ตาม จงยกไว้ ชนเหล่าใด ย่อมศึกษาในความเป็น
พระราชา ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า ราชา.
คำว่า ราชมหามตฺตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ เช่น
กับความเป็นใหญ่ของพระราชา.
คำว่า ติตฺถิยา ได้แก่ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเห็น
ผิด. คือว่าเป็นผู้คลุกคลีกับชนเหล่านั้น.
คำว่า อนนุโลมิเกน คิหิสํสคฺเคน บุคคลใดเกี่ยวข้องกับฝ่ายตรง
กันข้าม อันไม่คล้อยตามสิกขา 3 ย่อมถึงความก้าวล่วงบัญญัติ เป็นอันตราย
ต่อพรหมจรรย์ ย่อมถึงซึ่งความเสื่อมรอบจากการขัดเกลา โดยสภาวะใด
สภาวะนั้น ชื่อว่า การคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร. คืออย่างไร คือว่า
เป็นผู้มีความโศก มีความสนุกสนาน มีสุขทุกข์ร่วมกับพระราชาและมหา-
อำมาตย์ของพระราชา หรือ ในเมื่อมีกรณียกิจเกิดขึ้นเป็นผู้ช่วยเหลือด้วยตน
แล และความเป็นผู้มีสมาจารเป็นเอกฉันท์ กับด้วยเดียรถีย์และสาวกของ
เดียรถีย์ทั้งหลาย หรือการนำมาซึ่งภาวะแห่งสมาจารอันชอบใจเป็นเอกฉันท์
หรือความสนิทสนม มีใจมากด้วยความสิเนหา. ในอธิการนี้ การคลุกคลีกับ
พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ย่อมกระทำอันตรายต่อพรหมจรรย์
การคลุกคลีกับเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมทำอันตราย คือการ
ถือเอาลัทธิของชนเหล่านั้น. แต่ว่า ภิกษุที่สามารถเข้าไปเพื่อทำลายวาทะ(ลัทธิ)
ของเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์แล้วให้ถือเอาลัทธิของตน ย่อมควร.

บัดนี้ เพื่อแสดงอโคจร โดยปริยายแม้อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงเริ่มคำว่า ยานิ วา ปน ตานิ กุลานิ เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อสทฺธานิ ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศรัทธาใน
พระพุทธเจ้าเป็นต้น คือ ไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู พระธรรม
เป็นนิยยานิกะ (เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ) พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ดังนี้.
คำว่า อปฺปสนฺนานิ ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อทำจิตให้ผ่องใส ไม่
ขุ่นมัว.
คำว่า อกฺโกสกปริภาสกานิ ได้แก่ การด่า และการบรภาษ คือ
ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ด้วยอักโกสวัตถุ 10 ว่า ท่านเป็นโจร เป็นคนพาล
เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นผู้เกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของท่านไม่มี มีแต่ทุคติเท่านั้นหวังไว้ ดังนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่าการด่าและการบริภาษนั้น จงยกไว้ ชื่อว่า ย่อมบริภาษ เพราะชี้
ให้เห็นภัยอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักประหารท่าน จักมัดท่าน จักฆ่าท่าน ดังนี้.
บทว่า อนตฺถกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาประโยชน์ คือ
ย่อมปรารถนาความฉิบหายนั่นแหละ.
บทว่า อหิตกามานิ ได้แก่ ย่อมปรารถนาเกื้อกูลหามิได้ คือไม่
ต้องการประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อผาสุกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาแดนเกษมจากโยคะ
4 อันไม่มีภัย คือ ย่อมปรารถนาแดนอันเป็นไปกับภัยนั่นแหละ. แม้สามเณร
ทั้งหลาย ก็ย่อมถึงความสงเคราะห์ลงในคำว่า ภิกฺขู ดังนี้. แม้สิกขมานา และ

สามเณรทั้งหลาย ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในข้อว่า ภิกฺขุนี นี้. จริงอยู่ ตระกูล
เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่แต่ความพินาศแก่บริษัทแม้ทั้ง 4 คือแก่ชนทั้งหลาย
ผู้บวชอุทิศต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและผู้ถึงสรณคมน์นั่นแหละ.
คำว่า ตถารูปานิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลาย มีตระกูลแห่งกษัตริย์
เป็นต้นเห็นปานนี้.
คำว่า เสวติ ได้แก่ อาศัยเลี้ยงชีพ.
คำว่า ภชติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปหา.
คำว่า ปยิรุปาสติ ได้แก่ เข้าไปหาบ่อย ๆ.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ โคจรอันไม่สมควร แม้มีประการทั้ง 3 นี้
คือโคจรในสำนักของหญิงแพศยา โคจรในสำนักแห่งพระราชาเป็นต้น โดย
การคลุกคลีกับพระราชาเป็นต้น โคจรในตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธาเหล่านี้
บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอโคจร. ความเป็นแห่งอโคจรแห่งภิกษุนั้น พึงทราบ
โดยปริยายนี้. สำนักแห่งหญิงแพศยา พึงทราบว่าเป็น อโคจร เพราะเป็น
โคจรอาศัยเบญจกามคุณก่อน. เหมือนคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อโคจรของภิกษุเป็นวิสัยของผู้อื่นเป็นไฉน. อโคจร
เป็นวิสัยของผู้อื่นใด คือ เบญจกามคุณ ดังนี้. สำนักแห่งพระราชานั้น เป็น
อโคจร เพราะไม่เป็นอุปนิสัยแห่งความประกอบความเพียรเนือง ๆ ในฌาน
และเพราะความสั่งสมลาภสักการะอันเป็นเครื่องทำลาย และเพราะความพิบัติ
แห่งทิฏฐิเป็นเหตุ. สำนักแห่งตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า เป็นอโคจร
เพราะเป็นการทำลายศรัทธา คือนำจิตที่ยินดีออกไป.

ในโคจรนิทเทส คำว่า น เวสิยโคจโร เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
ด้วยสามารถแห่งคำเป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้ว.
ก็ในคำทั้งหลาย มีคำว่า โอปานภูตานิ เป็นต้น คำว่า โอปานภูตานิ
ได้แก่ เป็นดังบ่อน้ำ ดุจสระโบกขรณี อันเขาขุดแล้วในทางใหญ่ทั้ง 4 แห่ง
เพื่อภิกษุสงฆ์ และเช่นกับบ้านของจิตตมหาอำมาตย์ ที่เขาขุดเพื่ออาบน้ำตาม
ความสบาย. ได้ยินว่า บ้านของมหาอำมาตย์นั้น เขาประกอบเสาเวลา (นาฬิกา)
ไว้ในบ้านนั่นแหละ. ชื่อว่า ความบกพร่อง ด้วยปัจจัยของภิกษุผู้มาถึงประตู
บ้านของมหาอำมาตย์นั้น มิได้มี. ในวันหนึ่งๆเขาใช้จ่ายเงินถึง 60 กหาปณะ
ออกไปเพื่อความเป็นไปแห่งเภสัชนั่นแหละ.
คำว่า กาสาวปฺปชฺโชตานิ ได้เเก่ โอภาสอันหนึ่ง แห่งรัศมีของผ้า
กาสาวะทั้งหลาย อันภิกษุและภิกษุณี ผู้นุ่งห่มแล้วนั่นแหละ เช่นกับตระกูล
เศรษฐี ชื่อว่า ภูตปาละ.
คำว่า อิสิวาตปฏิวาตานิ ได้แก่ เป็นของรุ่งเรืองฟุ้งไปทวนลม
ด้วยลมแห่งจีวรของพระฤาษีทั้งหลาย กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เข้า
บ้าน และออกจากบ้าน และด้วยลมแห่งสรีระอันเคลื่อนไหวไปด้วยการเหยียด
ออกและการคู้เข้ามาเป็นต้น หรือว่าเป็นผู้มีอกุศลทั้งหลาย อันขจัดได้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัย ในความที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย
มีประมาณน้อย. คำว่า วชฺชา ได้แก่ โทษทั้งหลาย. คำว่า ยานิ ตานิ วชฺชานิ
ได้แก่ ชื่อว่า โทษทั้งหลายนั้นใด เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงติเตียน.
คำว่า อปฺปมตฺตกานิ ได้แก่ ชื่อว่า มีประมาณเล็กน้อย เพราะมีประมาณ
ต่ำสุดกว่าจำนวนน้อย. คำว่า ลหุสานิ ได้แก่ เป็นของเบา. คำว่า ลหุ ใน
คำว่า ลหุสมฺมตานิ ได้แก่ เป็นของสมมุติ. คำว่า สญฺญมกรณียานิ

ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุพึงกระทำด้วยความสำรวม. คำว่า สํวรกรณียานิ
ได้แก่ พึงกระทำด้วยความสังวร คือ กระทำคืน อันภิกษุนั้นพึงทำด้วยความ
ระวัง. คำว่า จิตฺตุปฺปาทกรณียานิ ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุนั้น พึง
ทำด้วยสักว่าจิตตุปปาท. คำว่า มนสิการปฏิพทฺธานิ ได้แก่ การทำคืน
อันภิกษุพึงทำด้วยใจสักว่าการรำพึงแล้วนั้นแหละ.
ก็การทำคืนเหล่านั้น เป็นไฉน ?
พึงทราบว่า พระสุมเถระผู้มีปกติอยู่ในทิวาวิหาร ท่านกล่าวไว้ก่อน
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยใจ คือ สักว่าการนึกแล้วนั่นแหละว่า
เราจักทำซึ่งอาบัติเหล่านั้น สักว่าจิตตุปบาท ให้ถึงซึ่งอนาปัตติ ให้มีอย่างนี้
เป็นรูปอีก ชื่อว่า การทำความเปิดเผย ด้วยการอธิษฐานนี้ เป็นอันข้าพเจ้า
กล่าวแล้ว.
ก็พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่านนั้น
กล่าวว่า ก็บทนี้เป็นบทภาชนียปาฏิโมกข์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า โทษในที่นี้คือ อาบัติทุกกฏ และทุพภาสิต เบากว่าโทษทั้งปวง
ชื่อว่า การเปิดเผย คือ การออกจากโทษนั้น เป็นไปตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.
คำว่า อิติ อิเมสุ ได้แก่ เหล่านี้ มีประการอย่างนี้.
คำว่า วชฺชทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ.
คำว่า ภยทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นภัย โดยความเป็นไปแห่ง
ภัย 4 อย่าง.
ในคำว่า อาทีนวทสฺสาวี นี้ ได้แก่ มีปกติเห็นโทษ มีประการ
ต่าง ๆ คือ โดยการนำมาซึ่งความนินทา โดยมีทุกข์เป็นผลข้างหน้า โดยกระ-
ทำอันตรายต่อคุณในเบื้องบน และเพราะให้เกิดความเดือดร้อน.

คำว่า นิสฺสรณทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโทษของภิกษุผู้รื้อถอน
ออกจากโทษภัยนั้น.
ก็ในอธิการนี้ การรื้อถอนออกจากโทษภัยนั้น เป็นไฉน ?
ในอาจริยเถรวาทกล่าวไว้ก่อนว่า การเปิดเผยด้วยการอธิษฐานด้วยสติ
ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ถึงอนาบัติ (การไม่มีอาบัติ เรียก
ว่า อนาปัตติ).
ในเถรวาทแห่งอันเตวาสิกของท่าน กล่าวว่า การเปิดเผยโดยการ
ออกด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ. สำหรับใน
ที่นี้ ภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความ
เป็นโทษ โดยความเป็นภัย. เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย โดยความเป็น
โทษ โดยความเป็นภัยนั้น ท่านกล่าวมาตรา (ประมาณ) ดังนี้.
1. ชื่อว่า ปรมาณู 2. ชื่อว่า อณู
3. ชื่อว่า ตัชชารี 4. ชื่อว่า รถเรณู
5. ชื่อว่า ลิกขา 6. ชื่อว่า โอกา (อูกา)
7. ชื่อว่า ธัญญมาส 8. ชื่อว่า อังคุละ
9. ชื่อว่า วิทัตถิ 10. ชื่อว่า รตนะ
11. ชื่อว่า ยัฏฐิ 12. ชื่อว่า อุสภะ
13. ชื่อว่า คาวุต 14. ชื่อว่า โยชน์
แปลว่า บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ
(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลอง
แห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่ง

พระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ
หมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทาง
มนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละออง
รถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้น
ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้
36 ปรมาณู ประมาณ 1 อณู
36 อณู " 1 ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)
36 ตัชชารี " 1 รถเรณู (ละอองรถ)
36 รถเรณู " 1 ลิกขา (ไข่เหา)
7 ลิกขา " 1 โอกา (ตัวเหา)
7 โอกา " 1 ธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก)
7 ธัญญมาส " 1 อังคุละ (นิ้ว)
12 อังคุละ " 1 วิทัตถิ (คืบ)
12 วิทัตถิ " 1 รัตนะ (ศอก)
7 รตนะ " 1 ยัฏฐิ (หลักเสา)
20 ยัฏฐิ " 1 อุสภะ (ชื่อโคจ่าฝูง)
80 อุสภะ " 1 คาวุต
4 คาวุต " 1 โยชน์
10,068 โยชน์ (ส่วนสูง)" 1 ภูเขาสิเนรุราช.

ภิกษุกระทำซึ่งโทษมีประมาณน้อย ให้เช่นกับภูเขาสิเนรุราช อันสูง
ประมาณ 10,068 โยชน์ ย่อมอาจเพื่อจะเห็น (คือเมื่อเห็นว่าเป็นโทษใหญ่
ก็จะปลงอาบัติ) ได้. ภิกษุใด ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
โดยความเป็นภัย ภิกษุใดแม้กระทำซึ่งสักว่าโทษ คืออาบัติทุกกฎ ทุพภาสิต
อันเบากว่าโทษทั้งปวง ให้เช่นกับอาบัติปฐมปาราชิก ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบ
ว่า ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความเป็นโทษ โดยความ
เป็นภัย ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งข้อว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ
ดังนี้
คำว่า ภิกฺขุสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันภิกษุทั้งหลายพึงศึกษา. ภิกษุ
สิกขานั้นทั่วไปกับนางภิกษุณีบ้าง ไม่ทั่วไปบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ชื่อว่า ภิกษุสิกขา
นั่นแหละ. คำว่า ภิกฺขุนีสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันภิกษุณีทั้งหลาย พึงศึกษา
ภิกขุนีสิกขาแม้นั้น ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งหลายก็ดี ไม่ทั่วไปก็ดี ชื่อว่า ภิกขุนี
สิกขา เหมือนกัน. แม้สิกขาของสามเณร สิกขมานา สามเณรทั้งหลายก็รวม
อยู่ในที่นี้แหละ.
คำว่า อุปาสกสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันอุบาสกทั้งหลาย พึงศึกษา.
สิกขาของอุบาสกนั้น ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล 5 ศีล 10. คำว่า
อุปาสิกาสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันอุบาสิกาทั้งหลาย พึงศึกษา สิกขาแม้นั้น
ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล 5 ศีล 10.
บรรดาสิกขาเหล่านั้น สิกขาของภิกษุ และภิกษุณี ย่อมเป็นไปถึง
อรหัตตมรรค. สิกขาของอุบาสก และอุบาสิกา ย่อมเป็นไปถึงอนาคามิมรรค.

ในที่นี้ ภิกษุนี้ ย่อมศึกษาในสิกขาบทอันตนพึงรักษาเทียว. ส่วนสิกขาที่เหลือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอรรถของสิกขาบท ด้วยสามารถแห่งการ
ยกขึ้นซึ่งประโยชน์.
คำว่า อิติ อิมาสุ สิกฺขาสุ ได้แก่ ในสิกขาทั้งหลายเหล่านี้ มี
ประการอย่างนี้.
คำว่า สพฺเพน สพฺพํ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยการสมาทานสิกขา
ทั้งปวง.
คำว่า สพฺพถา สพฺพํ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยมีประการอัน
บุคคลทั้งปวงพึงศึกษา.
คำว่า อเสสํ นิสฺเสสํ ได้แก่ ชื่อว่า อเสสํ (มิให้เหลือ) เพราะ
ไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า นิสฺเสสํ เพราะทำสิกขาบทแม้แตกแล้วด้วยความหลง
ลืม ให้เป็นปกติอีก.
คำว่า สมาทาย วตฺตติ ได้แก่ สมาทานแล้ว ถือเอาแล้ว จึง
ประพฤติ.
คำว่า เตน วุจฺจติ ได้แก่ สมาทานสิกขาทั้งปวงนี้แล้ว ย่อมศึกษา
ย่อมให้เต็มโกยอาการอันบุคคลทั้งปวง พึงศึกษา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ แปลว่า สมาทานแล้ว
ประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายดังนี้.
ในนิทเทสหมวดสองแห่งบทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โภชเน
มตฺตญฺญู
พึงทราบการประกอบถ้อยคำแรกแห่งภิกษุผู้ฝักใฝ่ในธรรมอันดำ
โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอาจารนิทเทส นั่นแหละ. ก็คำว่า ตตฺถ กตมา

อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา เป็นต้น คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิกเขปกัณฑ์วรรณนานั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชาคริยานุโยค ต่อไป. เบื้องต้นแห่ง
ราตรี กล่าวคือ เที่ยงคืน ชื่อว่า ปุพพรัตตะ ในคำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ
นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมถือเอาซึ่งปฐมยาม และปัจฉาภัต ด้วยศัพท์ว่า
ปุพพรัตตะนี้. ภายหลังแห่งราตรีชื่อว่า อปรรัตตะ. ย่อมถือเอาปัจฉิมยาม
และปุเรภัต ด้วยศัพท์ว่า อปรรัตตะนี้. ส่วนมัชฌิมยาม ท่านไม่ถือเอา เพราะ
เป็นโอกาสแห่งการหลับนอน และการบรรเทาความเมื่อยของภิกษุ.
คำว่า ชาคริยานุโยคํ ได้แก่ การประกอบเนืองๆ ของผู้ตื่นที่ชื่อว่า
ชาคริยะ.
คำว่า อนุยุตฺโต โหติ ได้แก่ การประกอบเนือง ๆ การขวนขวาย
ซึ่งการเสพการเจริญ กล่าวคืออนุโยคนั้น. ก็ในนิทเทสแห่งคำนี้ ในข้อว่า
ภิกฺขุ ทิวสํ ได้แก่ท่านถือเอาวันหนึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เวลาเช้า เวลา
กลางวัน และเวลาเย็น.
คำว่า จงฺกเมน นิสชฺชาย ได้แก่ ภิกษุ เมื่ออยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง
สองแม้นี้ย่อมชำระจิตจากอาวรณจิต (อุปสรรคของจิต) หรือจากธรรมอันเป็น
เครื่องกั้น หรือจากนิวรณ์ทั้ง 5 หรืออกุศลธรรมทั้งหมด คือว่า ย่อมชำระจิต
ย่อมเปลื้องจิตจากอกุศลธรรมเหล่านั้น. อนึ่งการยืน ในอธิการนี้ท่านไม่ถือ
เอาก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงถือเอาการยืนนั่นแหละด้วย เพราะอาศัยเอาระหว่าง
การเดินกับการนั่ง. คำว่า ปฐมยามํ ได้แก่ ในปฐมยามแม้ทั้งสิ้น. คำว่า
มชฺฌิมยามํ ได้แก่ ในมัชฌิมยาม กล่าวคือ ส่วนทั้ง 6 ของกลางคืนและ
กลางวัน.

ในข้อว่า สีหเสยฺยํ นี้ ได้แก่ เสยยา (การนอน) 4 อย่าง คือ
กามโภคี เสยยา (นอนอย่างผู้บริโภคกาม) เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต)
สีหเสยยา (นอนอย่างสีหะ) ตถาคตเสยยา (นอนอย่างพระตถาคต). พึง
ทราบการนอนเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บริโภคกามโดยมาก
ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้นผู้นี้จึงชื่อว่า กามโภคีเสยยา. จริงอยู่
บรรดาผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมาก ชื่อว่า ย่อมไม่นอนตะแคงข้างขวา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากบุคคลใด ย่อมนอนหงาย เพราะฉะนั้น บุคคล
นั้น จึงชื่อว่า เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต หรือ คนที่ตายไปแล้ว ). จริงอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อนอนตะแคงข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือด
น้อย และเพราะกระดูกตรงที่ต่อกันไม่เป็นปกติ จึงได้แต่นอนหงายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย สีหะผู้มิคราช เป็นผู้มีใจเป็นของตน ย่อมสำเร็จการนอนโดย
ข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อว่า สีหเสยยา. จริงอยู่ สีหะผู้
มิคราช วางเท้าหน้าทั้งสองไว้ที่หนึ่ง วางเท้าหลังสองเท้าไว้ที่หนึ่ง และเอา
หางใส่ไว้ระหว่างขาอ่อน แล้วกำหนดโอกาส (คือ การปรากฏ) ทั้งเท้าหน้า
เท้าหลังและหาง อันตนวางไว้ แล้วจึงนอนวางศีรษะบนสองเท้าหน้า เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้มีอำนาจมาก แม้นอนตลอดวันตื่นขึ้นมาก็ไม่สะดุ้งตื่น (ตกใจ
ตื่น) เมื่อจะลุกขึ้นก็ยกศีรษะขึ้นกำหนดดูการปรากฏของเท้าหน้าเป็นต้นตามที่
ตนวางไว้ ถ้าว่าการปรากฏของเท้าเป็นต้น เคลื่อนไปสู่ที่ไร ๆ จากที่วางไว้
แต่เดิม ย่อมจะไม่เป็นผู้มีใจเป็นของ ๆ ตน ด้วยคิดว่า ลักษณะนี้ไม่ควรแก่
ความเป็นผู้กล้าหาญโดยชาติของตน แล้วก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ. ไม่ออก
ไปหาอาหาร ก็ถ้าว่า เท้าหน้าเป็นต้น ที่ตนตั้งไว้แล้ว ไม่เคลื่อนผิดปกติไป

ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีร่าเริง และคิดว่า อาการนี้สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ
ของตนโดยชาติ แล้วจะลุกขึ้น แสดงท่าหาวของสีหะ สะบัดสร้อยคอ และบันลือ
สีหนาทสิ้นสามครั้ง แล้วจึงออกไปแสวงหาอาหาร.
อนึ่ง การนอนประกอบด้วยญาณที่ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ว่า ตถาคตเสยยา. ในบรรดาการนอนเหล่านั้น สีหเสยยา มาในที่นี้ จริง
อยู่ ชื่อว่า สีหเสยยา เพราะความเป็นอิริยาบถ อันอุดมด้วยเดช.
คำว่า ปาเท ปาทํ ได้แก่ วางเท้าซ้ายเหลื่อมไปบนเท้าที่รองรับ
หน่อยหนึ่ง. เพราะว่า เมื่อข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า หรือเข่ากระทบกับเข่า
เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนือง ๆ จิตก็ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ไม่ผาสุก.
ก็การนอนนั้น เข่าและข้อเท้า ย่อมไม่เสียดสีกันโดยอาการใด เมื่อวางเท้า
เหลื่อมกันไป โดยอาการนั้นแล้ว ทุกขเวทนานั้นย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อม
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ผาสุก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า วางเท้าซ้อนเท้า (เหลื่อมเท้า) ดังนี้.
คำว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ และปัญญา
เป็นเครื่องรู้พร้อม. ก็สติสัมปชัญญะ อันภิกษุกำหนดถือเอาดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้.
คำว่า อุฏฺฐานสญฺญํ มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งสัญญาในอันที่จะ
ลุกขึ้นไว้ในจิต กำหนดเวลาที่จะลุกขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักลุกขึ้น ในเวลาชื่อ
โน้น
ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนี้แล้วนอน ก็ควรเพื่อจะลุกขึ้นในเวลาตาม
ที่เธอกำหนดไว้.
คำว่า สาตจฺจํ เนปกฺกํ อธิบายว่า ภิกษุประกอบแล้ว ประกอบ
เนือง ๆ แล้วยังวิริยะ กล่าวคือ ความเพียร (อันเป็นไปติดต่อกัน) ชื่อว่า

สาตัจจะ เพราะยังความเพียรนั้นให้เป็นไปทั่ว และยังปัญญากล่าวคือ เนปักกะ
(ปัญญาเป็นเครื่องรักษา) อันถึงความแก่รอบ ให้เป็นไปอยู่นั้นแหละ จึง
ชื่อว่า ประกอบเนือง ๆ ในชาคริยานุโยค อยู่. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสความเพียรเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. แม้ปัญญา ก็มีคติเช่นวิริยะนั่น-
แหละ. คือ เมื่อตรัสเรื่องวิริยะในโลกิยะ วิริยะนั้นก็เป็นโลกิยะ ตรัสวิริยะ
ในโลกุตตระ ก็เป็นโลกุตตระ.
คำว่า โพธิปกฺขิยานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย อันเป็นไป
ในฝ่ายแห่งมรรคญาณ กล่าวคือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจจะทั้ง 4. อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดไว้มีประมาณ 37 เมื่อ
จะทรงแสดงองค์เเห่งการตรัสรู้นั่นแหละ อันสามารถเป็นไปโดยความเป็นอัน
เดียวกันในอารมณ์หนึ่งแห่งภาวนาแม้เป็นโลกีย์ จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา
เป็นอาทิ. โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเหมือนที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง แล.

อธิบายอิริยาบถ


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคำว่า อภิกฺกนฺเต เป็นต้น การก้าว
ไปข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ ก่อน ในคำว่า
อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้. การถอยกลับมาข้างหลัง เรียกว่า ปฏิกกันตะ.
อภิกกันตะ แสะปฏิกกันตะ แม้ทั้งสองนี้ ย่อมได้ในอิริยาบถทั้ง 4 คือ
ในอิริยาบถเดินก่อน เมื่อน้อมกายเดินไปข้างหน้า ชื่อว่า อภิกกันตะ.
เมื่อถอยกลับมา ชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถยืน ยังยืนอยู่นั่นแหละ