เมนู

ภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่ด้วยอิริยาบถของภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์สังวรศีล
ด้วยบทแม้ทั้ง 71 มีคำว่า อิริยติ เป็นต้น

อนาจารนิทเทส

2

ในนิทเทสแห่งอาจาระและโคจระ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านประสงค์จะกล่าวอาจาระของสมณะ โคจระของสมณะแม้โดยแท้ จึงทรงยก
ซึ่งบทว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระมีอยู่ด้วยบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวว่า
ท่านจงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา ย่อมบอกทางอันมีภัย ทางอันผิด อัน
บุคคลพึงปล่อยวางก่อน ภายหลังจึงบอกทางอันเกษม ทางอันตรงอันบุคคล
พึงถือเอา ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พระธรรมราชา เช่นกับบุรุษผู้
ฉลาดในทาง ทรงบอกอนาจาระ อันพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว อันบุคคล
พึงละก่อน เมื่อจะทรงบอกอาจาระในภายหลังจึงตรัสว่า ตตฺถ กตโม อนา-
จาโร
เป็นอาทิ. จริงอยู่ หนทาง ที่บุคคลบอกแล้วพึงไปถึงหรือไม่
ถึงก็ได้ ส่วนทางที่พระตถาคตบอกแล้ว
เป็นทางชอบธรรม ไม่ผิดหวัง
ย่อมให้บรรลุถึงพระนคร คือ พระนิพพาน ดุจวชิราวุธ อันพระอินทร์ทรง
ปล่อยไปแล้ว ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง
ดังนี้ คำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนี้ เป็นชื่อของพระตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบความเพียรในกัลยาณธรรม ย่อม
เป็นธรรมอันสมบูรณ์แก่บุคคลผู้มีบาปธรรมอันละแล้ว เปรียบเหมือนการทัด
ทรงด้วยเครื่องประดับ มีระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น

1. ทั้ง 7 บท คือ ผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วย
ดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี และประกอบแล้ว
2. อนาจาระ หมายถึงความประพฤติไม่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ อาจาระ