เมนู

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


อธิบายมาติกาปทนิทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะแสดงจำแนกมาติกาตามที่ทรง
ตั้งไว้ จึงเริ่มคำว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นอาทิ (แปลว่า บทว่า อิธ
มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น).
ในมาติกาปทนิทเทสเหล่านั้น คำสั่งสอนของพระสัพพัญญพุทธะ
กล่าวคือ ไตรสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้1 10 บท มีคำว่า อิมิสฺสา
ทิฏฺฐิยา
เป็นต้น.
จริงอยู่ ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทิฏฐิ เพราะ
ความที่ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว (จึงตรัสเรียก
ชื่อว่า ทิฏฐิ) ตรัสเรียกชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งความอดทนของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นแหละ, ตรัสเรียกชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, ตรัส
เรียกชื่อว่า ลัทธิ (อาทาย) ด้วยสามารถแห่งการถือเอา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรม
เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, ตรัสเรียกชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ควรแก่การ
ศึกษา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น, อรรถทั้งสอง
นั้นตรัสเรียกชื่อว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถแห่งคำอันพระองค์ตรัสแล้ว, ตรัส
เรียกชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่า การประพฤติธรรมอันประเสริฐสุด,
ตรัสเรียกชื่อว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถแห่งการให้ความพร่ำสอน. เพราะฉะนั้น
ในคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้น จึงได้แก่ ในทิฏฐิของพระพุทธเจ้านี้ ใน

1. 10 บท คือทิฏฐิ ขันติ รุจิ ลัทธิ ธรรม วินัย ธรรมวินัย ปาพจน์ พรหมจรรย์ สัตถุศาสน์.

ขันติของพระพุทธเจ้านี้ ในรุจิของพระพุทธเจ้านี้ ในลัทธิของพระพุทธเจ้านี้
ในธรรมของพระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้.
ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่าง
นี้ว่า
ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านั้น เป็นไปเพื่อ
ความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่
เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบ เป็นไปเพื่อความก่อ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่
ก่อ เป็นไปเพื่อความยึดถือ ไม่เป็นไปเพื่อความสละ เป็นไปเพื่อความอยาก
ใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อ
ความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อการปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก
ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ดังนี้.
ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ โดยส่วนเดียว ว่านั่นไม่
ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.
ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้นั้น ย่อมเป็น
ไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก.
ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า นั้นเป็นธรรม นั่น
เป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์ ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นไปเช่นนั้น ในธรรมวินัย
ของพระพุทธเจ้า ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้า ในพรหมจรรย์ ในคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้านี้ ก็เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง คำสั่งสอนทั้งสิ้น กล่าวคือ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ
เพราะความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะความเป็นปัจจัย

แก่สัมมาทิฏฐิ และเพราะความเป็นเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิ, ชื่อว่า ขันติ ด้วย
สามารถแห่งการอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่ง
ความพอใจ และชื่อว่า ลัทธิ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา.
สภาวะใด ย่อมทรงไว้ซึ่งการกของต้นไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย
ฉะนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า ธรรม. สภาวะนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า วินัย.
เพราะอรรถว่า ย่อมนำออกซึ่งสภาวะอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส. ธรรมนั้นด้วย
วินัยนั้นด้วย ชื่อว่า ธรรมวินัย.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพกำจัด
อกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ดูก่อนโคตมี เธอพึงทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรม
เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ
ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น
สัตถุศาสน์ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า การฝึกโดยธรรม
มิใช่ฝึกด้วยอาชญา มีท่อนไม้ เป็นต้น. จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ทณฺเฑเนเก ทมยนฺติ องฺกุเสหิ กสาหิ จ
อทณฺเฑน อสตฺเถน นาโค ทนฺโต มเหสินา.

แปลว่า
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ด้วยท่อนไม้
ด้วยขอสับ และด้วยแส้ แต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงฝึกช้าง
ตัวประเสริฐ มิใช่ด้วยท่อนไม้ มิใช่ด้วย
ศาสตรา.

เมื่อสัตว์ทั้งหลายอันพระองค์ทรงแนะนำอยู่โดยธรรม ฉันนั้นแล้ว
ความริษยา จักพึงมีแก่ผู้รู้ทั้งหลายได้อย่างไร.
อีกอย่างหนึ่ง การแนะนำโดยธรรม ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่
การแนะนำ (วินัย) นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อธรรมอันหาโทษมิได้ ทั้งไม่เป็นไป
เพื่อโภคะและอามิสในภพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาอัน
กว้างขวาง จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ (ในธรรมวินัยนี้) ย่อมไม่
ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหลอกลวงชน ดังนี้. แม้พระปุณณเถระ ก็ได้
กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ดับไม่เหลือ) แล.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมนำผู้ประเสริฐไป.
วินัยโดยธรรม ก็ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ ธรรมวินัยนี้ ย่อมให้ออกจาก
สังสารธรรม หรือโสกาทิธรรมแล้วนำไปสู่พระนิพพานอันเลิศ.
อีกอย่างหนึ่ง วินัยของพระพุทธเจ้าผู้มีธรรม หาใช่ของเจ้าลัทธิทั้งหลาย
ไม่ ดังนี้จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรม จึง
ชื่อว่า วินัยของธรรมนั้นนั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั่นแหละ เป็นธรรมพึงรู้ยิ่ง
(อภิญฺเญยยา) เป็นธรรมพึงกำหนดรู้ (ปริญฺเญยฺยา) เป็นธรรมพึงละ (ปหา-
ตพฺพา) เป็นธรรมพึงเจริญ (ภาเวตพฺพา) เป็นธรรมพึงกระทำให้แจ้ง
(สจฺฉิกาตพฺพา) ฉะนั้น วินัยในธรรมทั้งหลายนี้ มิใช่วินัยในสัตว์ทั้งหลาย
มิใช่วินัยในชีวะทั้งหลาย จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. ชื่อว่า ปวจนะ เพราะอรรถว่า
เป็นประธาน (เป็นใหญ่) กว่าถ้อยคำของชนเหล่าอื่น ด้วยถ้อยคำทั้งหลาย
มีคำอันเป็นไปกับด้วยอรรถ และพยัญชนะเป็นต้น. ปวจนะนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาอันเลิศกว่าจริยาทั้ง
หมด. ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า คำสั่งสอน
อันเป็นศาสดา ก็ชื่อว่า สัตถุศาสน์ ได้. จริงอยู่ พระธรรมวินัยนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศาสดาดังพระบาลีว่า โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
เป็นต้น (แปลว่า ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา) พึงทราบเนื้อความทั้งหลายดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เพราะความ
ที่ภิกษุผู้ยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้น ปรากฏในศาสนานี้ มิได้ปรากฏใน
ศาสนาอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำคำนิยามในบทนั้นไว้ ด้วย
บทว่า อิมิสฺสา บ้าง อิมสฺมึ บ้าง (แปลว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น)
ข้อนี้ เป็นคำอธิบายมาติกาปทนิทเทส ในคำว่า อิธ.

ภิกขุนิทเทส


ในภิกขุนิทเทส บทว่า สมญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยบัญญัติ
คือโดยโวหาร. จริงอยู่ บางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุด้วยสมัญญานั่นแหละ.
จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุทั้งหลาย ในคราวนิมนต์ เป็นต้น
ย่อมรวมแม้สามเณรด้วย แล้วกล่าวว่า มีภิกษุหนึ่งร้อย หนึ่งพัน ดังนี้.
บทว่า ปฏิญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยปฏิญญาของตน. จริงอยู่
บางคนย่อมเป็นภิกษุ แม้ด้วยปฏิญญา. พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งบทว่า โก
เอตฺถ
นั้น ในบรรดาคำทั้งหลาย มีคำปฏิญญาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็น
ภิกษุ
เป็นต้น. ก็ปฏิญญานี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เป็นคำอันพระอานนท์
กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในเวลาราตรี ชนทั้งหลายแม้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อ
มีผู้ถามว่า ใครในที่นี้ ผู้ทุศีลนั้นย่อมกล่าวด้วยปฏิญญา อันไม่เป็นธรรม
อันไม่เป็นจริงว่า เราเป็นภิกษุ ดังนี้.