เมนู

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


อธิบายมาติกาปทนิทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะแสดงจำแนกมาติกาตามที่ทรง
ตั้งไว้ จึงเริ่มคำว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นอาทิ (แปลว่า บทว่า อิธ
มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น).
ในมาติกาปทนิทเทสเหล่านั้น คำสั่งสอนของพระสัพพัญญพุทธะ
กล่าวคือ ไตรสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้1 10 บท มีคำว่า อิมิสฺสา
ทิฏฺฐิยา
เป็นต้น.
จริงอยู่ ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทิฏฐิ เพราะ
ความที่ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว (จึงตรัสเรียก
ชื่อว่า ทิฏฐิ) ตรัสเรียกชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งความอดทนของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นแหละ, ตรัสเรียกชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, ตรัส
เรียกชื่อว่า ลัทธิ (อาทาย) ด้วยสามารถแห่งการถือเอา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรม
เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, ตรัสเรียกชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ควรแก่การ
ศึกษา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น, อรรถทั้งสอง
นั้นตรัสเรียกชื่อว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถแห่งคำอันพระองค์ตรัสแล้ว, ตรัส
เรียกชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่า การประพฤติธรรมอันประเสริฐสุด,
ตรัสเรียกชื่อว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถแห่งการให้ความพร่ำสอน. เพราะฉะนั้น
ในคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้น จึงได้แก่ ในทิฏฐิของพระพุทธเจ้านี้ ใน

1. 10 บท คือทิฏฐิ ขันติ รุจิ ลัทธิ ธรรม วินัย ธรรมวินัย ปาพจน์ พรหมจรรย์ สัตถุศาสน์.