เมนู

อรรถกถาฌานวิภังค์


วรรณนามาติกา


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในฌานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจากมัคค-
วิภังค์
นั้นดังต่อไปนี้.
เบื้องต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่ง
สุตตันตภาชนีย์ทั้งสิ้นก่อน. ในมาติกาเหล่านั้น คำว่า อิธ เป็นคำแสดงไข
ถึงคำสั่งสอนอันเป็นจริงโดยอิงอาศัยบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยความถึงพร้อมใน
กรณียกิจอันเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้นด้วย ทั้ง
เป็นการปฏิเสธความเป็นจริงของศาสนาอื่นด้วย. ข้อนี้ สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิอื่น
ว่างเปล่าจากสมณะ ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงถึงบุคคลผู้ยังฌานเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.
คำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ เป็นคำชี้แจงถึงความที่ภิกษุนั้น
ตั้งมั่นในปาฏิโมกขสังวร.
คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำอธิบายถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยการอยู่ อันสมควรแก่ความเป็นอย่างนั้น.
คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน (แปลว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระ
และโคจร) นี้ เป็นการแสดงถึงอุปการธรรมของภิกษุนั้น ซึ่งมีปาฏิโมกข-
สังวรในเบื้องต้น และมีการประกอบเนือง ๆ ในฌานเป็นที่สุด.
คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี (แปลว่า เห็นภัยในโทษ
มีประมาณน้อย) นี้ เป็นคำไขถึงความที่ภิกษุนั้น มีความไม่เคลื่อนจากปาฏิ-
โมกข์เป็นธรรมดา.

คำว่า สมาทาย (แปลว่า สมาทานแล้ว) นี้ เป็นคำแสดงถึงการ
ถือเอาสิกขาบททั้งหลายของภิกษุนั้นโดยไม่เหลือ.
คำว่า สิกฺขติ นี้ (แปลว่า ประพฤติหรือศึกษาอยู่) เป็นคำแสดง
ถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิกขา.
คำว่า สิกฺขาปเทสุ นี้ (แปลว่า ในสิกขาบททั้งหลาย) เป็นคำ
แสดงถึงธรรมอันภิกษุนั้น พึงศึกษา.
คำว่า อินฺทฺริเยสุ นี้ เป็นคำแสดงถึงภูมิ (ภูมิปฏิบัติ) เพราะความ
ที่ภิกษุนั้น มีทวารอันคุ้มครองแล้ว. อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า คำนี้ เป็น
คำแสดงถึงโอกาสที่บุคคลควรรักษา ดังนี้ก็มี.
คำว่า คุตฺตทฺวาโร นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้มี
อารักขาอันสำรวมดีแล้วในทวารทั้ง 6.
คำว่า โภชเน มตฺตญฺญู (แปลว่า รู้ประมาณในโภชนะ) นี้ เป็น
คำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นมีคุณธรรมมีความสันโดษเป็นต้น.
คำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ ชาคริยานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า
ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความ
เป็นการณะของภิกษุนั้น.
คำว่า สาตจฺจํ เนปกฺกํ (แปลว่า ประกอบความเพียรอันเป็นไป
ติดต่อและประกอบด้วยปัญญาอันรักษาตน) นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุ
นั้น เป็นผู้กระทำความพยายามให้ติดต่อกันไป ด้วยความเพียร ซึ่งสำรวจแล้ว
ด้วยปัญญา.
คำว่า โพธิปกฺขิกานํ ธมฺมานํ ภาวนานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า
ประกอบความเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความรู้อันเป็น
ส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยการปฏิบัติของภิกษุนั้น.

คำว่า โส อภิกฺกนฺเต ฯ เป ฯ ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ
นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการก้าวไปข้างหน้า ฯลฯ เป็นผู้รู้
ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง) เป็นคำแสดงถึง
ความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ ในที่ทั้งปวง.
คำว่า โส วิวิตฺตํ เสนาสนํ ภชติ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น อาศัย
เสนาสนะอันสงัด ) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น ถือเอาเสนาสนะอันสมควร.
คำว่า อรญฺญํ ฯ เป ฯ ปฏิสลฺลานสารูปํ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น
อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า ฯลฯ สมควรแก่การหลีกเร้น) เป็นคำแสดง
ถึงประเภทเสนาสนะอันไม่มีโทษ และมีอานิสงส์.
คำว่า โส อรญฺญคโต วา นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม)
เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยเสนาสนะมีประการตาม
ที่กล่าวแล้วนั้น.
คำว่า นิสีทติ นี้ (แปลว่า นั่งอยู่) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น
เป็นผู้มีอิริยาบถ อันสมควรแก่การประกอบความเพียร.
คำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา นี้ (แปลว่า ตั้งสติมุ่งต่อกรรม-
ฐาน) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้เริ่มประกอบความเพียร.
ก็คำว่า โส อภิชฺฌํ โลเก ปหาย เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุนั้น
ละอภิชฌาในโลก คือขันธ์ 5 ได้แล้ว) เป็นคำแสดงถึงความทีภิกษุนั้นเป็น
ผู้ละนิวรณ์ ด้วยการประกอบความเพียรเนืองๆในกรรมฐาน.
คำว่า ตสฺเสว ปหีนนีวรณสฺส วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น (แปล
ว่า ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันทำให้ใจเศร้าหมอง ทำปัญญาให้ทราม
ได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นคำแสดงถึงการบรรลุฌานโดยลำดับ.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้น
ในศาสนานี้. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้น พึงชำระศีล 4 ให้บริสุทธิ์
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ ว่า
เป็นศีลหมดจดวิเศษแล้วในปาฏิโมกข์สังวร ในบัดนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงอาชีวปาริสุทธิศีล ด้วยคำว่า
อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงศีลทั้งสองของภิกษุนั้น โดย
ไม่เหลือ ด้วยคำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกขาปเทสุ นี้. ย่อมทรงแสดง
อินทรียสังวร ด้วยคำว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร นี้. ย่อมทรงแสดงปัจจย-
สันนิสสิตศีล ด้วยคำว่า โภชเน มตฺตญฺญู นี้. ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลาย
อันมีอุปการะแห่งการเจริญฌาน ของภิกษุผู้ตั้งอยู่แล้วในศีล ด้วยคำว่า
ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการประกอบด้วยดีในสติสัมป-
ชัญญะโดยการไม่เสื่อมไปแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น และทั้งความไม่เสื่อมสูญ
แห่งกรรมฐาน ด้วยคำว่า โส อภิกฺกนฺเต เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการถือ
เอาเสนาสนะ อันสมควรแก่ภาวนา ด้วยคำว่า โส วิวิตฺตํ เป็นต้น. ย่อม
ทรงแสดงอิริยาบถ อันสมควรแก่ฌาน และการเริ่มเจริญฌานของภิกษุผู้เข้า
ถึงแล้วซึ่งเสนาสนะนั้น ด้วยคำว่า โส อรญฺญคโต วา เป็นต้น ย่อมทรง
แสดงการละธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌาน โดยการเริ่มเจริญฌาน ด้วยคำว่า
โส อภิชฺฌํ เป็นต้น. ย่อมแสดงลำดับการบรรลุฌานทั้งหมด ของภิกษุผู้มี
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌานอันละแล้วอย่างนี้ ด้วยคำว่า โส อิเม ปญฺจ
นีวรเณ ปหาย
เป็นต้น ฉะนี้แล.
วรรณนามาติกา จบ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


อธิบายมาติกาปทนิทเทส


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะแสดงจำแนกมาติกาตามที่ทรง
ตั้งไว้ จึงเริ่มคำว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นอาทิ (แปลว่า บทว่า อิธ
มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น).
ในมาติกาปทนิทเทสเหล่านั้น คำสั่งสอนของพระสัพพัญญพุทธะ
กล่าวคือ ไตรสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้1 10 บท มีคำว่า อิมิสฺสา
ทิฏฺฐิยา
เป็นต้น.
จริงอยู่ ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทิฏฐิ เพราะ
ความที่ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว (จึงตรัสเรียก
ชื่อว่า ทิฏฐิ) ตรัสเรียกชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งความอดทนของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นแหละ, ตรัสเรียกชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, ตรัส
เรียกชื่อว่า ลัทธิ (อาทาย) ด้วยสามารถแห่งการถือเอา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรม
เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, ตรัสเรียกชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ควรแก่การ
ศึกษา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น, อรรถทั้งสอง
นั้นตรัสเรียกชื่อว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถแห่งคำอันพระองค์ตรัสแล้ว, ตรัส
เรียกชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่า การประพฤติธรรมอันประเสริฐสุด,
ตรัสเรียกชื่อว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถแห่งการให้ความพร่ำสอน. เพราะฉะนั้น
ในคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺฐิยา เป็นต้น จึงได้แก่ ในทิฏฐิของพระพุทธเจ้านี้ ใน

1. 10 บท คือทิฏฐิ ขันติ รุจิ ลัทธิ ธรรม วินัย ธรรมวินัย ปาพจน์ พรหมจรรย์ สัตถุศาสน์.