เมนู

สัมโมหวิโนทนี

1

อรรถกถาวิภังค์


สติปัฏฐานวิภังคนิทเทส


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสติปัฏฐานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นั้น ต่อไป
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
ทรงแสดงกำหนดสติปัฏฐานไว้ว่า มีจำนวนไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น
ดังนี้.
คำว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน 3 อย่าง คือ สติโคจร 1
ความที่พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ 3
อย่าง 1 ตัวสติ 1.
จริงอยู่ สติโคจร (อารมณ์ของสติ ) ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ใน
คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุให้เกิด และความดับไป
แห่งสติปัฏฐาน 4 เธอทั้งหลายจงฟังคำนั้น จงมนสิการให้ดี ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดกาย ความเกิดขึ้น
แห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร เป็นต้น. โดยทำนอง
นั้น กายย่อมเป็นอารมณ์ปรากฏ มิใช่สติปรากฏ.


1. บาลีอรรถกถาหน้า 279 เป็นต้นไป

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติอุปัฏฐาน1 และ สติ เป็นต้น. เนื้อ
ความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งมั่น.
ถามว่า อะไร ย่อมตั้งมั่น
ตอบว่า สติ. ที่เป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกอย่าง
หนึ่ง ที่ตั้งมั่นอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปัฏฐาน ที่ตั้งอันเป็นประธานแห่งสติ
จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน เหมือนคำว่า ที่อันเป็นที่ตั้งอยู่ของช้าง และของม้า
เป็นต้นฉะนั้น.
การที่พระศาสดาเป็นผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่สาวกผู้
ปฏิบัติ 3 อย่าง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำนี้ว่า พระศาสดาผู้อริยะ
เสพธรรมใด ธรรมนั้นคือ สติปัฏฐาน 3 ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่ จึง
ควรเพื่อตามสอนหมู่คณะ
2 ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อ
ว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นธรรมควรให้ตั้งไว้. อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป.
ถามว่า ควรให้ตั้งไว้ด้วยธรรมอะไร.
ตอบว่า ด้วยสติ การให้ตั้งไว้ด้วยสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.
ก็ตัวสตินั่นแหละ ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำเป็นต้นว่า สติ-
ปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์
7 ให้บริบูรณ์
ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน
เพราะอรรถว่า ย่อมดำรงอยู่. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ คือ ก้าวลงแล้วย่อม
แล่นไป ย่อมเป็นไป. สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่
(หรือการตั้งมั่น). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติเพราะอรรถว่า การระลึก. ชื่อว่า
ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งมั่น. ด้วยประการฉะนี้ สตินั้นด้วย ปัฏ-

1. คำว่า สติอุปัฏฐาน แปลว่า การเข้าไปตั้งสติ.
2. จาก สฬายตนวิภังคสูตร มัช.อุ. ข้อ 633-636.

ฐานนั้นด้วย จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. สติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประสงค์เอาไว้ที่นี้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงทำคำว่า สติปัฏฐาน
ให้เป็นพหูพจน์เล่า.
ตอบว่า เพราะความที่สติมีมาก. จริงอยู่ ท่านทำสติไว้มาก ก็เพราะ
ความต่างกันแห่งอารมณ์.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ 4
เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า เพราะจะให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่เวไนยสัตว์. จริงอยู่
บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ประเภทตัณหาจริต และทิฏฐิจริต หรือสมถยานิก และ
วิปัสสนายานิกเป็นไป 2 อย่าง ด้วยสามารถแห่งมันทะและติกขบุคคล (คือ
จริตอ่อนและแก่กล้า) กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอันโอฬาร เป็นทางแห่งความ
หมดจดของบุคคลผู้ตัณหาจริตอย่างอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอันสุขุม
เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีตัณหาจริตอย่างแก่กล้า. จิตตานุปัสสนา
สติปัฏฐานซึ่งมีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทางแห่งความหมดจดของ
บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์อันแยก
ออกมาก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างแก่กล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานที่ 1 ซึ่งมีนิมิตอันบุคคลพึงบรรลุได้โดยไม่ลำบาก
เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ 2
เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างแก่กล้า เพราะไม่เกิดใน
อารมณ์อันหยาบ สติปัฏฐานที่ 3 มีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทาง
แห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ 4 มี
อารมณ์อันแยกออกมากยิ่ง เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิก
อย่างแก่กล้า.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ 4
โดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล.


สติปัฏฐานตามนัยแห่งปกรณ์

1
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน 4 เพื่อละวิปัลลาส 4
เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อละสุภวิปัลลาส สุข-
วิปัลลาส นิจจวิปัลลาส อัตตวิปัลลาส คือเข้าใจว่า เป็นสุภะ เป็นสุขะ เป็น
ของเที่ยง เป็นอัตตา.
จริงอยู่ กายเป็น อสุภะ แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิด
ด้วยสุภวิปัลลาสในกายนั้น มีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสติปัฏฐานที่ 1 ไว้
เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาสนั้น โดยการแสดงถึงความเป็นอสุภะในกาย.
อนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น แม้อันสัตว์ถือเอาแล้วว่า เป็น
สุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา ที่จริงเวทนาเป็นทุกข์ จิตก็ไม่เที่ยง ธรรมทั้ง
หลายก็เป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิดมีความเห็นคลาดเคลื่อนในธรรม
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา. พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน 3 ที่เหลือไว้ก็เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาส
นั้นโดยการแสดงถึงความเป็นทุกข์ เป็นต้น ในธรรมมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น
พึงทราบว่าได้ตรัสสติปัฏฐานไว้ 4 เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่งดังนี้ เพื่อ
ละวิปัลลาสในความเห็นว่าเป็นสุภะ เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้. ก็เพื่อการละวิปัลลาสเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ พึงทราบว่า
พระองค์ตรัสสติปัฏฐานไว้ 4 เพื่อละโอฆะ 4 โยคะ 4 อาสวะ 4 คันถะ 4
อุปาทาน 4 อคติ 4 และเพื่อให้กำหนดรู้อาหาร 4 ด้วย.
นัยแห่งปกรณ์ มีเพียงเท่านี้

1. นัยนี้รจนาขึ้นโดยภาษาของชาวเกาะลังกา