เมนู

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม
น้อมจิตเข้าไปในกายภายนอก.

พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก


[433] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนือง ๆ อยู่ เป็น
อย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้อง
บน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในกายของเขาผู้นั้น มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร.
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ
นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อม
จิตเข้าไปในกายทั้งภายในและภายนอก.

พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก


[434] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก
เนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอก แต่พื้นเท้า
ขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มโดยรอบเต็มไปด้วย

ของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร.
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและ
ภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสเสียได้ในโลก.
[435] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศ
ว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไป
ถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยการพิจารณาเห็นเนือง ๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ.
[436] บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไป
อยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง
เรียกว่า อยู่.
[437] บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว
เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความ
เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.

[438] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า มีสัมปชัญญะ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้ว
ด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัมปชัญญะ.
[439] บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้
เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้า
ถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
มีสติ.
[440] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศ
ว่าโลก เป็นไฉน ?
กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปทานขันธ์ 5 ก็ชื่อว่า โลก นี้
เรียกว่าโลก.
อภิชฌา เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน
ใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.
โทมนัส เป็นไฉน ?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย
เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ
ไปด้วยดี ลูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไป
แล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.
กายานุปัสสนานิทเทส จบ

เวทนานุปัสสนานิทเทส


พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายใน


[441] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนือง ๆ อยู่
เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
สุขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
มีอามิส หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่
มีอามิส เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
มีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาไม่มีอามิส.