เมนู

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
อันเป็นวิบาก
เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้น
แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม


ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม
ฌานอันเป็นวิบาก
เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้
แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่
ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน.
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป
จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
อันเป็นวิบาก
เพราะโลกุตตรฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญแล้วนั้นแล
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทัน-
ธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.
จบอภิธรรมภาชนีย์

ปัญหาปุจฉกะ


[462] สติปัฏฐาน 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้
ในโลก.

2. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

3. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัม-
ปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

4. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.


ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา


บรรดาสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐานไหนเป็นกุศล สติปัฏฐานไหนเป็น
อกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ สติปัฏฐานไหนเป็นสรณะ สติ-
ปัฏฐานไหนเป็นอรณะ.