เมนู

โวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ฉันใด ก็สติสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมถึงที่สุดรอบ ฉันใด
ภิกษุย่อมยังสติสัมโพชฌงค์นั้น ให้เจริญฉันนั้นเถิด. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ
ก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย เจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระ
แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย


ในอภิธรรมภาชนีย์ มี 2 นัย

ด้วยสามารถแห่งการถาม
ตอบโพชฌงค์แม้ทั้ง 7 โดยรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์
ทั้ง 7 โดยแยกกัน พึงทราบอรรถกถาวรรณนาแห่งโพชฌงค์เหล่านั้น ด้วย
นัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัม-
โพชฌงค์ ชื่อว่า อุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา)
แห่งการวางเฉย ชื่อว่า กิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า
ย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง.
ชื่อว่า กิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่า ย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่ง
อันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่า ความ
เพ่งเล็งยิ่ง.
ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่า
มัชฌัตตตา (ความเป็นกลาง) ท่านกล่าวว่า มัชฌัตตตาแห่งจิต ก็เพื่อแสดง
ว่า มัชฌัตตตานั้น เป็นของจิต มิใช่เป็นของสัตว์ ดังนี้แล. นี้เป็นการพรรณนา
บทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้.

ก็บัณฑิตพึงนับนัยในอภิธรรมภาชนีย์นั้น ด้วยว่าอภิธรรมภาชนีย์นี้
ท่านจำแนกนัยไว้ 4,000 นัย คือ ในมรรคหนึ่ง มี 1,000 นัย (1,000 * 4
= 4,000) สำหรับในการถามและตอบรวมโพชฌงค์แม้ทั้ง 7. สำหรับในการ
แยกวิสัชนาทีละข้อ โพชฌงค์ทั้ง 7 มี 4 หมวด จัดเป็น 28,000 นัย คือ
โพชฌงค์ 7 เป็น 4 ด้วยสามารถแห่งโพชฌงค์แต่ละข้อ. นัยแม้ทั้งหมดนั้น
เป็น 32,000 นัย โดยนับรวมกับ 4 นัยแรก. ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนก
กุศลทั้งหลายไว้ 32,000 นัยเหมือนกัน. แต่เพราะโพชฌงค์ทั้งหลายย่อมได้
แม้ในขณะแห่งผล คือ โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นกุศลเหตุ และเป็นสามัญผล
ฉะนั้น เพื่อแสดงโพชฌงค์แม้ในนัยเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มวิปากนัยโดยแบบ
แผนอันเป็นเบื้องต้น คือ กุศลนิทเทสนั่นแหละ. นัยแห่งวิบากแม้นั้น มี 2
อย่างด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการ
ถามและการตอบแยกกัน. นัยที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหน
หลังนั่นแหละ. สำหรับวิปากนัย บัณฑิตพึงคูณด้วย 3 แต่กุศล แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบ ความที่โพชฌงค์ทั้งหลาย
ที่เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ส่วนในอารัมมณ-
ติกะทั้งหลาย โพชฌงค์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะ
ปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณะเป็นไป ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. ก็แต่ว่า
ในอธิการนี้ โพชฌงค์ที่เป็นกุศล เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งเหตุ.
โพชฌงค์เหล่านั้น เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญมรรคอันกระทำวิริยะ หรือ