เมนู

สมาธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุข
อันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว. คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม
ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรม
ยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


คำว่า ตถา สมาหิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดุจการบรรลุ-
อัปปนานั้น. คำว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่น
ด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้
เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ 6 ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จ ซึ่ง
อาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อุเปกขาสัม-
โพชฌงค์.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไร ๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่าน
กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่าง ๆ
เป็นลักษะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง
ไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
นัยที่หนึ่ง จบ

โพชฌงค์ 7 นัยที่สอง


บัดนี้ โพชฌงค์ 7 ย่อมเป็นโพชฌงค์ 14 โดยปริยายใด พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงนัยที่สอง เพื่อทรงประกาศซึ่งปริยายแห่งโพชฌงค์
14 นั้น จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้นอีก. ในนัยที่สองนั้น
พึงทราบการพรรณนาบทโดยลำดับดังนี้.
คำว่า อชฺฌตฺตธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายในมีอยู่) ได้แก่
สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายอันเป็นภายใน. คำว่า พหิทฺธา
ธมฺเมสุ สติ
(สติในธรรมภายนอกมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณา
สังขารทั้งหลายภายนอก. บทว่า ยทปิ ท่านแก้ เป็น ยาปิ (.....แม้ใด)
บทว่า ตทปิ ท่านแก้ เป็น สาปิ (....แม้นั้น). บทว่า อภิญฺญาย ได้แก่
เพื่อการรู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่าสัมโพธิ (ความ
ตรัสรู้) ในบทว่า สมฺโพธาย
อธิบายว่า เพื่อมรรคผล.
ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า วานะ ในบทว่า
นิพฺพานาย
ตัณหานั้น ไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้น จึงเรียกว่า
นิพพาน. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพานนั้น เพื่ออสังขตะ
เพื่ออมตธาตุ เพื่อการกระทำให้แจ้ง ดังนี้. แม้ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็นัยนี้
นั่นแหละ.
คำว่า กายิกํ วิริยํ ได้แก่ ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้อธิษฐาน
อยู่ซึ่งการจงกรม. คำว่า เจตสิกํ ได้แก่ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้ว เว้นกายปโยค
อย่างนี้ว่า ตราบใด จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย โดยความ
ไม่ถือมั่นแล้ว เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ดังนี้. คำว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่