เมนู

สมาธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุข
อันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว. คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม
ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรม
ยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


คำว่า ตถา สมาหิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดุจการบรรลุ-
อัปปนานั้น. คำว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่น
ด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้
เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ 6 ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จ ซึ่ง
อาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อุเปกขาสัม-
โพชฌงค์.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไร ๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่าน
กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่าง ๆ
เป็นลักษะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง
ไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
นัยที่หนึ่ง จบ