เมนู

วิริยสัมโพชฌงค์


คำว่า ตสฺส ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการ
ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่
บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่า
ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็น
ความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติสัมโพชฌงค์


คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะ
ความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อยํ วุจุจติ ได้แก่
ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ. คำว่า กาโยปิ
ปสฺสมฺภติ
ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา สังขาร)
ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า
จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำ
ว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.