เมนู

กำลังทราม (ทุรพล) ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้.
คำว่า จิรกตมฺปิ ได้แก่ วัตรอันกระทำไว้นาน ๆ ด้วยกายของตน
หรือของผู้อื่น หรือว่าได้แก่ กสิณมณฑล หรือกสิณบริกรรม. คำว่า จิรภา-
สิตมฺปิ
ได้แก่ ธรรมกถาอันตั้งอยู่ในวัตตสีสะแม้มากอันตนหรือผู้อื่นกล่าวด้วย
วาจาไว้นานๆ หรือว่าได้แก่การวินิจฉัยในกรรมฐาน หรือธรรมกถานั่นแหละ
อันตั้งอยู่ในวิมุตตายนสีสะ. คำว่า สริตา โหติ ได้แก่ ส่วนแห่งอรูปธรรม
อันยังกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นให้ตั้งขึ้นพร้อม เป็นไปทั่วแล้ว ก็ระลึกได้ว่า
สิ่งนี้ เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. คำว่า อนุสริตา ได้แก่ ระลึก
ได้บ่อย ๆ. คำว่า อยํ วุจฺจติ สติสมฺโพชฺฌงโค ได้แก่ สตินี้ อันสัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา ซึ่งยังโพชฌงค์ที่เหลือให้ตั้งขึ้น อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ ด้วย
สติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่. คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำ
ไว้นาน ๆ วาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหน.
หลังนั้น. คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญา
ว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญา
ให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า
ปริวิมํสํ อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า. คำว่า อยํ วุจฺจติ
นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือ เป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.

วิริยสัมโพชฌงค์


คำว่า ตสฺส ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการ
ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่
บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่า
ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็น
ความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติสัมโพชฌงค์


คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะ
ความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อยํ วุจุจติ ได้แก่
ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ. คำว่า กาโยปิ
ปสฺสมฺภติ
ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา สังขาร)
ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า
จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำ
ว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.