เมนู

เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญอุเบกขาสัม-
โพชฌงค์
ดังนี้. อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือ
สติ) ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึง
ปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือน
อำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมี
ประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิกํ จะแปลว่า เป็น
ธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. ท่าน
อธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี 7 เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และ
อุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สติสัมโพชฌงค์


บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุแห่งความต่างกันในเพราะอารมณ์หนึ่งแห่ง
โพชฌงค์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งกิจ (หน้าที่) ของตน ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ตตฺถ กตโม สติสมฺโพชฺฌงฺโค เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนา
นี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญาเพราะ
ประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะ
ประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า
ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริง
อยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด

เพราะเป็นธรรมคล้อยตาม (อนุโลม) ต่อพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถสัจจะ
และมรรคสัจจะ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติเนปกฺเกน ดังนี้ ปัญญา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า เนปักกะ อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยสติ
และด้วยปัญญา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงสงเคราะห์
(ถือเอา) ปัญญาในการจำแนกบทแห่งสตินี้. ตอบว่า เพื่อการแสดงซึ่งความที่
สติเป็นสภาพมีกำลัง. จริงอยู่ สติ แม้เว้นจากปัญญา ก็เกิดขึ้นได้ สตินั้น
เมื่อเกิดพร้อมกับปัญญา ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง เมื่อเว้นจากปัญญา
ย่อมทุรพล.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย เพื่อ
แสดงซึ่งความที่โพชฌงค์นั้นเป็นสภาพมีกำลัง.
เหมือนอย่างว่า ราชมหาอำมาตย์ 2 คน พึงยืนอยู่ในทิศทั้งสองบรรดา
มหาอำมาตย์สองคนนั้น คนหนึ่งอุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ คนหนึ่งเป็นผู้เดียว
เท่านั้นยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในมหาอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราช
บุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจ ด้วยอำนาจของพระราชบุตรด้วย มหาอำมาตย์
คนที่ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหา-
อำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ สติอัน
เกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้อุ้มพระราชบุตรยืน
อยู่ สติเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ยืนอยู่ตามธรรมดา
ของตน. ในอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มี
อำนาจ ด้วยอำนาจของตนบ้าง ด้วยอำนาจของพระราชบุตรบ้าง ฉันใด สติ
บังเกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญา ก็ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง ฉันนั้น. มหาอำมาตย์คน
ที่อยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมเป็นผู้ไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์
คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ฉันใด สติที่บังเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา ย่อมมี

กำลังทราม (ทุรพล) ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้.
คำว่า จิรกตมฺปิ ได้แก่ วัตรอันกระทำไว้นาน ๆ ด้วยกายของตน
หรือของผู้อื่น หรือว่าได้แก่ กสิณมณฑล หรือกสิณบริกรรม. คำว่า จิรภา-
สิตมฺปิ
ได้แก่ ธรรมกถาอันตั้งอยู่ในวัตตสีสะแม้มากอันตนหรือผู้อื่นกล่าวด้วย
วาจาไว้นานๆ หรือว่าได้แก่การวินิจฉัยในกรรมฐาน หรือธรรมกถานั่นแหละ
อันตั้งอยู่ในวิมุตตายนสีสะ. คำว่า สริตา โหติ ได้แก่ ส่วนแห่งอรูปธรรม
อันยังกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นให้ตั้งขึ้นพร้อม เป็นไปทั่วแล้ว ก็ระลึกได้ว่า
สิ่งนี้ เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. คำว่า อนุสริตา ได้แก่ ระลึก
ได้บ่อย ๆ. คำว่า อยํ วุจฺจติ สติสมฺโพชฺฌงโค ได้แก่ สตินี้ อันสัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา ซึ่งยังโพชฌงค์ที่เหลือให้ตั้งขึ้น อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ ด้วย
สติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่. คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำ
ไว้นาน ๆ วาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหน.
หลังนั้น. คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญา
ว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญา
ให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า
ปริวิมํสํ อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า. คำว่า อยํ วุจฺจติ
นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือ เป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.