เมนู

อรรถกถาโพชฌังควิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


โพชฌงค์ 7 นัยที่หนึ่ง


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในโพชฌังควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
อิทธิบาทวิภังค์นั้น ต่อไป.
คำว่า 7 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า โพชฺฌงฺคา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือเป็นองค์แห่งพระ-
สาวกผู้ตรัสรู้.
ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรม-
สามัคคี กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อัน
เกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอันใด อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัททวะ (อันตราย)
มิใช่น้อย มีการหดหู่ ความฟุ้งซ่าน การตั้งอยู่ (แห่งทุกข์) การพอกพูน
(หรือการประมวลมาซึ่งทุกข์) อันมีการยึดมั่นในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค
อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น.
คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ย่อมตั้งขึ้นเพื่อทำลายความ
สืบต่อแห่งกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ย่อมตรัสรู้ ได้แก่ ย่อมแทงตลอด
สัจจะทั้ง 4.
อีกอย่างหนึ่ง....ได้แก่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

นั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้
กล่าวคือ ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌาน และองค์แห่งมรรคเป็นต้น ก็ได้.
พระอริยสาวกนี้ใด ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า ย่อม
ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี มีประการตามที่กล่าวมานั้น. แม้เพราะอรรถว่า เป็น
องค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ ก็ชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา องค์
แห่งรถ เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า หรือ
ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้ ฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่ากระไร
ข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์โดยนัยแห่งปฏิ-
สัมภิทานี้ว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตรัสรู้. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถ
ว่า ย่อมรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้พร้อม

ดังนี้ ก็ได้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. โพชฌงค์
อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย อันดีด้วย ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์
คือ สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. (โพชฌงค์ ที่เหลือก็เช่น
เดียวกัน) บรรดาสัมโพชฌงค์เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ มีการตั้งมั่น (อุปัฏ-
ฐานะ) เป็นลักษณะ. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณาค้นคว้า (ปวิจยะ)
เป็นลักษณะ. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบเป็นลักษณะ. สมาธิ-
สัมโพชฌงค์
มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มี

การเพ่งเฉย (ปฏิสังขานะ)* เป็นลักษณะ. ในสัมโพชฌงค์เหล่านั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสสติสัมโพชฌงค์ก่อน เพราะความที่สติสัมโพชฌงค์ เป็น
ธรรมมีอุปการะแก่สัมโพชฌงค์ทั้งหมด ดังพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง (สติแล
จำปรารถนาในที่ทั้งปวง)
ดังนี้ เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นการประกอบบท
ทั้งที่มีมาในพระบาลีโดยลำดับอย่างนี้นั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนั้น
มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมเลือกสรรพิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา

เป็นต้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโพชฌงค์ 7 เหล่านั้น ว่าไม่ยิ่งไม่-
หย่อนกว่านี้ เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่ และ อุทธัจจะ และเพราะ
เป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
จริงอยู่ในโพชฌงค์เหล่านี้ โพชฌงค์ 3 (ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ) เป็น
ปฏิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ในสมัยใดแล จิตหดหู่ ในสมัยนั้นเป็นกาลสมควร เพื่อการ
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ดังนี้. โพชฌงค์ 3 (ปัสสัทธิ
สมาธิ อุเบกขา) เป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยใดแล จิตฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้น
เป็นกาลสมควรเพื่อการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควร


* คำว่า ปฏิสังขานะ คือการเพ่งเฉย ในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งโพชฌงค์ 6 ที่เหลือ
โดยอาการเป็นกลาง อาจารย์บางพวก ได้กล่าวว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ปรุงแต่งศรัทธากับ
ปัญญ า วิริยะกับสมาธิ ให้สม่ำเสมอกัน

เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญอุเบกขาสัม-
โพชฌงค์
ดังนี้. อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือ
สติ) ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึง
ปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือน
อำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมี
ประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิกํ จะแปลว่า เป็น
ธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. ท่าน
อธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี 7 เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และ
อุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สติสัมโพชฌงค์


บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุแห่งความต่างกันในเพราะอารมณ์หนึ่งแห่ง
โพชฌงค์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งกิจ (หน้าที่) ของตน ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ตตฺถ กตโม สติสมฺโพชฺฌงฺโค เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนา
นี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญาเพราะ
ประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะ
ประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า
ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริง
อยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด