เมนู

อานุภาพมากในพระศาสนานี้ กระทำอากาศให้เป็นดังแผ่นดิน กระทำแผ่นดิน
ให้เป็นดังอากาศ ถือเอาระยะทางที่ไกลกระทำให้ใกล้ ทำทางที่ใกล้ให้ไกล
ไปได้สู่พันแห่งจักรวาลโดยขณะเดียว ท่านทั้งหลายจงดูมือของกระผม ก็แต่
ว่าบัดนี้เป็นเช่นกับมือลิง กระผมนั่งอยู่ในโลกนี้นั่นแหละเอามือทั้งสองลูบคลำ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ กระผมนั่งแล้วกระทำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ให้เป็นดุจพื้นที่สำหรับล้างเท้าก็ได้ ฤทธิ์ของกระผมเห็นปานนี้อันตรธาน
ไปแล้วด้วยความประมาท ขอท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทเลย
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถึงความพินาศไปเช่นนี้เพราะความประมาท
ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่จะกระทำที่สุดแห่งชาติ ชรา และ
มรณะได้
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายกระทำผมให้เป็นอารมณ์แล้ว จงเป็น
ผู้ไม่ประมาทเถิดขอรับ" ครั้นคุกคามแล้วได้ให้แล้วซึ่งโอวาท.
เมื่อมนุษย์นั้นกล่าวอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ ภิกษุสามเณร 30 เหล่านั้น
ถึงความสังเวชแล้ว เห็นแจ้งอยู่ ก็บรรลุพระอรหัต ในที่นั้นนั่นแล.
สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับไป บัณฑิตพึงทราบว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ ดังพรรณนามาฉะนี้.

วินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถา


พึงทราบวินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถาก่อน ดังต่อไปนี้.
ก็สำหรับในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ความเพียรอย่างหนึ่ง
เท่านั้นย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งการยังกิจ 4 อย่างให้สำเร็จ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ (อกุศลธรรม
อันลามกทั้งหลาย) ที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการปรากฏ หรือด้วย

สามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพ. จริงอยู่ ในสังสารอันหาเบื้องต้นและ
ที่สุดมิได้ ขึ้นชื่อว่าอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วโดยประการ
อื่น ๆ มิได้มี. ก็อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นนั่นแหละแม้เมื่อจะเกิดก็
ย่อมเกิดขึ้นได้ แม้เมื่อละก็พึงละได้.
ในข้อว่า อนุปฺปนฺนานํ นั้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วย
อำนาจแห่งวัตรของภิกษุบางรูป คือ ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุบางรูป ด้วยสามารถ
แห่งวัตรอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งคันถะ ธุดงค์ สมาธิ วิปัสสนา นวกรรม
และภพ. กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งวัตรเป็นอย่างไร. ก็
ภิกษุบางรูปเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรมีอยู่ เมื่อเธอการทำอยู่ซึ่งวัตรเล็กๆ น้อยๆ
82 มหาวัตร 14 และเจติยังคณวัตร โพธิยังคณวัตร ปานียวัตร มาฬกวัตร
อุโปสถาคารวัตร อาคันตุกวัตร และคมิกวัตรอยู่นั่นแหละ กิเลสทั้งหลาย
ย่อมไม่ได้โอกาส. ก็ในกาลอื่นอีก เมื่อเธอมีวัตรอันแตกเพราะ กิเลสทั้ง
หลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.

กิเลสทั้งหลายอันยังไม่พึงเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏอย่างนี้ ชื่อว่า
ย่อมเกิดขึ้นได้.
ภิกษุบางรูปประกอบในการศึกษาเล่าเรียน ถือเอาพุทธพจน์ 1 นิกาย
บ้าง 2-3 -4-5 นิกายบ้าง เมื่อภิกษุนั้นนั่นแหละถือเอา สาธยายอยู่ คิด
อยู่ บอกอยู่ ประกาศอยู่ซึ่งพระไตรปิฎก คือพุทธพจน์ ด้วยสามารถแห่งอรรถ
ด้วยสามารถแห่งบาลี ด้วยสามารถแห่งอนุสนธิ ด้วยสามารถแห่งบทต้นและ
บทปลายอยู่ กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. ก็แต่ในกาลอื่นอีก เธอละการ
ศึกษาเป็นผู้เกียจคร้านเที่ยวไปอยู่ กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ
และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วย
สามารถแห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้.

อนึ่ง ภิกษุบางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ สมาทานประพฤติธุดงคคุณ 13
มีอยู่. เมื่อเธอบริหารธุดงคคุณทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. แต่
ในกาลอื่นอีก ภิกษุนั้นสละธุดงค์ทั้งหลายแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
เที่ยวไปอยู่ กิเลสทั้งหลาย อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติ
แล้วย่อมเกิดขึ้น.
กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ
แม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.
ก็ภิกษุบางรูปเป็นผู้ชำนาญในสมาบัติ 8 มีอยู่. เธออาศัยอยู่ด้วย
สามารถแห่งอาวัชชนวสีเป็นต้น ในปฐมฌานเป็นต้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้
โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก ภิกษุนั้นเสื่อมจากฌาน หรือสละฌานเสีย หรือ
เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ในการพูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์เป็นต้นอยู่ กิเลสทั้งหลาย
อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น
กิเลสทั้ง
หลายอันยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อม
เกิดขึ้นได้.
ก็ภิกษุบางรูปเป็นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา กระทำอยู่ซึ่งการงานในอนุปัสสนา
7 หรือมหาวิปัสสนา 18 เป็นไปอยู่. เมื่อเธอปฏิบัติอยู่อย่างนั้น กิเลสทั้งหลาย
ย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก เธอสละการงานแห่งวิปัสสนาเป็นผู้มาก
ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่ กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ
และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
กิเลสทั้งหลายอันยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถ
แห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
ภิกษุบางรูปเป็นนวกัมมิกะ (ผู้ก่อสร้าง) ย่อมกระทำโรงอุโบสถและ
โรงฉันภัตเป็นต้น. เมื่อเธอคิดอุปกรณ์แห่งโรงอุโบสถเป็นต้นเหล่านั้น กิเลส
ทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก เมื่อนวกรรมของเธอเสร็จแล้ว

หรือเป็นผู้สละนวกรรมแล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและ
การสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.
กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถ
แห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.
ก็ภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก ย่อมเป็นสัตว์บริสุทธิ์. กิเลสทั้ง
หลายย่อมไม่ได้โอกาส เพราะยังไม่มีการซ่องเสพ. แต่ว่าในกาลอื่นอีก เธอมี
การซ่องเสพอันได้แล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและการ
สละสติย่อมเกิดขึ้น.
กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้.
พึงทราบความที่กิเลสทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่
ปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่ยังไม่
เคยเสพเป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ได้อารมณ์อันต่างด้วยอารมณ์มีอารมณ์
อันเป็นที่ชอบใจเป็นต้นที่ยังไม่เคยเสพ. กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อาศัย
อโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอในอารมณ์นั้นได้.
กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพอย่างนี้
ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้. แต่ว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค วิริยะหนึ่งนั่นแหละ
ย่อมยังกิจ คือ การไม่ให้กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้น และพึงเกิดอย่างนี้
ย่อมไม่ให้เกิดขึ้น ยังกจคือการละกิเลสทั้งหลายอันเกิดขึ้นแล้วด้วย ให้สำเร็จ.
เพราะฉะนั้น ในข้อว่า "อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ" นี้ จึงได้ อุปปันนะ
(คือกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว) 4 อย่าง คือ

1. วัตตมานุปปันนะ (เกิดขึ้นเป็นไปในขณะทั้ง 3)
2. ภุตวา วิคตุปปันนะ (เกิดขึ้นเสพอารมณ์แล้วดับไป)
3. โอกาสกตุปปันนะ (เกิดขึ้นกระทำโอกาสให้แก่ตน)
4. ภูมิลัทธุปปันนะ (เกิดขึ้นในภูมิอันตนได้แล้ว)
บรรดาอุปปันนธรรม 4 เหล่านั้น กิเลสเหล่าใดที่มีอยู่ กิเลสเหล่านั้น
เป็นสภาพพรั่งพร้อมด้วยอุปปาทะเป็นต้น (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) นี้ ชื่อว่า
วัตตมานุปปันนะ. ก็เมื่อกิเลสนั้นเสพเพราะกรรมแล้ว เสวยรสแห่งอารมณ์
แล้ว วิบากดับไปแล้ว ชื่อว่า ภุตวา วิคตะ (เสพแล้ว ปราศไปแล้ว). กรรม
อันเกิดขึ้นแล้ว ดับไป ก็ชื่อว่า ภุตวา วิคตะ. แม้ทั้งสองนี้ ย่อมถึงซึ่งการนับ
ว่า ภุตวา วิคตุปปันนะ. กรรมอันเป็นกุศลและอกุศล ห้ามวิบากแห่ง
กรรมอื่นแล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน เมื่อกรรมกระทำโอกาสแล้วอย่างนี้
วิบากอันเกิดขึ้นตั้งแต่การกระทำโอกาส ท่านเรียกว่า อุปปันนะ (กิเลสเกิด
ขึ้นแล้ว) นี้ ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ.
อนึ่ง ปัญจขันธ์ ชื่อว่า ภูมิแห่งวิปัสสนา. ปัญจขันธ์ อันต่างด้วย
อดีตเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ ก็กิเลสอันนอนเนื่องแล้วในขันธ์เหล่านั้น ใคร ๆ
ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน. เพราะว่ากิเลสทั้งหลาย
แม้นอนเนื่องแล้วในอดีตขันธ์ทั้งหลายย่อมเป็นสภาวะที่ละไม่ได้ แม้ในอนาคต-
ขันธ์ทั้งหลายในปัจจุบันขันธ์ทั้งหลายก็เหมือนกัน นี้ ชื่อว่า ภูมิลัทธุปปันนะ.
ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อนทั้งหลาย จึงกล่าวว่า กิเลสทั้งหลาย
ที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมินั้น ๆ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นภูมิลัทธุปปันนะ แล.
อุปปันนธรรม 4 อย่าง อีกอย่างหนึ่ง คือ

1. สมุทาจารุปปันนะ
2. อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ
3. อวิกขัมภิตุปปันนะ
4. อสมุคฆาฏิตุปปันนะ
ใน 4 อย่างนั้น กิเลสทั้งหลายกำลังเป็นไปอยู่ในบัดนี้นั่นแหละ ชื่อ
ว่า สมุทาจารุปปันนะ.
เมื่อบุคคลลืมตาขึ้นครั้งเดียวแล้วถือเอาอารมณ์ ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า
กิเลสทั้งหลายจักไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ตนตามระลึกถึงแล้ว และระลึกถึงแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะความเป็นผู้ยึดถือเอาซึ่งอารมณ์. ท่าน
กล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวเปรียบว่า ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า น้ำนมจักไม่ออก
ไปจากต้นไม้ที่มีน้ำนม ในขณะที่บุคคลเอาขวานถากแล้ว และถากแล้ว ฉัน
ใด ข้อนี้ ก็ชื่อว่า อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ ฉันนั้น.
อนึ่ง กิเลสที่ยังมิได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า กิเลส
เหล่านั้นจักไม่เกิดขึ้นในที่ชื่อโน้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมิ
ได้ข่มไว้. ท่านกล่าวไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าว่าบุคคลพึงเอาขวาน
ถากต้นไม้มีน้ำนม ใคร ๆ ก็ไม่พึงกล่าวว่า น้ำนมไม่พึงออกไปในที่ชื่อโน้น
ข้อนี้ก็ฉันนั้น จึงชื่อว่า อวิกขัมภิตุปปันนะ.
อนึ่ง บัณฑิตพึงยังคำว่า "กิเลสที่ยังมิได้ถอนขึ้นด้วยมรรคแล้ว จัก
ไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้บังเกิดในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ)" ดังนี้ ให้พิสดารโดยนัย
ก่อนนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
บรรดาอุปปันนะ (คือกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว) อุปปันนะ 4 อย่าง ที่
มรรคไม่พึงฆ่า คือ

1. วัตตมานุปปันนะ
2. ภุตวา วิคตุปปันนะ
3. โอกาสกตุปปันนะ
4. สมุทาจารุปปันนะ
อุปปันนะที่มรรคพึงฆ่า 4 อย่าง คือ
1. ภูมิลัทธุปปันนะ
2. อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ
3. อวิกขัมภิตุปปันนะ
4. อสมุคฆาฏิตุปปันนะ
จริงอยู่ มรรคเมื่อเกิดขึ้นย่อมละกิเลสทั้งหลายเหล่านี้. ก็แต่ว่า มรรค
นั้นละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต หรือ
อนาคต หรือปัจจุบัน.
ข้อนี้ สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้ง
หลายที่เป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้นมรรคนั้นก็ยังกิเลสที่สิ้นไปแล้ว
ให้สิ้นไปได้ย่อมยังกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไปได้ ย่อมยังกิเลสที่ปราศ
ไปแล้วให้ปราศไปได้ ย่อมยังกิเลสอันถึงซึ่งความเสื่อมไปแล้ว ให้
ถึงความเสื่อมไปได้ สิ่งใดอันเป็นอดีตมิได้มีอยู่ ย่อมละสิ่งนั้นได้.

ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้งหลายอันเป็นอนาคตได้ไซร้ ถ้า
อย่างนั้นมรรคนั้นก็ย่อมละกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วได้ ย่อมละกิเลส
ที่ยังไม่บังเกิดแล้ว อันไม่เกิดขึ้นแล้ว อันไม่ปรากฏแล้วได้ สิ่งใดอัน
ยังไม่มาถึงอันมิได้มีอยู่ ย่อมละสิ่งนั้นได้.

ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
(ปัจจุบัน) ได้ ถ้าอย่างนั้น มรรคนั้นก็มีราคะย้อมแล้ว ย่อมละ

ราคะ มีโทสะประทุษร้ายแล้วย่อมละโทสะ มีโมหะแล้ว ย่อม
ละโมหะ มีมานะผูกพันแล้วย่อมละมานะ มีทิฏฐิยึดถือไว้แล้ว
ย่อมละทิฏฐิ มีความฟุ้งซ่านแล้วย่อมละอุทธัจจะ มีความลังเลไม่ตั้ง
มั่นแล้วย่อมละวิจิกิจฉา มีกิเลสที่มีกำลัง ย่อมละอนุสัยได้. ธรรม
อันดำและขาวกำลังติดกันเป็นไปเป็นคู่ ๆ (เช่นนี้) มรรคภาวนา ก็
ย่อมประกอบไปด้วยสังกิเลส ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี การ
ทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัย (การตรัสรู้
ธรรม) ก็ไม่มี. อันที่จริงมรรคภาวนามีอยู่ ฯลฯ ธรรมาภิสมัย
ก็มีอยู่.

ถามว่า เหมือนอะไร.
ตอบว่า เหมือนต้นไม้ที่ยังไม่เกิดผล ซึ่งมีมาในพระบาลี (สุต-
ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) ว่า
เสยฺยถาปิ ตรุโณ รุกฺโข ฯลฯ อปาตุภูตาเนว น ปาตุภวนฺติ
แปลว่า เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้น
ที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็จะไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย
ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันใด ฯลฯ
เหมือนอย่างว่า ต้นมะม่วงรุ่นที่มีผล มนุษย์ทั้งหลายพึงบริโภคผลทั้ง
หลายของต้นมะม่วงนั้น ผลทั้งหลายที่เหลือตกลงไปแล้วก็พึงยังต้นมะม่วงที่เกิด
ภายหลังให้สมบูรณ์ ในลำดับนั้น มนุษย์อื่นพึงเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น
ด้วยเหตุนั้น ผลทั้งหลายของต้นมะม่วงที่เป็นอดีตนั้น จึงมิได้พินาศ ผล
ทั้งหลายของต้นมะม่วงที่เป็นอนาคต และปัจจุบันก็ไม่พินาศไป เพราะว่า ผล
มะม่วงที่เป็นอนาคตเล่าก็ยังไม่เกิดขึ้น จึงมิอาจเพื่อพินาศไป แต่ในสมัยใด

ต้นมะม่วงนั้นถูกตัดขาดแล้ว ในกาลนั้น ผลมะม่วงเหล่านั้นย่อมไม่มี เพราะ
ฉะนั้น แม้ผลมะม่วงที่เป็นปัจจุบันก็ไม่พินาศไป ก็ถ้าว่า ต้นมะม่วงมิได้ถูก
ตัดไปแล้วไซร้ ผลมะม่วงเหล่าใดอาศัยรสแห่งปฐวี และรสแห่งอาโปแล้ว ก็
พึงเกิดอีก ผลมะม่วง (ต้นที่ถูกตัดแล้ว) เหล่านั้นเป็นของพินาศไปแล้ว. จริง
อยู่ ผลมะม่วงที่ยังไม่เกิดเหล่านั้นนั่นแหละย่อมไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่ปรากฏ ฉันใด
มรรคก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมละกิเลสทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น
ก็หาไม่ ย่อมไม่ละกิเลสทั้งหลายก็หาไม่ เพราะว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลาย
อันมรรคยังมิได้กำหนดรู้แล้ว ความเกิดขึ้นแห่งกิเลสเหล่าใดพึงมี
เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายอันมรรคกำหนดรู้แล้ว กิเลสที่ยังไม่เกิด
ขึ้นเหล่านั้นนั่นแหละย่อมไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่บังเกิดนั่นแหละ ย่อม
ไม่บังเกิดขึ้น ที่ยังไม่ปรากฏนั่นแหละย่อมไม่ปรากฏ.

บัณฑิตพึงชี้แจงเนื้อความนี้ ด้วยยาที่บุคคลดื่มแล้ว เพื่อการไม่เกิด
ขึ้นแห่งบุตรของหญิง หรือเพื่อความเข้าไปสงบแห่งโรคของผู้มีพยาธิก็ได้
บัณฑิตไม่พึงกล่าวว่า มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้นเป็น
อดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง มรรคย่อมไม่ละ
กิเลสทั้งหลายก็หาไม่ แต่ว่ามรรคละกิเลสเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอา
กิเลสเหล่านั้น จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ เป็นต้น.
มรรคย่อมละกิเลสอย่างเดียวก็หาไม่ อุปาทินนขันธ์เหล่าใด
พึงเกิดขึ้นเพราะความที่กิเลสทั้งหลายยังมิได้ละ มรรคย่อมละแม้
อุปาทินนขันธ์เหล่านั้นนั่นแหละด้วย.

ข้อนี้ท่านกล่าวขยายความด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ อันดับซึ่งอภิสังขาร
และวิญญาณคือ เว้นภพทั้ง 7 แล้ว อุปาทินนขันธ์เหล่าใด คือ นามและรูป
พึงเกิดขึ้นในสังสาร อันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ อุปาทินนขันธ์เหล่านั้น ย่อม
ดับไปในอธิการนี้ ฉะนั้น มรรคนั้นจึงมีอรรถอันกว้างขวาง.

ด้วยประการฉะนี้ มรรคจึงชื่อว่า ย่อมออกไปจากอุปาทินน-
ขันธ์ และ อนุปาทินนขันธ์.

แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งภพแล้ว

โสดาปัตติมรรค

ย่อมออก
ไปจากอบายภูมิ.

สกทาคามิมรรค

ย่อมออกไปจากสุคติภพบางส่วน.
อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากรูปภพและอรูปภพ.

อาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากภพทั้ง
หมดเลย ดังนี้ก็มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในขณะแห่งมรรค ภาวนาย่อม
มี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่ง
ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร. ตอบว่า ภาวนาย่อมมี เพราะความเป็น
ไปแห่งมรรคนั่นแหละ. จริงอยู่ มรรคเมื่อกำลังเป็นไป ท่านกล่าวว่า ไม่เคย
เกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคยเกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคย
เกิดแล้วในกาลก่อน. เหมือนชนทั้งหลายผู้ไปสู่ที่อันไม่เคยไป หรือเสวยอารมณ์
อันตนไม่เคยเสวยแล้ว เขาย่อมกล่าวว่า พวกเรามาแล้วสู่ที่อันไม่เคยมา หรือ
ว่า ย่อมเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวย ฉันนั้น. อนึ่ง ความเป็นไปแห่งมรรค
อันใด ชื่อว่าความตั้งมั่นก็อันนี้นั่นแหละ เพราะฉะนั้น การกล่าวว่า ย่อม
เจริญมรรคเพื่อความตั้งมั่น ดังนี้ ก็ควร.
ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค. ความเพียรของภิกษุนี้ ย่อมได้
ชื่อ 4 อย่าง ซึ่งมีคำว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺ-
มานํ อนุปาทาย เป็นอาทิ
ดังพรรณนามาฉะนี้. นี้เป็นสัมมัปปธานกถา
ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค.
ท่านชี้แจงสัมมัปปธานอันเจือด้วยโลกียะและโลกุตตระไว้ในสัมมัปป-
ธานวิภังค์นี้ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ