เมนู

ปรากฏ ชื่อว่า ย่อมให้บังเกิด ผู้ให้ฉันทะบังเกิดขึ้นด้วยความเป็น
ใหญ่ยิ่ง เพราะความไม่ท่อถอย เพราะความไม่หดหู่เป็นไป จึงชื่อ
ว่า ย่อมให้บังเกิดอย่างยิ่ง.


วิริยนิทเทส


ในนิทเทสแห่งวิริยะ พระโยคาวจรผู้ทำความเพียรอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า
ปรารภความเพียร. บทที่ 2 ท่านทำให้เจริญด้วยอุปสรรค. เมื่อทำความเพียร
อยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมเสพ ย่อมเจริญ. เมื่อทำความเพียรบ่อย ๆ ชื่อว่า
ทำให้มาก. เมื่อทำตั้งแต่ต้นเทียว ชื่อว่า ย่อมปรารภ. เมื่อทำบ่อย ๆ ชื่อว่า
ปรารภด้วยดี. เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา ชื่อว่า ย่อมเสพ. เมื่อให้
เจริญอยู่ ชื่อว่า ย่อมเจริญ. เมื่อทำสิ่งนั้นนั่นแหละในกิจทั้งปวงให้มาก พึง
ทราบว่า ย่อมกระทำให้มาก ดังนี้.

จิตตปัคคหนิทเทส


ในนิทเทสแห่งการประคองจิตไว้ พระโยคาวจรผู้ประกอบโดยการ
ประคับประคองซึ่งความเพียร ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ อธิบายว่า ยกจิต
ขึ้น. เมื่อประคับประคองจิตบ่อย ๆ ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ด้วยดี. จิตอัน
บุคคลประคับประคองไว้ด้วยดี ย่อมไม่ตกไปโดยประการใด เมื่ออุปถัมภ์ฐานะ
โดยประการนั้น โดยการอุปถัมภ์ด้วยความเพียร ชื่อว่า อุปถัมภ์อยู่ เมื่อ
อุปถัมภ์จิตแม้อันท่านอุปถัมภ์แล้วบ่อย ๆ เพื่อความมั่นคง ชื่อว่า ย่อมค้ำชู
ซึ่งจิตนั้น.
ในนิทเทสแห่งบทว่า "ฐิติยา" พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดง
ซึ่งคำไวพจน์ของคำว่าฐิติ1 (ความดำรงอยู่) แม้แห่งธรรมทั้งหมดมีความไม่-

1. คำไวพจน์ของ ฐิติ คือ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความเจริญ ความบริบูรณ์

สาบสูญเป็นต้น จึงตรัสคำว่า "ยา ฐิติ โส อสมฺโมโส" เป็นอาทิ (แปลว่า
ความดำรงอยู่ อันใด นั้น คือ ความไม่สาบสูญเป็นต้น). อันที่จริง ใน
ข้อนี้ แม้จะกล่าวว่า บทหลัง ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหน้า ๆ และ
บทหน้า ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหลัง ๆ ดังนี้ก็ควร. คำที่เหลือในที่
ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล. นี้เป็นการวรรณนาตามพระบาลีก่อน.

วินิจฉัยกถาพระบาลี


ก็พึงทราบวินิจฉัยกถาในพระบาลีต่อไป
จริงอยู่ สัมมัปปธานกถานี้ มี 2 อย่าง คือ เป็นโลกียะอย่าง
หนึ่ง เป็นโลกุตตระอย่างหนึ่ง.
ในสองอย่างนั้น สัมมัปปธานที่เป็นโลกิยะ
ย่อมมีในบุพภาคทั้งหมด. สัมมัปปธานนั้น พึงทราบในขณะที่เป็นโลกิยมรรค
โดยปริยายแห่ง กัสสปสังยุต.
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ดูก่อนอาวุโส บรรดาธรรมเหล่า
นั้น สัมปปธานนี้มี 4. สัมมัปธาน 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนอาวุโส ภิกษุ
ในศาสนานี้ ย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "อกุศล
ธรรมอันลามกของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดพึงเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยคิดว่า "อกุศล
ธรรมอันลามกของเราที่เกิดขึ้นแล้ว อันเราไม่ละเสีย ก็จะพึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียร ด้วยคิดว่า "กุศล-
ธรรมทั้งหลายของเรา ที่ยังไม่เกิด เมื่อไม่เกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความ
พินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "กุศล
ธรรมทั้งหลายของเรา ที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไป (หมายความถึงการ
เสื่อมไป) ก็จะพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้.