เมนู

คำว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่เสื่อมไป.
คำว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อความเจริญบ่อย ๆ.
คำว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์.
คำว่า ภาวนาย ได้แก่ เพื่อความเจริญ.
คำว่า ปริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.
นี้เป็นการยกอรรถอันประกอบด้วยบทเฉพาะขึ้นไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทเทสวาระแห่งสัมมัปปธาน 4 ก่อน.

วรรณนาตามพระบาลีนิทเทสวาระ


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกบทเหล่านั้น โดยลำดับ พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงทรงเริ่มนิทเทสวาระ โดยนัยว่า "กถญฺจ ภิกฺขุ อนุปฺปนฺนานํ"
เป็นอาทิ. ในนิทเทสวาระนั้น บทใด เช่นกับบทที่มีมาแล้วในธัมมสังคหะ
บทนั้น พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้ว ในการวรรณนาธัมมสังคหะ
นั้นเถิด แต่ว่า บทใดไม่มาในธัมมสังคหะนั้น พึงทราบในฉันทนิทเทสใน
พระบาลีนั้น ดังต่อไปนี้

ฉันทนิทเทส


คำว่า โย ฉนฺโท ได้แก่ ฉันทะ ด้วยความสามารถแห่งการตั้ง
ไว้ ซึ่งความพอใจ อันใด.
คำว่า ฉนฺทิกตา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะ หรือ
อาการ แห่งการกระทําฉันทะ.
คำว่า "กตฺตุกมฺมยตา" ได้แก่ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ.
คำว่า "กุสโล" ได้แก่ ผู้ฉลาด.

คำว่า "ธมฺมจฺฉนฺโท" ได้แก่ ฉันทะ อันเป็นสภาวะ.
จริงอยู่ ชื่อว่า ฉันทะนี้มีประการต่างๆมากอย่าง คือ ตัณหา-
ฉันทะ ทิฏฐิฉันทะ วิริยฉันทะ ธัมมฉันทะ.

ในฉันทะเหล่านั้น คำว่า "ธมฺมฉนฺโท" ท่านประสงค์เอาฉันทะใน
ธรรมอันเป็นกุศลของผู้ใคร่เพื่อกระทำในที่นี้.
คำว่า "อิมํ ฉนฺทํ ชเนติ" ได้แก่ ผู้ทำอยู่ซึ่งฉันทะนั่นแหละ
ชื่อว่า ย่อมยังฉันทะให้เกิด.
คำว่า "สญฺชเนติ" ได้แก่ บท (ชเนติ) นั้น ท่านเพิ่มบท
อุปสรรค.
คำว่า "อุฏฺฐาเปติ" ได้แก่ ผู้ทำฉันทะอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อม
ให้ฉันทะตั้งขึ้น.
คำว่า "สมุฏฐาเปติ" ได้แก่ บท (อุฏฺฐาเปติ) นั้น ท่านเพิ่ม
บทอุปสรรค.
คำว่า "นิพพตฺเตติ" ได้แก่ ผู้ทำฉันทะอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ย่อม
ให้ฉันทะนั้นบังเกิด.
คำว่า "อภินิพฺพตฺเตติ" ได้แก่ บท (นิพฺพตฺเตติ) นั้น ท่าน
เพิ่มบทอุปสรรค.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้ทำฉันทะนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะ
เกิด ผู้ทำฉันทะนั้นนั่นแหละให้ติดต่อกันไป ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะ
เกิดด้วยดี ผู้ยกขึ้นอีกซึ่งฉันทะอันตกไปแล้วด้วยอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะตั้งขึ้น, ผู้ยังฉันทะอันตั้งมั่นติดต่อ
กันไปให้ถึงอยู่ ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะตั้งขึ้นด้วยดี, ผู้ทำฉันทะนั้นให้

ปรากฏ ชื่อว่า ย่อมให้บังเกิด ผู้ให้ฉันทะบังเกิดขึ้นด้วยความเป็น
ใหญ่ยิ่ง เพราะความไม่ท่อถอย เพราะความไม่หดหู่เป็นไป จึงชื่อ
ว่า ย่อมให้บังเกิดอย่างยิ่ง.


วิริยนิทเทส


ในนิทเทสแห่งวิริยะ พระโยคาวจรผู้ทำความเพียรอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า
ปรารภความเพียร. บทที่ 2 ท่านทำให้เจริญด้วยอุปสรรค. เมื่อทำความเพียร
อยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมเสพ ย่อมเจริญ. เมื่อทำความเพียรบ่อย ๆ ชื่อว่า
ทำให้มาก. เมื่อทำตั้งแต่ต้นเทียว ชื่อว่า ย่อมปรารภ. เมื่อทำบ่อย ๆ ชื่อว่า
ปรารภด้วยดี. เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา ชื่อว่า ย่อมเสพ. เมื่อให้
เจริญอยู่ ชื่อว่า ย่อมเจริญ. เมื่อทำสิ่งนั้นนั่นแหละในกิจทั้งปวงให้มาก พึง
ทราบว่า ย่อมกระทำให้มาก ดังนี้.

จิตตปัคคหนิทเทส


ในนิทเทสแห่งการประคองจิตไว้ พระโยคาวจรผู้ประกอบโดยการ
ประคับประคองซึ่งความเพียร ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ อธิบายว่า ยกจิต
ขึ้น. เมื่อประคับประคองจิตบ่อย ๆ ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ด้วยดี. จิตอัน
บุคคลประคับประคองไว้ด้วยดี ย่อมไม่ตกไปโดยประการใด เมื่ออุปถัมภ์ฐานะ
โดยประการนั้น โดยการอุปถัมภ์ด้วยความเพียร ชื่อว่า อุปถัมภ์อยู่ เมื่อ
อุปถัมภ์จิตแม้อันท่านอุปถัมภ์แล้วบ่อย ๆ เพื่อความมั่นคง ชื่อว่า ย่อมค้ำชู
ซึ่งจิตนั้น.
ในนิทเทสแห่งบทว่า "ฐิติยา" พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดง
ซึ่งคำไวพจน์ของคำว่าฐิติ1 (ความดำรงอยู่) แม้แห่งธรรมทั้งหมดมีความไม่-

1. คำไวพจน์ของ ฐิติ คือ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความเจริญ ความบริบูรณ์