เมนู

คำว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่เสื่อมไป.
คำว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อความเจริญบ่อย ๆ.
คำว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์.
คำว่า ภาวนาย ได้แก่ เพื่อความเจริญ.
คำว่า ปริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.
นี้เป็นการยกอรรถอันประกอบด้วยบทเฉพาะขึ้นไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทเทสวาระแห่งสัมมัปปธาน 4 ก่อน.

วรรณนาตามพระบาลีนิทเทสวาระ


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกบทเหล่านั้น โดยลำดับ พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงทรงเริ่มนิทเทสวาระ โดยนัยว่า "กถญฺจ ภิกฺขุ อนุปฺปนฺนานํ"
เป็นอาทิ. ในนิทเทสวาระนั้น บทใด เช่นกับบทที่มีมาแล้วในธัมมสังคหะ
บทนั้น พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้ว ในการวรรณนาธัมมสังคหะ
นั้นเถิด แต่ว่า บทใดไม่มาในธัมมสังคหะนั้น พึงทราบในฉันทนิทเทสใน
พระบาลีนั้น ดังต่อไปนี้

ฉันทนิทเทส


คำว่า โย ฉนฺโท ได้แก่ ฉันทะ ด้วยความสามารถแห่งการตั้ง
ไว้ ซึ่งความพอใจ อันใด.
คำว่า ฉนฺทิกตา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะ หรือ
อาการ แห่งการกระทําฉันทะ.
คำว่า "กตฺตุกมฺมยตา" ได้แก่ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ.
คำว่า "กุสโล" ได้แก่ ผู้ฉลาด.