เมนู

ก็มี, สัมมัปปธาน 4 เป็นปีติสหคตะก็มี สัมมัปปธาน 4 เป็นนปีติสหคตะก็มี,
สัมมัปปธาน 4 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี, สัมมัปปธาน 4
เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, สัมมัปปธาน 4 เป็นนกา
มาวจร, สัมมัปปธาน 4 เป็นนรูปาวจร, สัมมัปปธาน 4 เป็นนอรูปาวจร,
สัมมัปปธาน 4 เป็นอปริยาปันนะ, สัมมัปปธาน 4 เป็นนิยยานิกะ, สัม-
มัปปธาน 4 เป็นนิยตะ, สัมมัปปธาน 4 เป็นอนุตตระ, สัมมัปปธาน 4
เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัมมัปปธานวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสัมมัปปธานวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัมมัปปธานวิภังค์ อันเป็นลำดับแห่ง
สติปัฏฐานวิภังค์ นั้นต่อไป.
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
ทรงแสดงการกำหนดสัมมัปปธานว่า มีไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น ดังนี้.
คำว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ ความเพียรที่เป็นเหตุ ความเพียรที่เป็นอุบาย
ความเพียรโดยแยบคาย.
คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระศาสนานี้.
คำว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ที่ยังไม่เกิดขึ้น.
คำว่า ปาปกานํ ได้แก่ อันลามก.

คำว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลในอรรถ
ว่าไม่ฉลาด.
คำว่า อนุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น.
คำว่า ฉนฺทํ ชเนติ ได้แก่ ย่อมยังฉันทะในกุศล กล่าวคือความ
เป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำให้เกิด คือ ให้บังเกิดขึ้น
คำว่า วายมติ ได้แก่ ย่อมทำความบากบั่นประกอบความเพียร
คำว่า วิริยํ อารภติ ได้แก่ ทำความเพียรอันเป็นไปทางกายและ
ทางจิต.
คำว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ย่อมยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอัน
เป็นสหชาตินั้น นั่นแหละ.
คำว่า ปทหติ ได้แก่ ย่อมทำความเพียรอันเป็นประธาน. อนึ่ง
บทแม้ทั้ง 4 เหล่านี้ พึงประกอบโดยการเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก
และการกระทำให้ติดต่อกันไป โดยลำดับ.
คำว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ได้แก่ บาปธรรมอันถึงซึ่งคำอัน
บุคคลไม่ควรกล่าวว่ายังไม่เกิดขึ้น.
คำว่า ปหานาย ได้แก่ เพื่อต้องการแก่การละ.
คำว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ กุศลธรรมทั้ง
หลายอันยังไม่เกิดขึ้น.
คำว่า อุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อต้องการให้เกิดขึ้น.
คำว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ บังเกิดขึ้นแล้ว.
คำว่า ฐิติยา ได้แก่ เพื่อความดำรงอยู่.

คำว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่เสื่อมไป.
คำว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อความเจริญบ่อย ๆ.
คำว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์.
คำว่า ภาวนาย ได้แก่ เพื่อความเจริญ.
คำว่า ปริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.
นี้เป็นการยกอรรถอันประกอบด้วยบทเฉพาะขึ้นไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทเทสวาระแห่งสัมมัปปธาน 4 ก่อน.

วรรณนาตามพระบาลีนิทเทสวาระ


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกบทเหล่านั้น โดยลำดับ พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงทรงเริ่มนิทเทสวาระ โดยนัยว่า "กถญฺจ ภิกฺขุ อนุปฺปนฺนานํ"
เป็นอาทิ. ในนิทเทสวาระนั้น บทใด เช่นกับบทที่มีมาแล้วในธัมมสังคหะ
บทนั้น พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้ว ในการวรรณนาธัมมสังคหะ
นั้นเถิด แต่ว่า บทใดไม่มาในธัมมสังคหะนั้น พึงทราบในฉันทนิทเทสใน
พระบาลีนั้น ดังต่อไปนี้

ฉันทนิทเทส


คำว่า โย ฉนฺโท ได้แก่ ฉันทะ ด้วยความสามารถแห่งการตั้ง
ไว้ ซึ่งความพอใจ อันใด.
คำว่า ฉนฺทิกตา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะ หรือ
อาการ แห่งการกระทําฉันทะ.
คำว่า "กตฺตุกมฺมยตา" ได้แก่ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ.
คำว่า "กุสโล" ได้แก่ ผู้ฉลาด.