เมนู

ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร,
[488] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มนัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เสมอกัน อันใด นี้เรียกว่า
จิต. ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วย
เหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.
[489] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ
เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ
ธรรมทั้งหลายทีเหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


[490] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น
อย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

[491] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?
ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ
ฉันทะให้เกิด.
บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.
บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ
ความเพียร.
บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้
บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น


[492] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญ โลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร