เมนู

เวทนานุปัสสนาเป็นต้น ก็เหมือนกัน คือ ในโสดาปัตติมรรคมี 5,000นัย.
อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรค ฉันใด แม้ในมรรคที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในกุศล
มี 20,000นัย. แต่ว่าโดยประเภทสุญญตะและอัปปณิหิตนิมิต ในวิบากเป็น
ตรีคูณจากนัยแห่งกุศลนั้น จึงเป็น 60,000 นัย นิทเทสแห่งอภิธรรมภาชนีย์มี
2 อย่าง ด้วยสามารถแห่งนิทเทสแห่งสติปัฏฐานที่เป็นกุศลและวิบาก คือ เป็น
การยังกิจของตนให้สำเร็จอย่างหนึ่ง เป็นกิจที่สำเร็จด้วยดีอย่างหนึ่งมี 10
ประเภท ด้วยสามารถแห่งนิทเทสวาระ 10 คือ ฝ่ายกุศล 5 ฝ่ายวิบาก 5 ด้วย
สามารถแห่งกายานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งสุทธิกะซึ่งประดับแล้ว
ด้วยนัย 80,000 นัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ พึงทราบความที่สติปัฏฐานเป็นกุศลเป็นต้น
โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะ สติปัฏฐานเหล่า
นั้นแม้ทั้งหมดเป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็น
อัปปมาณธรรม ไม่เป็นมัคคารัมมณะ แต่เป็นมัคคเหตุกะด้วยสามารถแห่ง
สหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรค เพราะทำวิริยะ หรือวิมังสาให้เป็น
ประธาน ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติเพราะเจริญมรรคอันกระทำฉันทะหรือ
จิตตะให้เป็นประธาน แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเหมือนกัน. ในอตีตะเป็น

ต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็นเอการัมมณะ. แต่เพราะความที่พระนิพพาน
เป็นพหิทธาธรรม จึงชื่อว่า พหิทธารัมมณะฉะนี้. สติปัฏฐาน พระผู้มีพระ-
ภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระอันสำเร็จแล้วนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้. จริงอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะและ
โลกุตตระปะปนกันไว้ในสุตตันตภาชนีย์ทั้งนั้น แต่ในอภิธรรมภาชนีย์และปัญหา
ปุจฉกะนี้ ตรัสว่าเป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้สติปัฏฐานวิภังค์นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็นำออกจำแนกแสดงแล้ว 3 ปริวรรต (คือ 3 ตอน คือ สุตตันต-
ภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ) ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
วรรณนาปัญหาปัตฉกะ จบ
อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังคนิทเทส จบ

8. สัมมัปปธานวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[465] สัมมัปปธาน 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

2. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

3. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

4. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ
ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว.

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น


[466] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร ?
ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?