เมนู

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง เพราะอรรถว่ายังกิจ
4 อย่างให้สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ในขณะแห่ง
มรรค สติปัฏฐาน 4 ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


สติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเพียงหัวข้อนัยแห่งเทศนา อันจำแนกแล้วในธัมมสังคณี แต่มิได้
ทรงตั้งไว้เป็นแบบแผน เหมือนในโลกิยสติปัฏฐานทั้งหลายมีกายเป็นต้น
เป็นอารมณ์ เพราะในอภิธรรมภาชนีย์ ทรงปรารภเทศนาด้วยสามารถแห่ง
โลกุตตรสติปัฏฐาน. พึงทราบประเภทแห่งนัย ในอภิธรรมภาชนีย์. คือ
อย่างไร ?
คือในการตั้งมั่นด้วยฌานในโสดาปัตติมรรคแห่งกายานุปัสสนา
ก่อน มี 10 นัย ด้วยสามารถแห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ 2 ในฐานะ 5
เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ
อัปปณิหิตปฏิปทา (รวมเป็นจตุกกะ 5 นัย และปัญจกะ 5 นัย). ในนัยทั้ง
หลายแม้ที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในการตั้งมั่น* 20 มี 200 นัย. 200 นัยนั้น
คูณด้วยอธิบดี 4 ก็เป็น 800นัย. นัยแม้ทั้งปวงจึงมี 1,000 นัย คือ สุทธิกนัย
200นัยและ สาธิปติ 700 นัย ด้วยประการฉะนี้. ก็ในสุทธิกสติปัฏฐาน ใน
* ในการตั้งมั่น คือ มหานัย 20 คือ ฌาน, มรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิปาท,
อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะวิปัสสนา, ธรรม, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ,
อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิตตาภินิเวส.