เมนู

อัสสาทะ ดำเนินไปสู่สมถวิถี เป็นไปโดยชอบในอารมณ์ เพราะอาศัยการปฏิบัติ
โดยชอบ สมัยนั้น มิต้องขวนขวายในการยก การข่มและในการยังจิตให้ร่าเริง
เปรียบเหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในม้าทั้งหลายที่เป็นไปดีแล้ว ฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย. ชื่อว่า การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
คือ การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา.
ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น คือการเสพ การคบ การเข้าไปซ่องเสพ
บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การน้อมจิตไปในสมาธินั้น
คือความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
แก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้. ภิกษุนั้น จึงทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้ว
อย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิ-
โสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ได้เกิด
ให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งอุเปกขา
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น อุเปกขานั่นแหละ ชื่อว่า ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 5 ประการ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ

1. ความวางเฉยในสัตว์
2. ความวางเฉยในสังขาร

3. ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร
4. ความเสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร
5. ความน้อมจิตไปในอุเปกขานั้น
บรรดาธรรมเหล่านั้น ความวางเฉยในสัตว์ ย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ 2
อย่าง คือ ด้วยการพิจารณากัมมัสสกตาอย่างนี้ว่า ตัวท่านมาด้วยกรรมของตน
แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้บุคคลอื่นนั้น ก็มาด้วยกรรมของตน
แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนเหมือนกัน ท่านรักใครกันเล่า ดังนี้ และด้วยการ
พิจารณานิสสัตตะอย่างนี้ว่า ว่าโดยปรมัตถ์ สัตว์ย่อมไม่มีเลย ท่านนั้นรักใคร
หนอ ดังนี้.
ความวางเฉยในสังขาร ย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ด้วยการ
พิจารณาความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงไป
แห่งสีโดยลำดับ และเข้าถึงความเป็นของคร่ำคร่าแล้วจะเป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ด
เท้า แล้วก็จักเป็นสิ่งที่เขาพึงเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ก็ถ้าว่า เจ้าของจีวรนั้นพึง
มีไซร้ เจ้าของนั้นก็จะไม่พึงให้จีวรนั้นพินาศไปอย่างนี้ ดังนี้ และด้วยการ
พิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของ
ชั่วคราว ดังนี้. อนึ่ง ในจีวร ฉันใด พึงกระทำการประกอบแม้ในบริขาร
ทั้งหลาย มีบาตรเป็นต้น ฉันนั้นเถิด.
ในข้อว่า ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร นี้ อธิบายว่า บุคคล
ใดเป็นคฤหัสถ์ ย่อมยึดถือบุตรธิดาเป็นต้นของตนนั่นแหละว่าเป็นของเรา หรือ
ว่าเป็นบรรพชิต ย่อมยึดถืออันเตวาสิกและอุปัชฌาย์เป็นต้นว่าเป็นของเรา
บุคคลนั้นย่อมกระทำกิจทั้งหลายมีการโกนผม การเย็บจีวร การซัก การย้อม
การรมบาตรเป็นต้นให้แด่ผู้นั้น เมื่อไม่เห็นชนเป็นที่รักนั้นแม้สักครู่หนึ่งก็คิด

ว่า สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน จะแลดูข้างโน้นข้างนี้
ราวกะว่าเนื้อสมันหันไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูอยู่ (ระวังภัย) แม้ถูกผู้อื่นขอว่า
ขอท่านส่งผู้นี้ไปเพื่อช่วยประโยชน์ในการตัดผมเป็นต้นสักครู่ ดังนี้ ก็ย่อมไม่
ให้ด้วยกล่าวว่า พวกเรายังไม่ให้เขาทำการงานแม้ของพวกเราเพื่อตน ท่านพา
เขาไปจักให้เขาลำบาก ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสัตว์.
ส่วนบุคคลใด ย่อมยึดถือสิ่งของทั้งหลายมีจีวร บาตร ถุงบาตรและ
ไม้เท้าคนแก่เป็นต้นว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมไม่ให้บุคคลอื่นแตะต้องแม้
ด้วยมือ แม้เมื่อคนอื่นขอยืมชั่วคราว ก็กล่าวว่า แม้เราก็ถนอมสิ่งนี้อยู่ไม่ใช้สอย
เราจักให้ท่านทำไมกัน ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสังขาร.
แต่ว่าบุคคลใดวางตนเป็นกลาง คือ วางเฉยในวัตถุแม้ทั้งสอง (คือสัตว์
และสังขาร) เหล่านั้น นี้ชื่อว่าความวางเฉยในสัตว์และสังขาร. อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เว้นไกลจากบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร
เห็นปานนี้บ้าง ย่อมเกิดแก่ผู้เสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขารบ้าง ย่อมเกิด
แก่ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้อุเบกขานั้นเกิดขึ้น ใน
อิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นบ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วย
อรหัตมรรค ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ จบ

ในข้อทั้งสอง (คือ นีวรณบรรพ และโพชฌงคบรรพ) แม้นี้ ท่าน
ก็กล่าวว่าเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ เทียว. โดยประการที่พรรณนามา สติปัฏฐาน
4 เหล่านี้ ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะว่าพระโยคาวจรกำหนด

ายด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนาด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดจิตด้วย
จิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่ง
โลกุตตรมรรค ย่อมได้จิตอย่างเดียวกันโดยแท้. จริงอยู่ สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา
ของพระโยคาวจรผู้กำหนดกายมาตั้งแต่ต้น ชื่อว่า กายานุปัสสนา บุคคลผู้
ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่ง
มรรคของพระโยคาวจร ผู้ขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า
กายานุปัสสนา บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุต
ด้วยวิปัสสนาของพระโยคาวจรผู้กำหนดเวทนา ผู้กำหนดจิต ผู้กำหนดธรรม
ทั้งหลายมาแล้ว ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา
บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี.
สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายวิปัสสนา
แล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา.
บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี.
เทศนาปุคคลาธิษฐาน จบเพียงเท่านี้

ก็สติอันกำหนดกาย ละวิปัลลาสในกายว่าเป็นของงาม ย่อมสำเร็จด้วย
มรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า กายานุปัสสนา. สติกำหนดเวทนา
ละวิปลาสในเวทนาว่าเป็นสุข ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น
จึงชื่อว่า เวทนานุปัสสนา. สติกำหนดจิต ละวิปลาสในจิตว่าเป็นสภาพเที่ยง
ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา. สติ
กำหนดธรรม ละวิปลาสในธรรมทั้งหลายว่าเป็นอัตตา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค
เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา. ด้วยประการฉะนี้ สติอัน

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง เพราะอรรถว่ายังกิจ
4 อย่างให้สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ในขณะแห่ง
มรรค สติปัฏฐาน 4 ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนี้.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


สติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเพียงหัวข้อนัยแห่งเทศนา อันจำแนกแล้วในธัมมสังคณี แต่มิได้
ทรงตั้งไว้เป็นแบบแผน เหมือนในโลกิยสติปัฏฐานทั้งหลายมีกายเป็นต้น
เป็นอารมณ์ เพราะในอภิธรรมภาชนีย์ ทรงปรารภเทศนาด้วยสามารถแห่ง
โลกุตตรสติปัฏฐาน. พึงทราบประเภทแห่งนัย ในอภิธรรมภาชนีย์. คือ
อย่างไร ?
คือในการตั้งมั่นด้วยฌานในโสดาปัตติมรรคแห่งกายานุปัสสนา
ก่อน มี 10 นัย ด้วยสามารถแห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ 2 ในฐานะ 5
เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ
อัปปณิหิตปฏิปทา (รวมเป็นจตุกกะ 5 นัย และปัญจกะ 5 นัย). ในนัยทั้ง
หลายแม้ที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในการตั้งมั่น* 20 มี 200 นัย. 200 นัยนั้น
คูณด้วยอธิบดี 4 ก็เป็น 800นัย. นัยแม้ทั้งปวงจึงมี 1,000 นัย คือ สุทธิกนัย
200นัยและ สาธิปติ 700 นัย ด้วยประการฉะนี้. ก็ในสุทธิกสติปัฏฐาน ใน
* ในการตั้งมั่น คือ มหานัย 20 คือ ฌาน, มรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิปาท,
อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะวิปัสสนา, ธรรม, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ,
อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิตตาภินิเวส.