เมนู

อัสสาทะ ดำเนินไปสู่สมถวิถี เป็นไปโดยชอบในอารมณ์ เพราะอาศัยการปฏิบัติ
โดยชอบ สมัยนั้น มิต้องขวนขวายในการยก การข่มและในการยังจิตให้ร่าเริง
เปรียบเหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในม้าทั้งหลายที่เป็นไปดีแล้ว ฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย. ชื่อว่า การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
คือ การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา.
ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น คือการเสพ การคบ การเข้าไปซ่องเสพ
บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การน้อมจิตไปในสมาธินั้น
คือความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
แก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้. ภิกษุนั้น จึงทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้ว
อย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิ-
โสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ได้เกิด
ให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งอุเปกขา
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น อุเปกขานั่นแหละ ชื่อว่า ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 5 ประการ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ

1. ความวางเฉยในสัตว์
2. ความวางเฉยในสังขาร