เมนู

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น. การพิจารณากัมมัสสกตาทั้งของตนเองและ
ของผู้อื่น ท่านเรียกว่า การประกอบความเพียรปานกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดด้วยความเพียรอันปานกลางนั้น. บุคคลใดเบียดเบียนผู้อื่นด้วยท่อนไม้
เป็นต้นเที่ยวไป แม้เว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่ายเห็นปานนี้ ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น. แม้เสพบุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ผู้มีมือและเท้าอัน
สำรวมแล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น
แม้แก่ผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้ปัสสัทธิเกิดในอิริยาบถทั้งหลาย
มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

สมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต
อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น นี้
เป็นอาหารเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ใน
ข้อนั้น สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าสมถนิมิต และชื่อว่า อัพยัคคนิมิต เพราะอรรถ
ว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

1. การทำวัตถุให้สะอาด
2. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
3. ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต
4. ความยกจิตในสมัย

5. ความข่มจิตในสมัย
6. ความให้จิตร่าเริงในสมัย
7. ความวางจิตเฉยในสมัย
8. ความเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
9. การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
10. การพิจารณาฌานวิโมกข์
11. ความน้อมจิตไปในสมาธินั้น
ในธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด และการปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ความเป็นผู้ฉลาด
ในการเรียนกสิณนิมิตชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต. ข้อว่าความยกจิตในสมัย
ใด จิตหดหู่ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น สมัยนั้น ต้องยกจิตนั้น
ให้ตั้งขึ้นด้วยธัมมวิจยะ วิริยะ และปีติสัมโพชฌงค์. ข้อว่า การข่มจิตในสมัย
คือ ในสมัยใด จิตฟุ้งซ่านด้วยความปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัย
นั้นต้องข่มจิตนั้นให้ตั้งขึ้นด้วยปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อว่า
ความให้จิตร่าเริงในสมัย คือ ในสมัยใด ไม่มีอัสสาทะ (คือไม่มีความชอบใจ)
เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันอ่อน หรือเพราะไม่บรรลุความสุขอัน
เกิดแต่ความเข้าไปสงบ สมัยนั้น ต้องให้จิตสังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ
8 ประการ. ชื่อว่า สังเวควัตถุ 8 คือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ รวมเป็น
4 อปายทุกข์เป็นที่ 5 วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีตเป็นที่ 6 วัฏฏมูลกทุกข์ในอนาคต
เป็นที่ 7 อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์ในปัจจุบันเป็นที่ 8. และยังความเลื่อมใสให้
เกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย นี้ท่านเรียกว่า การยังจิตให้ร่าเริงในสมัย.
ชื่อว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย คือ ในสมัยใด จิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มี

อัสสาทะ ดำเนินไปสู่สมถวิถี เป็นไปโดยชอบในอารมณ์ เพราะอาศัยการปฏิบัติ
โดยชอบ สมัยนั้น มิต้องขวนขวายในการยก การข่มและในการยังจิตให้ร่าเริง
เปรียบเหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในม้าทั้งหลายที่เป็นไปดีแล้ว ฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย. ชื่อว่า การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
คือ การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา.
ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น คือการเสพ การคบ การเข้าไปซ่องเสพ
บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การน้อมจิตไปในสมาธินั้น
คือความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น
แก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้. ภิกษุนั้น จึงทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้ว
อย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิ-
โสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ได้เกิด
ให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งอุเปกขา
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น อุเปกขานั่นแหละ ชื่อว่า ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 5 ประการ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ

1. ความวางเฉยในสัตว์
2. ความวางเฉยในสังขาร