เมนู

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น. การพิจารณากัมมัสสกตาทั้งของตนเองและ
ของผู้อื่น ท่านเรียกว่า การประกอบความเพียรปานกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดด้วยความเพียรอันปานกลางนั้น. บุคคลใดเบียดเบียนผู้อื่นด้วยท่อนไม้
เป็นต้นเที่ยวไป แม้เว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่ายเห็นปานนี้ ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น. แม้เสพบุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ผู้มีมือและเท้าอัน
สำรวมแล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น
แม้แก่ผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้ปัสสัทธิเกิดในอิริยาบถทั้งหลาย
มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิด
ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

สมาธิสัมโพชฌงค์


สมาธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต
อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น นี้
เป็นอาหารเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ใน
ข้อนั้น สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าสมถนิมิต และชื่อว่า อัพยัคคนิมิต เพราะอรรถ
ว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

1. การทำวัตถุให้สะอาด
2. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
3. ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต
4. ความยกจิตในสมัย