เมนู

อุทธัจจะ และรักษาจิตมิให้ตกไปสู่โกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง
โกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้นพระโยคาวจรพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือน
การปรุงรสด้วยเกลือในกับข้าวทั้งปวง และเหมือนอำมาตย์ผู้ทำงานทั้งปวงใน
ราชกิจทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นคุณธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
เพราะเหตุไร เพราะ
จิตมีสติเป็นที่พึ่ง และมีสติเป็นเครื่องบำรุงรักษา เว้นจากสติแล้วการยกและการ
ข่มจิตก็หามีไม่ แล.
การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาไม่ดี คือไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภท
แห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การคบบุคคลผู้
ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญาอันกำหนดเอาซึ่งลักษณะแห่งปัญญาดี ชื่อว่า การ
เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งธรรมอันลึกซึ้งเป็นไปในขันธ์
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ชื่อว่า การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง. ความ
เป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นใน
อิริยาบถทั้งหลาย ชื่อว่า ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์
ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์


วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อให้วิริยสัมโพช-
ฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว"
ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ คือ

1. การพิจารณาภัยในอบาย
2. ความเป็นผู้เห็นอานิสงส์ของความเพียร
3. การพิจารณาวิถีเป็นที่ดำเนินไป
4. การประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต
5. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความเป็นทายาท
6. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งพระศาสดา
7. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติ
8. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งสพรหมจารี
9. การเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
10. การเสวนากับบุคคลผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้ว
11. ความน้อมจิตไปในวิริยะนั้น
ในข้อเหล่านั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาอยู่
ซึ่งภัยในอบายอย่างนี้ ว่า "ในคราวที่เสวยทุกข์ใหญ่จำเดิมแต่กรรมกรณ์ด้วย
เครื่องจองจำ 5 อย่างในนรกทั้งหลายก็ตาม ในคราวที่ถูกจับด้วยแหเครื่องซัด
ไปและไซเป็นต้น ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานก็ตาม ในคราวที่เป็นสัตว์นำเกวียน
ไปถูกเขาทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักและหนามแหลมเป็นต้นก็ตาม ใน
คราวที่เป็นผู้อาดูรด้วยความหิวระหายตลอดพันปีเป็นอเนกบ้าง ตลอด
พุทธันดรหนึ่งบ้างก็ตาม ในคราวที่เสวยทุกข์มีลมแดดเป็นต้น ด้วยอัตภาพ
มีเพียงกระดูกและหนัง มีอัตภาพสูงใหญ่ประมาณ 10 ศอก 80 ศอก ในพวก
อสูรชื่อกาฬกัญชิกาก็ตาม ไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดได้ ดูก่อนภิกษุ
กาลนี้นั่นแหละเป็นกาลสมควรของเธอ เพื่อกระทำความเพียร" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์อย่างนี้ ว่า
"ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้โลกุตรธรรม 9 ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วเท่า
นั้นอาจเพื่อได้ นี้เป็นอานิสงส์ของความเพียร" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาวิถีแห่งการดำเนินไป
อย่างนี้ ว่า "พระโยคาวจรนั้น พึงดำเนินไปตามทางที่พระสัมพุทธะ พระ-
ปัจเจกพุทธะ และพระมหาสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าดำเนินไปแล้วนั่น
แหละ เพราะทางนี้ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อดำเนินไปได้" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความประพฤติเอื้อเฟื้อต่อ
บิณฑบาตอย่างนี้ ว่า "ชนเหล่าใดย่อมบำรุงท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์
เหล่านั้น มิใช่ญาติมิใช่ทาสกรรมกรของท่าน ทั้งมิได้ให้บิณฑบาตเป็นต้น
อันประณีตแก่ท่านด้วยการคิดว่า พวกเราอาศัยท่านเป็นอยู่ ดังนี้ ที่แท้เขาหวัง
ซึ่งผลอันใหญ่แห่งการกระทำของตนอยู่จึงให้ แม้พระศาสดา ก็ไม่ทรงอนุญาต
ปัจจัยทั้งหลายแก่ท่านเพราะพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้
แล้วจักเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นสุข ดังนี้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัย
ทั้งหลายแก่ท่าน ด้วยทรงประสงค์ว่า ภิกษุนี้ บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้ว กระ
ทำสมณธรรม แล้วจักพ้นจากวัฏฏทุกข์ ดังนี้ บัดนี้ ท่านนั้นเกียจคร้านอยู่
ไม่ประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาตนั้น เพราะภิกษุผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้วเท่า
นั้น ชื่อว่า มีการประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต" ดังนี้. ในข้อนี้มีเรื่องพระ-
เถระชื่อว่ามหามิตตะเป็นนิทัสสนะ.
ได้ยินว่า พระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำ (ที่กำบัง) ของชาวนา ก็ในบ้าน
เป็นที่โคจรของท่าน อุบาสิกาคนหนึ่งปฏิบัติบำรุงพระเถระเสมือนบุตร วัน
หนึ่งอุบาสิกานั้นเมื่อจะไปป่า จึงสั่งธิดาว่า " ลูกแม่ ข้าวสารเก่าอยู่ในที่โน้น

น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่ที่ตรงโน้น เจ้าจงหุงภัตพร้อมด้วยน้ำนมเนยใส
และน้ำอ้อยถวายในเวลาที่พระผู้เป็นเจ้ามิตตะพี่ชายของเจ้ามา แล้วเจ้าจง
บริโภค " ดังนี้. ธิดากล่าวว่า " ก็แม่เล่า จะบริโภคอะไร. " อุบาสิกากล่าวว่า
" เมื่อวานนี้ ปาริวาสิกภัต ( ข้าวที่หุงสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส) เหลืออยู่ แม่
จะบริโภคภัตนั้นกับน้ำผักดอง." ธิดากล่าวว่า "กลางวันแม่จะบริโภคอะไร."
มารดากล่าวว่า " เจ้าจงเอาใบผักใส่เข้าไปแล้วหุงข้าวต้มมีรสเปรี้ยวด้วยข้าว
ปลายเกรียน (ข้าวสารแหลก ๆ) แล้วตั้งไว้เถิดแม่" ดังนี้. พระเถระห่มจีวร
นำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้น จึงโอวาทตนเองว่า "ได้ยินว่า มหาอุบาสิกา
จะกินปาริวาสิกภัตด้วยน้ำผักดอง แม้กลางวันก็จะกินข้าวต้มรสเปรี้ยวด้วยใบผัก
แต่ว่าอุบาสิกาบอกข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ก็มหาอุบาสิกานั้น
แล มิได้หวังนา สวน ข้าวและวัตถุ เพราะอาศัยท่านเลย แต่เขาปรารถนาอยู่
ซึ่งสมบัติ 3 (คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงให้ ท่าน
จักอาจเพื่อให้สมบัติเหล่านั้นแก่เขาหรือไม่ ก็แลบิณฑบาตนี้ ท่านยังมีราคะ
โทสะ โมหะ ไม่ควรจะกิน" ครั้นโอวาทตนแล้ว ก็เก็บถุงบาตรปลดลูกดุม
(ที่จีวร) กลับเข้าไปสู่ถ้ำชาวนานนั้นแหละ แล้ววางบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวร
ไว้ที่ราวจีวรแล้วนั่งอธิษฐานความเพียรว่า "เรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว
จักไม่ออกไป"
ดังนี้เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลนาน เป็นภิกษุผู้มั่นคงแล้ว
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในเวลาก่อนภัตทีเดียว เป็นพระขีณาสพผู้
เบิกบานนั่งอยู่ ราวกะดอกปทุมแย้มบานอยู่ฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้
ประตูถ้ำชาวนา เปล่งอุทานว่า

ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ข้าพเจ้าขอ
นอบน้อมท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมท่าน ข่าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใด
หมดอาสวะแล้ว ผู้นั้นเป็นทักขิเณยยบุคคล

ดังนี้.
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์ผู้เช่นกับท่าน
ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้. พระเถระลุกขึ้นแล้วเปิดประตู
ออกไปตรวจดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้าน. แม้
ทาริกาเตรียมอาหารเสร็จแล้ว ก็เปิดประตูนั่งแลดูอยู่ด้วยคิดว่า "บัดนี้ พี่ชาย
ของเราจักมา". เมื่อพระเถระมาถึงประตูบ้าน ทาริกานั้น จึงรับบาตรแล้วทำ
ให้เต็มด้วยข้าวเจือด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย แล้วจึงวางไว้บนมือ
ของพระเถระ พระเถระกระทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นสุขเถิด" แล้วหลีกไป
แม้ทาริกานั้น ก็ยืนแลดูพระเถระอยู่ ในเวลานั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์
งามยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายผุดผ่องไพโรจน์ยิ่ง เป็นราวกะว่าผลตาลสุกที่หลุด
จากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า จึงถามธิดาว่า "ลูกแม่ พี่ชายของ
เจ้ามาแล้วหรือ" ธิดานั้นได้บอกความเป็นไปทั้งปวงนั้น มหาอุบาสิกาทราบว่า
วันนี้กิจแห่งบรรพชิตแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า "ลูกแม่ พี่ชาย
ของเจ้าจะไม่เดือนร้อนในพระพุทธศาสนา" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความ
เป็นทายาท (คือผู้รับมรดก) ว่า ชื่อว่า มรดกของพระศาสดา คืออริย-
ทรัพย์นั้นยิ่งใหญ่แล
มรดกนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้ เหมือนอย่าง
ว่า บิดามารดา ทำบุตรผู้ปฏิบัติผิดให้มีในภายนอกว่า "ผู้นี้มิใช่บุตรของ
เรา"
บุตรนั้นย่อมไม่ได้มรดกโดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดามารดา ฉันใด

แม้ผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้มีความเพียรอัน
ปรารภแล้วนั่นแหละ จึงจะได้" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่ของ
พระศาสดาอย่างนี้ "ก็พระศาสดาของท่านยิ่งใหญ่ยิ่งนัก แม้หมื่นโลกธาตุก็
หวั่นไหว ในเวลาที่พระศาสดาของท่านทรงถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาแม้
ในเวลาออกทรงผนวช แม้ในเวลาตรัสรู้ ในเวลาทรงแสดงธรรมจักร ในเวลา
ทำยมกปาฏิหาริย์ ในการเสด็จลงจากเทวโลก ในการปลงพระชนนายุสังขาร แม้
ในการปรินิพพานเล่า หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว การที่ท่านบวชในพระศาสนา
ของพระศาสดาเห็นปานนี้แล้วเป็นผู้เกียจคร้าน ควรแล้วหรือ ดังนี้.
วิริยสัมโพฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติอย่าง
นี้ ว่า "แม้ว่าโดยชาติ บัดนี้ท่านไม่เป็นผู้มีชาติลามก คือประสูติในราชวงศ์ของ-
พระเจ้าโอกากราชซึ่งเป็นมาโดยมหาสมมตวงศ์ อันไม่แตกแยกกัน (ตัวท่านก็
นับว่า) เป็นราชนัดดาของพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราช และพระมหามายาเทวี
เป็นน้องของพระราหุลผู้เจริญ การที่ท่านเป็นราชบุตรเห็นปานนั้นแล้ว เป็น
ผู้เกียจคร้านอยู่ สมควรแล้วหรือ" ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่ง
สพรหมจารี (เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์) อย่างนี้ว่า "พระสารีบุตร พระ-
โมคคัลลานะ และพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย แทงตลอดโลกุตตรธรรมได้ด้วย
ความเพียรเท่านั้น ตัวท่านจะดำเนินไปตามทางของสพรหมจารีเหล่านั้น หรือ
ไม่" ดังนี้.
เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน คือสละความเพียรทางกายและทางใจ เช่น
กับงูเหลือมกินแล้วก็นอนก็ดี เมื่อเสพบุคคลผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีตน

ส่งไปแล้วก็ดี มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้วิริยะเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้นก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. ภิกษุนั้น ย่อม
ทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธอย่อมเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัต-
มรรค ดังนี้.

ปีติสัมโพชฌงค์


ปีติสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง
หลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว" ดังนี้.
ในข้อนั้น ปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรนเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
การทำไว้ในใจเพื่อให้ปีตินั้นเกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปีติสัมโพชฌงค์ คือ

1. พุทธานุสสติ
2. ธัมมานุสสติ
3. สังฆานุสสติ
4. ลีลานุสสติ
5. จาคานุสสติ
6. เทวตานุสสติ
7. อุปสมานุสสติ
8. การเว้นบุคคลผู้ (มีจิต) เศร้าหมอง