เมนู

อุทธัจจะ และรักษาจิตมิให้ตกไปสู่โกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง
โกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้นพระโยคาวจรพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือน
การปรุงรสด้วยเกลือในกับข้าวทั้งปวง และเหมือนอำมาตย์ผู้ทำงานทั้งปวงใน
ราชกิจทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นคุณธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
เพราะเหตุไร เพราะ
จิตมีสติเป็นที่พึ่ง และมีสติเป็นเครื่องบำรุงรักษา เว้นจากสติแล้วการยกและการ
ข่มจิตก็หามีไม่ แล.
การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาไม่ดี คือไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภท
แห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การคบบุคคลผู้
ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญาอันกำหนดเอาซึ่งลักษณะแห่งปัญญาดี ชื่อว่า การ
เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งธรรมอันลึกซึ้งเป็นไปในขันธ์
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ชื่อว่า การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง. ความ
เป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นใน
อิริยาบถทั้งหลาย ชื่อว่า ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์
ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์


วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อให้วิริยสัมโพช-
ฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว"
ดังนี้.