เมนู

ยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มาก ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์นั้น
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์ คือ

1. สติสัมปชัญญะ
2. ความเว้นจากบุคคลผู้หลงลืมสติ
3. การเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
4. ความเป็นผู้น้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น
จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานะทั้ง
7 มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการเว้นบุคคลผู้หลงลืมสติเช่นกับในเรื่อง
พนักงานคลังแห่งภัต ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นกับด้วยพระติสสทัตต-
เถระ และพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อ
ให้สติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่ง เป็นต้น. ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยเหตุ 4 อย่างนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วย
อรหัตมรรค ดังนี้.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์


ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ อันเปรียบด้วยธรรมดำ
และธรรมขาวมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้
เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
หรือว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

1. การสอบถาม
2. การทำวัตถุให้สะอาด
3. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
4. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม
5. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี
6. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง
7. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น
บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้
มากด้วยการสอบถามอันอาศัยอรรถ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา.
ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด ได้แก่ การทำวัตถุทั้งภายในและ
ภายนอกให้สะอาด. เพราะว่าเมื่อใด ผม เล็บ ขนทั้งหลายของเธอยาว หรือ
ว่า ร่างกายของเธอมีโทษมาก เปื้อนด้วยเหงื่อไคล เมื่อนั้น ชื่อว่าวัตถุภาย
ในไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์. ก็เมื่อใด จีวรของเธอเก่าคร่ำคร่ามีกลิ่นเหม็น
หรือว่า เสนาสนะสกปรกรกรุงรัง เมื่อนั้น ชื่อว่าวัตถุภายนอกไม่สะอาด.
ไม่บริสุทธิ์. ฉะนั้น เธอพึงทำวัตถุภายในให้สะอาด โดยการโกนผมเป็นต้น
ด้วย โดยการทำสรีระให้เบาด้วยการชำระเบื้องบน (สระศีรษะ) ชำระเบื้องต่ำ
(การถ่ายท้อง) เป็นต้นด้วย โดยการอาบน้ำลูบไล้ร่างกายด้วย. พึงทำวัตถุ
ภายนอกมีการเย็บ การซัก การย้อม และของใช้เป็นต้นให้สะอาด เพราะว่า
เมื่อวัตถุภายในและภายนอกอย่างหนึ่งไม่สะอาด แม้ญาณอันดี ในจิตและ

เจตสิกอันดี ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแสงสว่างของเปลวประทีป
อันเกิดขึ้น เพราะอาศัย ไส้ และน้ำมันแห่งโคมประทีป ฉะนั้น. แต่เมื่อวัตถุ
ภายในและภายนอกสะอาด ญาณอันดีในจิตเจตสิกอันดี ก็แจ่มแจ้งบริสุทธิ์
เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเปลวประทีปอันเกิดขึ้น เพราะอาศัย ไส้ และน้ำ
มันแห่งประทีปฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การทำ
วัตถุให้สะอาด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ดังนี้.

การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่า การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน. ก็ถ้าว่า สัทธินทรีย์ของเธอกล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน
ไซร้
ทีนั้น วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ เพียรประคอง (ปคฺคหกิจฺจํ),
สตินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การตั้งมั่น (อุปฏฺฐานกิจฺจํ), สมาธินทรีย์ ก็
ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน (อวิกฺเขปนกิจฺจํ), ปัญญินทรีย์ ก็ไม่อาจ
ทำหน้าที่ คือ การเห็น (ทสฺสนกิจฺจํ), เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์มีกำลัง
กล้า ก็พึงให้ลดลงด้วยการพิจารณาสภาวธรรม
หรือว่า เมื่อมนสิการ
โดยประการใด สัทธินทรีย์มีกำลัง ก็พึงให้ลดลงโดยไม่มนสิการ โดยประการ
นั้น. ในข้อนี้มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นอุทาหรณ์. ก็ถ้าว่า วิริยินทรีย์มี
กำลังไซร้ ทีนั้น สัทธินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ น้อมใจเชื่อ (อธิโมกฺข-
กิจฺจํ
) อินทรีย์นอกนั้น ก็ไม่อาจทำหน้าที่อันต่างด้วยหน้าที่นอกนี้ (คือไม่ทำ
หน้าที่ของตน ๆ) เพราะฉะนั้น พึงให้วิริยินทรีย์นั้นลดลง โดยการเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. แม้ในข้อนี้ ก็พึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระ
เป็นนิทัสสนะ. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ก็ฉันนั้น คือ เมื่ออินทรีย์หนึ่งมีกำลัง
ก็พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ ไม่สามารถในหน้าที่ควรทำของตน.

ก็ว่าโดยพิเศษในที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความเสมอกันแห่ง
ศรัทธากับปัญญา และแห่งสมาธิกับวิริยะ เพราะว่า บุคคลมีศรัทธากล้าแต่
ปัญญาอ่อน ย่อมเป็นผู้เลื่อมใสอันเปล่า คือ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่มิใช่วัตถุ
(วัตถุคือพระรัตนตรัย). บุคคลมีปัญญากล้าแต่ศรัทธาอ่อน ย่อมซ่องเสพพวก
คนคดโกง ย่อมเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ เป็นราวกะว่าโรคที่กล้าอันเกิดแต่ยารักษา
ไม่ได้ฉะนั้น คือมีสักว่าจิตตุปบาทนั่นแหละแล่นไปว่าเป็นกุศล แต่ไม่ทำบุญ
ทั้งหลายมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. แต่เพราะความที่อินทรีย์ทั้งสองเสมอ
กัน เขาจึงเลื่อมใสในวัตถุ (คือพระรัตนตรัย) ทีเดียว. อนึ่ง โกสัชชะย่อม
ครอบงำบุคคลผู้มีสมาธิกล้ามีวิริยะอ่อน เพราะความที่สมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง
โกสัชชะ. อุทธัจจะย่อมครอบงำบุคคลผู้มีวิริยะกล้ามีสมาธิอ่อน เพราะความที่
วิริยะเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ. แต่สมาธิอันวิริยะประกอบดีแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อ
อันตกไปในโกสัชชะ. วิริยะอันสมาธิประกอบดีแล้ว ก็ย่อมไม่ได้เพื่ออันตกไป
ในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงทำอินทรีย์แม้ทั้งสองนั้น ให้
เสมอกัน ด้วยว่าอัปปนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งสอง.
อีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาแม้มีกำลัง ก็ย่อมควรสำหรับสมาธิกัมมิกบุคคล
(ผู้บำเพ็ญสมาธิ) คือ เมื่อบุคคลนั้นเชื่อมั่นอยู่อย่างนั้นจักบรรลุอัปปนาได้. แต่
ในสมาธิและปัญญา เอกัคคตามีกำลังจึงควรแก่สมาธิกัมมิกบุคคล เพราะเขา
จักบรรลุอัปปนาได้ด้วยอาการอย่างนั้น. ก็สำหรับวิปัสสนากัมมิกบุคคล (ผู้
บำเพ็ญวิปัสสนา) ปัญญามีกำลังจึงควร เพราะเขาจะถึงการแทงตลอด
ลักษณะได้ด้วยอาการอย่างนั้น. แต่เพราะสมาธิและปัญญาทั้งสองเสมอกัน อัปปนา
จึงมีได้โดยแท้. ส่วนสติมีกำลังในที่ทั้งปวงจึงควร เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตมี
ให้ตกไปสู่อุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งศรัทธา วิริยะและปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่ง

อุทธัจจะ และรักษาจิตมิให้ตกไปสู่โกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง
โกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้นพระโยคาวจรพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือน
การปรุงรสด้วยเกลือในกับข้าวทั้งปวง และเหมือนอำมาตย์ผู้ทำงานทั้งปวงใน
ราชกิจทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นคุณธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
เพราะเหตุไร เพราะ
จิตมีสติเป็นที่พึ่ง และมีสติเป็นเครื่องบำรุงรักษา เว้นจากสติแล้วการยกและการ
ข่มจิตก็หามีไม่ แล.
การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาไม่ดี คือไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภท
แห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การคบบุคคลผู้
ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญาอันกำหนดเอาซึ่งลักษณะแห่งปัญญาดี ชื่อว่า การ
เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งธรรมอันลึกซึ้งเป็นไปในขันธ์
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ชื่อว่า การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง. ความ
เป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นใน
อิริยาบถทั้งหลาย ชื่อว่า ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์
ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์


วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อให้วิริยสัมโพช-
ฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว"
ดังนี้.