เมนู

วัฏฏภัยได้ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้น ก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้เดินได้
คนเดียว แล้วปล่อยเท้าสำหรับเหยียบ มัวแลดูข้างโน้นข้างนี้พลัดตกลงไป ถึง
ความเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงมนสิการ
เกสาทั้งหลาย ครั้นมนสิการเกสาทั้งหลายแล้ว ก็จะห้ามมิให้จิตตุปบาทฟุ้ง
ไปภายนอก โดยจิตอันหมดจดอยู่นั่นแหละ พึงมนสิการต่อไปว่า โลมา นขา
ทนฺตา ตโจ
เมื่อมนสิการอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมก้าว
ล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมานั้นนั่นแหละ


ให้เป็นไปโดยสิ้นเชิง


พึงทราบว่า การที่ภิกษุผู้ฉลาด มนสิการผมทั้งหลาย ห้ามมิให้
จิตตุปบาทฟุ้งไปในภายนอกแล้ว ด้วยจิตอันหมดจดนั่นแหละ พึงมนสิการอยู่
ซึ่งคำว่า โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ดังนี้ ไม่ให้เสื่อมจากกรรมฐาน จึง
ก้าวล่วงวัฏฏะภัยได้ เปรียบเหมือน การที่บุรุษผู้ฉลาด ยังบุคคลให้ชำระหนี้
หนึ่งพันได้กำไรแล้วก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้ ระมัดระวังเครื่องนุ่งห่ม กระทำ
ธาตุ คือ กายให้ทะมัดทะแมงไปจนถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี. แม้เมื่อเธอ
ห้ามความฟุ้งซ่านไปในภายนอกอย่างนี้แล้ว พึงมนสิการ โดยการก้าวล่วง
บัญญัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. คือ พึงปล่อยบัญญัติว่า
เกสา โลมา เสีย แล้วตั้งสติว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ดังนี้. ก็กรรมฐานแรกนั้น
แหละยังมิได้ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล ตราบใดกรรมฐานยังมิได้ปรากฏโดย
ความเป็นปฏิกูล ก็ไม่พึงสละบัญญัติก่อน. กาลใด กรรมฐานปรากฏโดยความ
เป็นปฏิกูล กาลนั้น พึงสละบัญญัติ มนสิการซึ่งคำว่า ปฏิกูล ดังนี้. ก็ภิกษุ