เมนู

กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ 6 (156)


ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม


[158] มีภูเขาชื่อกุกกุฏะอยู่ในที่ไม่ไกลแต่ภูเขาหิมวันต์ พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า 7 พระองค์อยู่ใกล้เชิงภูเขานั้น.

เราเห็นต้นกระทุ่มมีดอกบาน ดังพระจันทร์ขึ้นไปใน
ท้องฟ้า จึงประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้ง 7 พระองค์.

ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ในกัปที่ 92 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 7 ครั้ง
ทรงพระนามว่าปุปผะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพละ
มาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกทัมพปุปผิยเถราปทาน

156. อรรถกถากทัมพปุปผิยเถราปทาน


อปทานของท่านพระกทัมพปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺ-
ตสฺสาวิทูเร
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ เมื่อโลกกำลังสูญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน มองเห็นโทษ
ในการอยู่ครองเรือนนั้น จึงละเพศฆราวาสบวชเป็นดาบส สร้างอาศรมอยู่
ที่ภูเขาชื่อว่า กุกกุฏะ ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เขาได้พบเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
7 พระองค์ในสถานที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส เลือกเก็บเอาดอกกระทุ่มที่
บานแล้วมาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น ก็ได้กระทำอนุโมทนาแล้วด้วยดีว่า อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ดังนี้
เป็นต้น.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือน
อันมีสกุลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึก
ถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราว
ที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺ-
สาวิทูเร
ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า
กุกฺกุโฏ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่เรียกกันว่า กุกกุฏะ เพราะยอด
ภูเขาทั้งหลายมีลักษณะคล้ายกับหงอนไก่ ตรงที่ข้างทั้งสองของภูเขานั้น.