เมนู

อนุโลมทายกเถราปทานที่ 6 (146)


ว่าด้วยผลแห่งการกระทำไพรทีที่โพธิพฤกษ์


[148] เราได้ทำไพรทีที่โพธิพฤกษ์แห่งพระมุนีพระนามว่าอโนม-
ทัสสี เราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว ได้ทำกรรมด้วยมือตนเอง.

พระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้อุดมกว่านระ ทอด
พระเนตรเห็นกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น ประทับอยู่ในท่าม-
กลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ด้วยกรรม คือ การ
ใส่ปูนขาวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้จะได้เสวยสมบัติ
แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้.

เราเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส มีอารมณ์เดียว มีจิตมั่นคง ทรงกาย
อันมีในที่สุดไว้ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกัปที่ 100 แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
พระนามว่าสัมปัสสนะ1 บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอนุโลมทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอนุโลมทายกเถราปทาน
1. ม. อิ. สัพพัคฆนะ.

146. อรรถกถาอนุโลมทายกเถราปทาน


อปทานของท่านพระอนุโลมทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนม-1
ทสฺสีมุนิโน
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น
ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี
ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ได้
ให้ช่างทำวงกลมแท่นบูชาที่ต้นโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
และให้ทำการโบกฉาบด้วยปูนขาว ให้ทำการเกลี่ยทรายจนเสมอแน่น
คล้ายกับวิมานเงินฉะนั้น. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ประสบแต่ความสุข
ในทุกภพที่เกิดแล้ว ได้เสวยความสุขในวิมานเงิน เรือนเงิน และปราสาท
เงินจำนวนมาก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นาน
นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกได้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณตามลำดับ
ว่า เราได้ถึงคุณวิเศษนี้ได้เพราะทำกุศลอะไรไว้หนอ ดังนี้ แล้วรู้ถึงกุศล
ที่ตนกระทำไว้ในกาลก่อน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง
ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อโน-
มทสฺสีมุนิโน
ดังนี้. ในบทนั้นมีอรรถวิเคราะห์ว่า การเห็นที่ไม่ต่ำทราม
ไม่ลามก คือเป็นสรีระที่น่าดูน่าชม มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า อโนมทสฺสี, อธิบายว่า
1. บาลีว่า อโนมทสฺสิสฺส มุนิโน.