เมนู

ภิกขทายิวรรคที่ 11


ภิกขทายกเถราปทานที่ 1 (101)


ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง


[103] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง สมควร
รับเครื่องบูชา เสด็จออกจากป่าอันสงัด จากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัดมาสู่ความดับ จึงถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แด่พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีปัญญา ผู้สงบระงับ ผู้แกล้วกล้า
มาก ผู้คงที่.

เราตามเสด็จพระองค์ ผู้ทรงยังมหาชนให้ดับ เรามีความ
ยินดีเป็นอันมาก ในพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.

ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษา.

ในกัปที่ 87 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 7 ครั้ง มี
พระนามเหมือนกันว่ามหาเรณุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7
ประการ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภิกขทายกเถระได้กล่าวคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบภิกขทายกเถราปทาน

ภิกขทายิวรรคที่ 11


101. อรรถกถาภิกขาทายกเถราปทาน

1

อปทานของท่านพระภิกขาทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ
สมพุทฺธํ
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ เกิดศรัทธา
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ออกจากวิหารเสด็จเที่ยว
บิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใสได้ถวายอาหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
อาหารนั้นแล้ว ตรัสอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยกุศลนั้นนั่นแล
ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในที่สุดแห่งอายุ บังเกิดในเทวโลก เสวย
กามาวจรสมบัติ 6 ชั้นในเทวโลกนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
เรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทฺธํ
ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า ปวรา อภินิกขนฺตํ
ความว่า ชื่อว่า ปวระ เพราะพึงยินดี คือพึงปรารถนา อธิบายว่า
ออกจากที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ คือจากที่อันเป็นที่สงัดโดยพิเศษ. ตัณหา
ท่านเรียกว่า วานะ ในบทว่า วานา นิพฺพานมากตํ นี้ ชื่อว่า นิพพาน
1. บาลีว่า ภิกขทายกเถราปทาน.