เมนู

ปัจจาคมนิยเถราปทานที่ 3 (63)


ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกสาหร่าย


[65] ในกาลนั้น เราเป็นนกจักรพรากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสินธุ เรามี
สาหร่ายล้วน ๆ เป็นภักษา และสำรวมดีในสัตว์ทั้งหลาย เรา
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีเสด็จไปในอากาศ จึงเอา
จะงอยปากดาบดอกสาหร่าย บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี.

ผู้ใดตั้งศรัทธาอันไม่หวั่นไหวไว้ด้วยดี ในพระตถาคตด้วย
จิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ การที่เราได้มาใน
สำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเป็นการมาดีหนอ เราเป็นนก
จักรพรากได้ปลูกพืชไว้ดีแล้ว.

ในกัปที่ 4 แต่กัปนี้ เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา ในกัปที่ 1 ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 8 ครั้ง ทรง
มีพละมาก ทรงพระนามเดียวกันว่า สุจารุทัสสนะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ที่พระปัจจาคมนิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบปัจจาคมนิยเถราปทาน

63. อรรถกถาปัจจาคมนิยเถราปทาน


อปทานของท่านพระปัจจาคมนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สินฺธยา
นทิยา ตีเร
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในกำเนิดแห่งนกจักรพราก
ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุคงคา ไม่กินสัตว์มีชีวิต เพราะตนประกอบด้วยบุญ
สมภารในกาลก่อน กินแต่สาหร่ายเท่านั้นเที่ยวไป. สมัยนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เมื่อทรงกระทำอนุเคราะห์แก่สัตว์
ได้เสด็จไปในที่นั้น. ขณะนั้น นกจักรพรากนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
รุ่งเรืองอยู่ มีใจเลื่อมใส เด็ดดอกสาหร่ายจากต้นสาหร่ายมาบูชา ด้วย
ความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นเอง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก
เสวยสมบัติในฉกามาวจรสวรรค์ไป ๆ มา ๆ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน
มนุษยโลก เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญใน
กาลก่อนว่า ปัจจาคมนิยเถระ เพราะเหตุที่คนเป็นนกจักรพราก เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปในที่บางแห่งก็นำดอกไม้มาบูชา.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สินฺธุยา นทิยา ตีเร ความว่า ชื่อว่า
สินธุ เพราะกระทำเสียงว่า สิ ให้เคลื่อนไหวอยู่ ให้หวั่นไหวอยู่. ชื่อว่า
นทิ เพราะกระทำเสียงให้บันลือไป. บทว่า จกฺกวาโก อหํ ตทา ความว่า