เมนู

สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันสงบจากกิเลส. บทว่า สมฺโพธิสุขํ สุขเกิดแต่
ความตรัสรู้ คือมรรคสุข. บทว่า นิกามลาภี คือ ผู้มีปกติได้ตามความ
ประสงค์ด้วยอำนาจความชอบใจของตน. บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ ผู้มีปกติ
ได้ไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้โดยไม่ลำบาก คือได้ไพบูลย์. บทว่า
อสามายิกํ อันไม่มีในสมัย คือ โลกุตระ. บทว่า อกุปฺปํ อันไม่กำเริบ
คือ โลกตรมรรคอันไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ.
จบคาถาที่ 10
จบอรรถกถาวรรคที่ 2

อรรถกถาตติยวรรค


คาถาที่ 1


21) ทิฏฺฐีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต
ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค
อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ อนญฺญเนยฺโย
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามได้แล้ว ถึงความ
เป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้
อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ทิฏฐิ 62. ก็ทิฏฐิ

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทำร้ายเสียบแทง เป็นข้าศึก
แห่งมรรคสัมมาทิฏฐิ. เสี้ยนหนามแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ชื่อว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ.
หรือว่าทิฏฐินั่นแลเป็นเสี้ยนหนาม ชื่อว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ. บทว่า อุปาติ-
วตฺโต
คือ ล่วงแล้วด้วยมรรคทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต นิยามํ ถึงแล้ว
ซึ่งมรรคนิยาม คือ บรรลุแล้วซึ่งความเป็นของเที่ยงแห่งความเป็นธรรม
ไม่ตกต่ำ และความตรัสรู้ในเบื้องหนา้. หรือบรรลุปฐมมรรคอันได้แก่
สัมมัตตนิยาม (นิยามอันชอบ). ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าว
ถึงความสำเร็จแห่งกิจในปฐมมรรค และการได้ปฐมมรรคนั้น. บัดนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงการได้มรรคที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิ-
ลทฺธมคฺโค
มีมรรคอันได้แล้ว ดังนี้. บทว่า อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว คือเราเป็นผู้มีปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงผลด้วยญาณนี้. บทว่าอนฺญฺญเนยฺโย อันผู้มี
ไม่ต้องแนะนำ คือ อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำว่า นี้เป็นสัจจะ ดังนี้. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงความเป็นพระสยัมภูด้วยบทนี้. หรือแสดงความ
เป็นผู้ชำนาญด้วยตนเอง ไม่มีผู้อื่นแนะนำในปัจเจกโพธิญาณ. หรือล่วง
ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลายด้วยวิปัสสนา ถึงมรรคนิยามด้วยมรรค
เบื้องต้น เป็นผู้มีมรรคอันได้แล้วด้วยมรรคที่เหลือ เป็นผู้มีญาณอันเกิด
แล้วด้วยผลญาณ. ชื่อว่า อนญฺญเนยฺโย เพราะบรรลุมรรคทั้งหมด
นั้นด้วยตนเอง. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า น ปรเนยฺโย คือ ผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ บทว่า น ปรปตฺติโย
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น คือ เพราะเป็นธรรมประจักษ์อยู่แล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
บทว่า น ปรปจฺจโย ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย คือ ไม่พึงมีผู้อื่นเป็นปัจจัย

ไม่เป็นไปด้วยศรัทธาของผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู คือ ไม่ไปด้วย
ญาณอันเนื่องด้วย.
จบคาถาที่ 1

คาถาที่ 2


22) นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย
ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มี
ความอยาก ครอบงำโลกทั้งโลกได้แล้ว พึงเที่ยว ไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิลฺโลลุโป คือ เป็นผู้ไม่โลภ. จริงอยู่ ผู้ใดถูกตัณหาในรส
ครอบงำ ผู้นั้นย่อมโลภจัดคือโลภบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โลลุปฺโป เป็นผู้โลภจัด. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เมื่อ
ห้ามความโลภจัดนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป เป็นผู้ไม่โลภจัด.
พึงทราบความในบทว่า นิกฺกุโห ไม่โกหก ดังต่อไปนี้ วัตถุสำหรับ
โกหก 3 อย่างไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า นิกฺกุโห เป็นผู้ไม่โกหก.
คาถานี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า นิกฺกุโห เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในชน