เมนู

อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส


ต่อนี้ไปถึงโอกาสแห่งการพรรณนา ขัคควิสาณสุตตนิทเทส แล้ว.
พวกเราจักพรรณนาเพียงบทที่เกินต่อจากบทนี้เท่านั้น.

ปฐมวรรค


คาถาที่ 1


1*) สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
อวิเหฐยํ อญฺญตรฺปิ เตสํ
น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึง
ปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า
ภูเตสุ คือ ในสัตว์ทั้งหลาย.
ภูต ศัพท์ในบทว่า ภูเตสุ นี้เป็นไปในอรรถว่า สิ่งที่มี ในบทมี
อาทิอย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะสิ่งที่มีอยู่.
เป็นไปในอรรถว่า ขันธ์ 5 ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ สารีปุตฺต
สมนุปสฺสสิ
ดูก่อนสารีบุตร เธอจงพิจารณา ขันธ์ นี้. เป็นไปในอรรถว่า
รูป 4 อย่าง มีปฐวีธาตุเป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า รูป 4 มีปฐวีธาตุเป็นต้น
* เลขหน้าคาถาทุกคาถา ในขัคควิสาณสุตตนิทเทสนี้ ไม่ใช่เลขข้อในบาลี. เป็นเลขลำดับ
คาถา มีทั้งหมด 41 คาถา.

มีอาทิอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขเว มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาภูตรูป 4 และเป็นเหตุ.
เป็นไปในอรรถว่า พระขีณาสพ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า โย จ
กาลฆโส ภูโต พระขีณาสพ
เป็นผู้กินกาลเวลา.
เป็นไปในอรรถว่า สรรพสัตว์ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพว
นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สัตว์ทั้งปวง
จักทิ้งร่างกายไว้ในโลก.
เป็นไปในอรรถว่า ต้นไม้ เป็นต้น ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูต-
คามปาตพฺยตาย
เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพราก ของเขียว ซึ่งเกิดอยู่
กับที่ให้หลุดจากที่.
ย่อมเป็นไปหมายเอา หมู่สัตว์ ในชั้นต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา
ลงมา ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตํ ภูตโต ปชานาติ ย่อมรู้ หมู่สัตว์
ตามความเป็นจริง.
แต่ในที่นี้พึงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วบนแผ่นดินและภูเขา
เป็นต้น โดยไม่ต่างกันว่า ภูตะ ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.
บทว่า นิธาย คือ วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑํ คือ อาชญาทางกาย
วาจาและใจ. บทนี้เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น. กายทุจริตชื่อว่า ทัณฑะ
เพราะลงโทษ. ท่านกล่าวว่า เพราะเบียดเบียนให้ถึงความพินาศล่มจม.
วจีทุจริตและมโนทุจริตก็เหมือนกัน หรือการลงโทษด้วยการประหารนั้น
แล ชื่อว่า ทัณฑะ. ท่านกล่าวว่า วางอาชญานั้น. บทว่า อเหฐยํ คือ
ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺญตรมฺปิ คือ แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง. บทว่า เตสํ
คือ สรรพสัตว์เหล่านั้น. บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย คือ ไม่พึงปรารถนา
บุตรไร ๆ ในบุตร 4 จำพวกเหล่านี้ คือ อัตตชะ บุตรเกิดแต่ตน 1

เขตตชะ บุตรเกิดแต่ภริยา 1 ทินนกะ บุตรที่เขายกให้ 1 อันเตวาสิกะ
ลูกศิษย์ 1. บทว่า กุโต สหายํ คือ พึงปรารถนาสหายได้แต่ไหน.
บทว่า เอโก ได้แก่ ผู้เดียว ด้วยการบวช. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะ
อรรถว่า ไม่มีเพื่อน. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาได้. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสโดยแน่นอน. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้
ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว. จริงอยู่ แม้ยังเป็นไปอยู่ในท่ามกลางสมณะ
ตั้งพัน ก็ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตัดความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยประการ
ฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยการบวช. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะยืนผู้เดียว
ไปผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เคลื่อนไหวเป็นไปผู้เดียว ด้วยประการ
ฉะนี้ จึงชื่อว่าผู้เดียว โดยไม่มีเพื่อน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความ
เป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุมีสติรู้โทษอย่างนี้ และตัณหา
เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา
ไม่ถือมั่น พึงเว้นรอบ.

ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว เพราะละตัณหาเสียได้. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสได้แน่นอนอย่างนี้ คือละกิเลสทั้งหมดแล้ว
ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เหมือนตาลยอดด้วน มีการไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะเป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ เป็นผู้
ตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว
เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว.
บทว่า จเร พึงเที่ยวไป ได้แก่จริยา (การเที่ยวไป) มี 8 อย่างคือ
อิริยาปถจริยา การเที่ยวไปในอิริยาบถ 4 ของผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตน

ไว้ชอบ 1. อายตนจริยา การเที่ยวไปในอายตนะภายใน 6 ของผู้คุ้ม-
ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 สติจริยา การเที่ยวไปในสติปัฏฐาน 4
ของผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท 1 สมาธิจริยา การเที่ยวไปในฌาน
4 ของผู้ขวนขวายในอธิจิต 1 ญาณจริยา การเที่ยวไปในอริยสัจ 4
ของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา 1 มรรคจริยา การเที่ยวไปในอริยมรรค 4
ของผู้ปฏิบัติโดยชอบ 1 ปัตติจริยา การเที่ยวไปในสามัญผล 4 ของ
ผู้บรรลุผล 1 โลกัตถจริยา ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกใน
สรรพสัตว์ทั้งหลาย ของท่านผู้เป็นพุทธะ 3 จำพวก คือพระสัมมา-
สัมพุทธะ 1 พระปัจเจกพุทธะ 1 พระสาวกพุทธะ 1. ในพระพุทธะ
3 จำพวกเหล่านั้น ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกของพระปัจเจก-
พุทธะ และพระสาวกพุทธะ ได้เฉพาะบางส่วน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า จริยา 8 ในคำว่า จริยา นี้ ได้แก่ อิริยาปถจริยาเป็นต้น.
พึงทราบความพิสดารในเรื่องนั้น ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยา
เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวจริยา 8 แม้อย่างอื่นอีกอย่างนี้ว่า บุคคล
ผู้น้อมใจเชื่อจริยาเหล่านี้ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองใจย่อม
ประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ทั่วย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อม
ประพฤติด้วยวิญญาณ บุคคลผู้มนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนิน
ไปทั่วแก่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา บุคคล
ผู้มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ย่อมประพฤติด้วยวิเศษ-
จริยา ดังนี้. อธิบายว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาแม้เหล่านั้น.

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป เหมือนนอแรด คือเขาของแรดชื่อว่า
นอแรด.
กัปป ศัพท์นี้มีความหลายอย่างเป็นต้นว่า เชื่อ โวหาร กาล บัญญัติ
เฉทนะ (ตัด) วิกัปปะ (ประมาณ) เลส สมันตภาวะ (โดยรอบ) สทิสะ
(คล้าย).
จริงอย่างนั้น กัปป ศัพท์นั้นมีอรรถว่า เชื่อ ในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า1 ข้อนี้ควร เชื่อ ต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
มีอรรถว่า โวหาร ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตเพื่อฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร 5 อย่าง.
มีอรรถว่า กาล ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า นัยว่าเราจะอยู่ตลอด
กาล เป็นนิจ.
มีอรรถว่า บัญญัติ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกัปปะ ได้
กล่าวไว้ดังนี้.
มีอรรถว่า เฉทนะ ตัด ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ปลง ผมและ
หนวดตกแต่งแล้ว.
มีอรรถว่า วิกัปปะ ประมาณ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กว้าง
หรือยาว ประมาณ 2 นิ้ว.
มีอรรถว่า เลส ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า หา เลส เพื่อจะนอน.
มีอรรถว่า สมันตภาวะโดยรอบ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ยัง
พระวิหารเวฬุวัน โดยรอบ ให้สว่างไสว.
มีอรรถว่า สทิสะ คล้าย ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
1. ม. มู. 12/ข้อ 430. 2. ม. มู. 12/ข้อ 300.

ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวก ทรงคุณ คล้าย พระศาสดา มิได้ทราบ
เลย (ว่าท่านชื่อว่าสารีบุตร). อธิบายว่า มีส่วนเปรียบ.
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบ ความว่า เช่นกับ เปรียบกับ พระศาสดา
นั้น. ท่านกล่าวว่า เปรียบกับนอแรด. พึงทราบการพรรณนาความ
ในที่นี้ เพียงเท่านี้ก่อน.
แต่พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ได้ โดยสืบต่อจากการอธิบายต่อไป.
อาชญานี้มีประการดังได้กล่าวแล้ว ยังเป็นไปอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่
ละวาง. บุคคลไม่ยังอาชญาให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น วางอาชญา
ในสัตว์ทั้งปวงด้วยเมตตา อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาชญานั้น และด้วยนำ
ประโยชน์เข้าไปให้ เพราะเป็นผู้วางอาชญาแล้วนั่นเอง สัตว์ทั้งหลายผู้
ยังไม่วางอาชญา ย่อมเบียดเบียนสัตว์ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยฝ่ามือ
หรือด้วยก้อนดิน ฉันใด เราไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง
ฉันนั้น อาศัยเมตตากรรมฐานนี้เห็นแจ้งสังขตธรรม อันไปแล้วในเวทนา
ไปแล้วในสัญญา สังขาร และวิญญาณ และอื่นจากนั้น โดยทํานอง
เดียวกัน แล้วจึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณนี้. พึงทราบอธิบายดังนี้ก่อน.
พึงทราบอนุสนธิต่อไป. เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้น
แล้ว พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้พระคุณเจ้า
จะไปไหน. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารำพึงว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแต่ก่อน
อยู่ ณ ที่ไหน ครั้นรู้แล้วจึงกล่าวว่า อาตมาจะไปภูเขาคันธมาทน์ พวก
มนุษย์จึงกล่าวอีกว่า โอ บัดนี้พระคุณเจ้าจะทิ้งพวกกระผมไป อย่าไปเลย
ขอรับ. ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า น ปุตฺตมิจเฉยฺย
บุคคลไม่พึงปรารถนาบุตร ดังนี้เป็นต้น.

ในบทนั้นมีอธิบายดังนี้ บัดนี้เรามิได้พึงปรารถนาบุตรประเภทใด
ประเภทหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดแต่ตนเป็นต้น จักปรารถนาสหายเช่น
ท่านแต่ไหน เพราะฉะนั้น บรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดเป็นชายก็ตาม เป็น
หญิงก็ตาม ประสงค์จะไปกับเรา ผู้นั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ
พระคุณเจ้าจะละทิ้งพวกกระผมไป พระคุณเจ้าไม่ต้องการพวกกระผม
เสียแล้วหรือ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อาตมามิได้พึง
ปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว
โดยความตามที่ตนกล่าวแล้ว ก็บันเทิงใจ เกิดปีติโสมนัส จึงเปล่ง
อุทานนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสิตา คือ ทำความอยาก. บทว่า
ภยเภรโร ความกลัวและความขลาด คือมีจิตสะดุ้งเปล่งเสียงตกใจ.
บทว่า ถาวรา ผู้มั่นคง คือพระขีณาสพ. บทว่า นิธาย คือ ทิ้งแล้ว
บทว่า นิทหิตฺวา คือ วางแล้ว. บทว่า โอโรปยิตฺวา คือ ปลงแล้ว.
บทว่า สโมโรปยิตฺวา คือ ปล่อยลงข้างล่าง. บทว่า นิกฺขิปิตฺวา ได้แก่
นำออกไปจากที่นั้น. บทว่า ปฏิปสฺสมฺภิตฺวา ระงับแล้ว คือสงบแล้ว.
บทว่า อาลปนํ คือ การเจรจากันแต่แรก. บทว่า สลฺลปนํ คือ การ
เจรจากันโดยชอบ. บทว่า อุลฺลปนํ คือ เจรจายกย่องกัน. บทว่า
สมุลฺลปนํ คือ การเจรจายกย่องกันบ่อย ๆ.
บทว่า อิริยาปถจริยา คือ เที่ยวไปในอิริยาบถ. แม้ในบทที่
เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ อายตนจริยา คือ เที่ยวไปในอายตนะ

ด้วยสติและสัมปชัญญะ. บทว่า ปตฺติ คือ ผลทั้งหลาย. เพราะผล
เหล่านั้นท่านเรียกว่า ปตฺติ เพราะเป็นเหตุให้บรรลุ. ประโยชน์ทั้งหลาย
อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพของสัตว์โลก ชื่อว่า โลกัตถะ
นี่เป็นข้อแตกต่างกัน.
บัดนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อจะแสดงภูมิแห่งจริยาเหล่านั้น จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถ 4.
บทว่า สติปฏฺฐาเนสุ คือ แม้ในสติปัฏฐาน ซึ่งมีสติปัฏฐานเป็น
อารมณ์ที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวอยู่ ก็กล่าวถึงธรรมที่ไม่เป็นอย่างอื่นจาก
สติ แต่ทำเหมือนเป็นอย่างอื่นด้วยโวหาร. บทว่า อริสจฺเจสุ ท่าน
กล่าวด้วยการกำหนดสัจจะไว้เป็นแผนก ๆ ด้วยสัจญาณอันเป็นโลกิยะอัน
เป็นส่วนเบื้องต้น. คำว่า อริยมคฺเคสุ และคำว่า สามญฺญผเลสุ ท่าน
กล่าวด้วยอำนาจโวหารเท่านั้น. บทว่า ปเหเส คือ ในส่วนหนึ่งของ
โลกัตถจริยา คือการประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก. จริงอยู่ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยาโดยไม่มีส่วนเหลือ.
พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยอำนาจแห่งการก-
บุคคล (บุคคลผู้กระทำ) จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิธิสมฺปนฺนานํ ของผู้
ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ.
ในบทเหล่านั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้. ผู้มีอิริยาบถไม่หวั่นไหว
ถึงพร้อมด้วยความเป็นไปแห่งอิริยาบถ เพราะอิริยาบถสงบ ผู้ถึงพร้อม
ด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ปณิธิสมฺปนฺนานํ
ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารานํ ผู้มี
ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย คือชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมี

ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย 6 มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ด้วยสามารถ
ทวารหนึ่ง ๆ อันเป็นไปแล้วในวิสัยของตน ๆ. แห่งทวารอันคุ้มครองแล้ว
นั้น. อนึ่ง ในบทว่า ทฺวารํ นี้ ได้แก่ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งทวารที่เกิดขึ้นตามธรรมดา. บทว่า อปฺปมาทสิหารีนํ ของบุคคลผู้อยู่
ด้วยความไม่ประมาท คือของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทในคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น. บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตานํ ของบุคคลผู้ขวนขวาย
ในอธิจิต คือของบุคคลผู้ขวนขวายด้วยสมาธิคืออธิจิต โดยความเป็นบาท
แห่งวิปัสสนา. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนานํ ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
คือของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยญาณอันเป็นไป ตั้งต้นแต่การกำหนดนามรูป
จนถึงโคตรภู. บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนานํ ของบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ คือ
ในขณะของมรรค 4. บทว่า อธิคตผลานํ ของบุคคลผู้บรรลุผลแล้ว คือ
ในขณะของผล 4.
บทว่า ตถาคตานํ คือ ผู้มาแล้วเหมือนอย่างนั้น. บทว่า อรหนฺ-
ตานํ
คือ ผู้ไกลจากกิเลส. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ คือ ผู้ตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยตนเอง. ความของบททั้งหลายเหล่านี้
ประกาศไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า ปเทเส ปจฺเจกสมฺพุทฺธานํ คือ ของพระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลายบางส่วน. บทว่า ปเทเส สาวกานํ คือ แม้ของสาวกทั้งหลาย
บางส่วน. บทว่า อธิมุจฺจนฺโต คือ ทำการน้อมไป. บทว่า สทฺธาย
จรติ ประพฤติด้วยศรัทธา คือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศรัทธา. บทว่า
ปคฺคณฺหนฺโต ผู้ประคองใจ คือพยายามด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน 4.
บทว่า อุปฏฺฐเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้ คือเข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ. บทว่า

อวิกฺเขปํ กโรนฺโต คือ ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสมาธิ. บทว่า
ปชานนฺโต ผู้รู้ทั่ว คือรู้ชัดด้วยปัญญารู้อริยสัจ 4. บทว่า วิชานนฺโต
ผู้รู้แจ้ง คือรู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณ คืออาวัชชนจิตอันถึงก่อน (เกิด
ก่อน) ชวนะที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์. บทว่า วิญฺญาณจริยาย ประพฤติ
ด้วยวิญญาณ คือด้วยอำนาจแห่งวิญญาณคืออาวัชชนจิต. บทว่า เอวํ
ปฏิปนฺนสฺส
ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือปฏิบัติด้วยอินทรียจริยาพร้อมกับ
อาวัชชนะ. บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลายย่อม
ดำเนินไป ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งสมถะและ
วิปัสสนา ยังความวิเศษให้เป็นไป. บทว่า อายตนจริยาย ภูสะความมั่นคง
ท่านกล่าวว่า ความมั่นคงของกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยอายตนจริยา คือ
ด้วยความประพฤติเป็นไป. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ คือ ย่อมบรรลุคุณ
วิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน และ
ปฏิปัสสัทธิปหาน.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทสฺสนจริยา จ สมฺมาทิฏฺฐิยา
การประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ทัสสนจริยา ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบ หรือเป็นเหตุเห็นชอบ หรือ
มีทิฏฐิงามน่าสรรเสริญ. แห่งสัมมาทิฏฐินั้น.
ชื่อว่า ทัสสนจริยา เพราะประพฤติด้วยการทำนิพพานให้ประจักษ์.
ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะดำริชอบ หรือเป็นเหตุดำริชอบ
หรือดำริดีน่าสรรเสริญ.
ชื่อว่า อภินิโรปนจริยา เพราะพระพฤติปลูกฝังจิตไว้ในอารมณ์นั้น.
ชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะเจรจาชอบ หรือเป็นเหตุเจรจาชอบ

หรือเจรจาดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาวาจา.
ชื่อว่า ปริคฺคหจริยา เพราะประพฤติยึดวจีสังวร 4 อย่างของ
สัมมาวาจานั้น.
ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ เพราะทำชอบ หรือเป็นเหตุทำชอบ
หรือการงานดีน่าสรรเสริญ. การงานชอบนั่นแล ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.
บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ.
ชื่อว่า สมุฏฐานจริยา เพราะประพฤติตั้งอยู่ในกายสังวร 3 อย่าง.
ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ เพราะเลี้ยงชีพชอบ หรือเป็นเหตุเลี้ยงชีพ
ชอบ หรือมีอาชีพดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาอาชีวะ.
สัมมาอาชีพนั้นชื่อว่า โวทานจริยา ประพฤติผ่องแผ้ว.
ชื่อว่า ปริสุทธจริยา ประพฤติบริสุทธิ์.
ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามชอบ หรือเป็นเหตุพยายาม
ชอบ หรือพยายามดีน่าสรรเสริญ. สัมมาวายามะนั้น ชื่อว่า ปัคคหจริยา
ประพฤติประคองใจ.
ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะระลึกชอบ หรือเป็นเหตุระลึกชอบ หรือ
ระลึกดีน่าสรรเสริญ. สัมมาสตินั้นชื่อว่า อุปัฏฐานจริยา ประพฤติตั้งมั่น.
ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะตั้งใจชอบ หรือเป็นเหตุตั้งใจชอบ
หรือตั้งใจดีน่าสรรเสริญ. สัมมาสมาธินั้น ชื่อว่า อวิกเขปจริยา ประ-
พฤติไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า ตกฺกปฺโป คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นย่อมเป็นเหมือน
นอแรด. อธิบายว่า เป็นอย่างนั้น. บทว่า ตํสทิโส คือ เช่นกับนอแรด.
ปาฐะว่า ตสฺสทิโส บ้าง. บทว่า ตปฺปฏิภาโค คือ เปรียบเหมือน

นอแรด. อธิบายว่า เป็นเช่นนั้น. รสเค็มไม่มีรสหวาน ชื่อว่า อติโลณะ
เค็มจัดกล่าวกันว่าเหมือนเกลือ เช่นกับเกลือ. บทว่า อติติตฺติกํ คือ
ของขมจัดมีสะเดาเป็นต้นกล่าวกันว่า เหมือนของขม เช่นกับรสขม.
บทว่า อติมธุรํ มีรสหวานจัด คือมีข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมเป็นต้น.
บทว่า หิมกปฺโป เหมือนหิมะ คือเช่นกับน้ำแข็ง. บทว่า สตฺถุกปฺโป
เหมือนพระศาสดา คือเช่นกับพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา. บทว่า
เอวเมว เป็นนิบาตบอกความเปรียบเทียบ.
เราจักแสดงวิธีบอกวิปัสสนา โดยสังเขปของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์
หนึ่ง แล้วจักไป ณ ที่นั้น. พระปัจเจกโพธิสัตว์ประสงค์จะทำการกำหนด
นามรูป จึงเข้าฌานใดฌานหนึ่งในฌานสมาบัติ 8 ทั้งที่เป็นรูปฌานและ
อรูปฌาน ออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌานมีวิตกเป็นต้น และธรรม
ทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้น ด้วยอำนาจแห่ง
ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า
น้อมไป โดยความน้อมไปมุ่งต่ออารมณ์. แต่นั้น ก็แสวงหาปัจจัยแห่งนาม
นั้น ย่อมเห็นว่า นามย่อมเป็นไปเพราะอาศัยหทัยวัตถุ. ครั้นเห็นภูตรูป
อันเป็นปัจจัยแห่งวัตถุและอุปาทายรูปแล้ว จึงกำหนดว่าทั้งหมดนี้ ชื่อว่า
รูป เพราะมีลักษณะสลายไป. กำหนดนามรูปทั้งสองนั้นอีกโดยสังเขป
อย่างนี้ว่า นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลายไป. นี้ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจแห่ง สมถยานิกะ (มีสมถะเป็นยาน). ส่วน วิปัสสนายานิกะ
(มีวิปัสสนาเป็นยาน) กำหนดภูตรูปและอุปาทายรูปด้วยหัวข้อการกำหนด
ธาตุ 4 แล้วเห็นว่าธรรมทั้งหมดนี้ชื่อว่ารูปเพราะความสลายไป. แต่นั้น
อรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปอยู่เพราะอาศัยวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้นแห่ง

รูปที่กำหนดไว้อย่างนี้ ย่อมมาสู่คลอง. แต่นั้นรวมอรูปธรรมเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดเป็นอันเดียวกัน โดยลักษณะน้อมไป ย่อมเห็นว่านี้เป็นนาม.
พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ย่อมกำหนดโดยส่วนสองว่า นี้นาม นี้รูป. ครั้น
กำหนดอย่างนั้นแล้ว ย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่น
นอกเหนือไปจากนามรูปไม่มี.
เหมือนอย่างว่า เสียงว่ารถย่อมมีได้ เพราะการ
ประชุมองค์ประกอบ (ของรถ) ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลาย
ยังมีอยู่ การสมมติกันว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น.

ท่านกำหนดนามรูปด้วยญาณอันเป็นทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวคือการเห็น
ตามความเป็นจริงของนามรูปโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่ออุปาทานขันธ์ 5
มีอยู่ การสมมติเรียกกันว่าสัตว์บุคคลย่อมมีได้ฉันนั้นนั่นแหละดังนี้ เมื่อ
กำหนดแม้ปัจจัยของนามรูปนั้นอีก ก็กำหนดนามรูปโดยนัยดังกล่าวแล้ว
กำหนดอยู่ว่าอะไรหนอเป็นเหตุแห่งนามรูปนี้ ครั้นเห็นโทษในอเหตุวาทะ
และเหตุวาทะอันแตกต่างกัน จึงแสวงหาเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น
ดุจแพทย์ครั้นเห็นโรคแล้วจึงตรวจดูสมุฏฐานของโรคนั้น จึงเห็นธรรม 4
เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุ
ให้เกิดนามรูป และว่าเป็นปัจจัยเพราะมีอาหารเป็นปัจจัยอุปถัมภ์. กำหนด
ปัจจัยแห่งรูปกายอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย 3 มีอวิชชาเป็นต้นเป็นอุป-
นิสสยปัจจัยแก่กายนี้ เหมือนมารดาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ทารก มีกรรมทำ
ให้เกิดเหมือนบิดาทำบุตรให้เกิด มีอาหารเลี้ยงดูเหมือนแม่นมเลี้ยงดูทารก
แล้วกำหนดปัจจัยแห่งนามกายโดยนัยมีอาทิว่า อาศัยจักษุและรูป จักขุ-

วิญญาณย่อมเกิด. เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ย่อมตกลงใจได้ว่า ธรรมแม้ที่
เป็นอดีตและอนาคตย่อมเป็นไปอย่างนี้เท่านั้นเหมือนกัน.
ท่านกล่าวิจิกิจฉาที่ปรารภอดีต (ปุพฺพนฺตํ) ของบุคคลนั้นไว้ 5
อย่างคือ

1. ในอดีตอันยาวนานเราได้เป็นแล้วหรือหนอ.
2. หรือว่าเราไม่ได้เป็นแล้ว
3. เราได้เป็นอะไรมาแล้วหรือหนอ
4. เราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ
5. เราเป็นอะไรแล้วได้เป็นอะไรตลอดกาลในอดีตหรือหนอ
ท่านกล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภอนาคต (อปรนฺตํ) ของบุคคลนั้นไว้ 5
อย่างคือ

1. ในอนาคตอันยาวนานเราจักเป็นหรือหนอ
2. เราจักไม่เป็นหรือหนอ
3. เราจักเป็นอะไรหนอ
4. เราจักเป็นอย่างไรหนอ
5. เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไร (ต่อไป) ตลอดกาลในอนาคต
หรือหนอ.
ก็หรือว่าท่านได้กล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภปัจจุบันของบุคคลนั้นไว้ 6
อย่างคือ

1. เราเป็นอยู่หรือหนอ
2. เราไม่เป็นอยู่หรือหนอ
3. เราเป็นอะไรหนอ
4. เราเป็นอย่างไรหนอ

5. สัตว์นี้มาจากที่ไหนหนอ
6. สัตว์นั้นจักไปที่ไหนหนอ
ท่านละความสงสัยแม้ทั้งหมดนั้นได้. ด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างนี้
ท่านกล่าวถึงญาณอันข้ามความสงสัยในกาล 3 ตั้งอยู่ ว่าเป็น กังขาวิตรณ-
วิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) บ้าง เป็น
ธรรมฐิติญาณ (ญาณกำหนดรู้ความตั้งอยู่ตามธรรมดา) บ้าง ยถาภูตญาณ
(ญาณกำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บ้าง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ)
บ้าง.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ต่อไป. จริงอยู่ โลกิยปริญญามี 3
คือ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) 1. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้
ด้วยการพิจารณา) 1. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ) 1.
ในโลกิยปริญญา 3 เหล่านั้น ปัญญาเป็นไปด้วยอำนาจการกำหนด
ลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า รูปมี
ลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ ชื่อว่า ญาตปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์อันเป็นไปแล้ว เพราะยก
ธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่สามัญลักษณะ โดยนัยมีอาทิว่า รูปไม่เที่ยง เวทนา
ไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจ
แห่งการละนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) เป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น
นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.
ในปริญญาเหล่านั้น ภูมิแห่งญาตปริญญาเริ่มตั้งแต่กำหนดสังขาร

จนถึงกำหนดปัจจัย. ในระหว่างนี้การแทงตลอดลักษณะเฉพาะตน (ปัจ-
จัตตลักษณะ) ของธรรมทั้งหลายย่อมเป็นใหญ่.
ภูมิแห่งตีรณปริญญาเริ่มตั้งแต่การพิจารณากองสังขาร จนถึง
อุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ). ใน
ระหว่างนี้ การแทงตลอดสามัญลักษณะย่อมเป็นใหญ่.
ภูมิแห่งปหานปริญญาเบื้องบนตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความดับ). ต่อแต่นั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา
(ความสำคัญว่าเป็นสุข) เสียได้ พิจารณาเห็นโดยความไม่เป็นตัวตน ย่อม
ละอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) เสียได้ เบื่อหน่าย ความเพลิด-
เพลิน สำรอกราคะ ดับตัณหา สละ ละความยึดถือเสียได้ ด้วยประการ
ฉะนี้ อนุปัสสนา (การพิจารณาความ) 7 อย่าง อันสำเร็จด้วยการละ
นิจจสัญญาเป็นต้นย่อมเป็นใหญ่. ในปริญญา 3 อย่างเหล่านี้ เป็นอัน
พระโยคาวจรนี้บรรลุญาตปริญญาแล้ว เพราะให้สำเร็จการกำหนดสังขาร
และการกำหนดปัจจัย. พระโยคาวจรย่อมทำการพิจารณาเป็นกลาป โดย
นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปภายในก็ดี รูปภายนอกก็ดี ฯ ล ฯ รูปไกลก็ดี รูปใกล้ก็ดี รูปทั้งหมด
เป็นของไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความ
เกิดและความดับ เป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน อันเป็น
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ก็ดี ไกลก็ดี
ใกล้ก็ดี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดไม่เที่ยงเพราะมีแล้ว

ไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความเสื่อม เป็นอนัตตา
เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. ท่านยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์กล่าวหมายถึงการ
พิจารณาเป็นกลาปนี้.
พระโยคาวจรทำการพิจารณากลาป ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในสังขารอย่างนี้แล้ว ย่อมเห็นความเกิดและ
ความดับแห่งสังขารทั้งหลายอีก. เห็นอย่างไร เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์
ด้วยการเห็นความที่รูปขันธ์เนื่องด้วยปัจจัยอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิด
รูปจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม อาหาร เกิด จึงเกิด รูป ดังนี้. แม้เมื่อ
เห็นนิพพัตติลักษณะ คือลักษณะของความเกิด ก็ย่อมเห็นความเกิดของ
รูปขันธ์ด้วย ชื่อว่า ย่อมเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ 5 อย่าง
ด้วยประการฉะนี้. ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยการดับแห่งปัจจัย
ว่า เพราะตัณหา กรรม อาหาร ดับ รูปจึงดับ. แม้เมื่อเห็นวิปริณาม-
ลักษณะ คือ ลักษณะความแปรปรวน ก็ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์.
ชื่อว่า เห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ 5 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยการเห็น
เนื่องด้วยปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม
ผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด. แม้เมื่อเห็นนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะของ
การเกิด ก็ย่อมเห็นการเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วย. เห็นความเสื่อมแห่ง
เวทนาขันธ์ ด้วยการเห็นความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับ เวทนา
จึงดับ เพราะตัณหา กรรม ผัสสะ ดับ เวทนาจึงดับ. แม้เมื่อเห็น
วิปริฌามลักษณะ คือ ลักษณะความปรวนแปร ก็ชื่อว่า ย่อมเห็นความ
เสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ด้วย.

แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็อย่างนี้. แต่ก็มีความต่างกันดังนี้ พึง
ประกอบคำว่า เพราะนามรูปเกิด (วิญญาณจึงเกิด) และเพราะนามรูปดับ
(วิญญาณจึงดับ) ดังนี้. ในที่แห่งผัสสะ (เมื่อพิจารณาความเกิดและความ
เสื่อม) ของวิญญาณขันธ์. ท่านกล่าวถึงลักษณะ 50 แบ่งเป็นอย่างละ
10 ๆ ในการเห็นความเกิดและความดับในขันธ์หนึ่ง ๆ ด้วยการเกิด
แห่งปัจจัย ด้วยนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะแห่งการเกิด ด้วยการดับ
แห่งปัจจัย ด้วยวิปริณามลักษณะ คือลักษณะแห่งความปรวนแปร. ด้วย
อำนาจแห่งลักษณะเหล่านั้น พระโยคาวจรกระทำมนสิการโดยพิสดาร
ทั้งโดยปัจจัยและทั้งโดยขณะว่า ความเกิดแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้ ความ
เสื่อมแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้.
เมื่อพระโยคาวจรกระทำอย่างนี้ ญาณย่อมเป็นญาณบริสุทธิ์ว่า นัยว่า
ธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้ว มีแล้วเสื่อม ด้วยประการฉะนี้. สังขารทั้งหลาย
ย่อมปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิจว่า นัยว่าธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ด้วยประการฉะนี้. สังขารทั้งหลายมิใช่
เป็นของใหม่อยู่เป็นนิจแต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ หาสาระ
มิได้ ดุจหยาดน้ำค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยขีดในน้ำ
ด้วยไม้ ดุจเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ดุจสายฟ้าแลบ และดุจภาพ
ลวง พยับแดด ความฝัน ลูกไฟ วงล้อ นักร้อง ยาพิษ ฟองน้ำ
และต้นกล้วยเป็นต้น อันตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เป็นอันว่าพระโยคาวจรได้บรรลุตรุณวิปัสสนาญาณเป็นครั้งแรก ชื่อว่า
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เพราะแทงตลอดลักษณะ 50 ถ้วนโดย
อาการอย่างนี้ว่า สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดานั่นแลย่อมเกิดขึ้น และ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเสื่อมไป ดังนี้ เพราะพระโยคาวจรบรรลุ
ตรุณวิปัสสนาญาณ จึงนับว่าเป็น อารทฺธวิปสฺสโก เป็นผู้ปรารภวิปัสสนา
แล้ว.
ครั้นกุลบุตรนั้นเริ่มวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนูปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง
ของวิปัสสนา) 10 อย่างย่อมเกิดขึ้น คือ โอภาส (แสงสว่าง) 1 ญาณ 1
ปีติ ปัสสัทธิ 1 สุข 1 อธิโมกข์
(ความน้อมใจเชื่อ) 1 ปัคคหะ
(การประคองไว้) 1 อุปัฏฐานะ (การเข้าไปตั้งไว้) 1 อุเบกขา
นิกันติ
(ความใคร่) 1.
ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ เพราะญาณมีกำลังในขณะแห่งวิปัสสนา
โลหิตย่อมผ่องใส ชื่อว่า โอภาส. เพราะโลหิตผ่องใสนั้น ความสว่าง
แห่งจิตย่อมเกิด. พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ครั้นเห็นดังนั้นแล้วพอใจ
แสงสว่างนั้น ด้วยคิดว่า เราบรรลุมรรคแล้ว. แม้ญาณก็เป็นวิปัสสนาญาณ
เท่านั้น. ญาณนั้นบริสุทธิ์ผ่องใส ย่อมเป็นไปแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลาย
พระโยคาวจรเห็นดังนั้นย่อมพอใจว่า เราได้บรรลุมรรคแล้วดุจในครั้ง
ก่อน. ปีติ ก็เป็นวิปัสสนาปีติเท่านั้น. ในขณะนั้น ปีติ 5 อย่างย่อมเกิด
ขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น. ปัสสัทธิ ได้แก่ ปัสสัทธิในวิปัสสนา. ใน
สมัยนั้น กายและจิตไม่กระวนกระวาย ไม่มีความกระด้าง ไม่มีความ
ไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้ ไม่มีความงอ. แม้สุขก็เป็นสุขใน
วิปัสสนาเท่านั้น. นัยว่าในสมัยนั้น ร่างกายทุกส่วนชุ่มชื่น ประณีตยิ่ง
เป็นสุขย่อมเกิดขึ้น. ศรัทธาเป็นไปในขณะแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า อธิโมกข์.
จริงอยู่ ในขณะนั้นศรัทธาที่มีกำลัง ซึ่งยังจิตและเจตสิกให้เลื่อมใสอย่าง
ยิ่ง ตั้งอยู่ด้วยดีย่อมเกิดขึ้น. ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า

ปัคคหะ. จริงอยู่ ในขณะนั้น ความเพียรที่ประคองไว้ดีแล้วไม่ย่อหย่อน
อันตนปรารภยิ่งแล้วย่อมเกิดขึ้น. สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า
อุปัฏฐาน. จริงอยู่ ในสมัยนั้น สติที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมเกิดขึ้น. อุเบกขามี
2 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและอาวัชชนะ (การพิจารณา). จริงอยู่
ในขณะนั้นญาณกล่าวคือวิปัสสนูเปกขา อันมีความเป็นกลางในการยึดถือ
สังขารทั้งปวง เป็นสภาพมีกำลังย่อมเกิดขึ้น. แม้อุเบกขาในมโนทวารา-
วัชชนะก็ย่อมเกิดขึ้น. อนึ่ง อุเบกขานั้นกล้าเฉียบแหลมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้
พิจารณาถึงฐานะนั้น ๆ. ความใคร่ในวิปัสสนา ชื่อว่า นิกนฺติ.
จริงอยู่ ในวิปัสสนูปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น ความใคร่มีอาการสงบ
สุขุม กระทำความอาลัยย่อมเกิดขึ้น. โอภาสเป็นต้นในวิปัสสนูปกิเลสนี้
ท่านกล่าวว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นวัตถุแห่งกิเลสมิใช่เพราะเป็นอกุศล.
แต่นิกันติความใคร่ เป็นทั้งอุปกิเลส เป็นทั้งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส. ก็ภิกษุ
ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมกำหนด
มรรคและมิใช่มรรคว่า ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น มิใช่มรรค แต่
วิปัสสนาญาณอันไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค. ญาณกำหนดรู้ว่า
นี้เป็นมรรค นี้มิใช่มรรคของผู้ปฏิบัตินั้น ท่านเรียกว่า มัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง).
ตั้งแต่นี้ไปวิปัสสนาญาณอันมีสัจจานุโลมิกญาณ (ญาณที่คล้อยตามสัจจะ)
ที่ 9 ถึงความเป็นยอดของวิปัสสนาญาณ 8 นี้ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ).
ชื่อว่าญาณ 8 เหล่านี้ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึง
เห็นทั้งความเกิดและความดับ 1 ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็น

ความดับ 1 ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว 1
อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ 1 นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ญาณคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย 1 มุญจิตุกามยตาญาณ ญาณคำนึง
ด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย 1 ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงด้วย
พิจารณาหาทาง 1 สังขารุเปกขาญาณ ญาณคำนึงด้วยความวางเฉยใน
สังขาร 1 คำว่า สัจจานุโลมิกญาณที่ 9 นี้เป็นชื่อของ อนุโลมญาณ
เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์จะให้วิปัสสนาญาณนั้นสมบูรณ์ ควรทำความเพียร
ในญาณเหล่านั้น ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ อันพ้นจากอุปกิเลสแล้วเป็นต้นไป.
เพราะเมื่อเห็นความเกิดความดับ อนิจจลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็น
จริง. เมื่อเห็นความบีบคั้นของความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ทุกข-
ลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นอยู่ว่า ทุกข์เท่านั้น
ย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นดับไป อนัตตลักษณะย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง.
อนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบการจำแนกนี้ว่า นิจฺจํ อนิจฺจลกฺขณํ ทุกขํ
ทุกฺขลกฺขณํ อนตฺตา อนตฺตลกฺขณํ.

ในวิภาคทั้ง 6 เหล่านั้น บทว่า อนิจฺจํ คือขันธ์ 5. เพราะเหตุไร
เพราะขันธ์ 5 นั้นมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป และมีความเป็นอย่างอื่น
หรือเพราะมีแล้วไม่มี. ชราชื่อว่าความเป็นอย่างอื่น. ความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป และความเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ. หรือความ
วิการแห่งอาการ กล่าวคือความมีแล้วไม่มี ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.
ขันธ์ 5 นั้นแลเป็นทุกข์ เพราะพระพุทธดำรัสว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ " เพราะเหตุไร. เพราะบีบคั้นอยู่เนือง ๆ. อาการบีบคั้น

เนือง ๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ. ขันธ์ 5 นั่นแลเป็นอนัตตา เพราะพระ-
พุทธดำรัสว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุไร. เพราะ
ไม่เป็นไปในอำนาจ. อาการไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ.
แม้ลักษณะ 3 อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้เห็นความเกิด
และความเสื่อมนั่นเอง. ผู้นั้นย่อมเห็นรูปธรรมและอรูปธรรมแม้อีก โดย
นัยมีอาทิว่า " อย่างนี้ ไม่เที่ยง." สังขารทั้งหลายของผู้นั้นย่อมมาสู่คลอง
เร็วพลัน. แต่นั้นเมื่อมีความสิ้นความเสื่อมและความดับของสังขารเหล่านั้น
พระโยคาวจรไม่กระทำความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไปหรือนิมิต
ให้เป็นอารมณ์ดำรงอยู่. นี้ชื่อว่า ภังคญาณ.
จำเดิมแต่ภังคญาณนี้เกิด พระโยคาวจรนี้เห็นความดับเท่านั้นว่า
สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมแตกดับไป ฉันใด แม้ในอดีต สังขารก็แตก
แล้ว แม้ในอนาคต ก็จักแตก ฉันนั้น. เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภังคานุ-
ปัสสนาญาณบ่อย ๆ กระทำให้มาก สังขารทั้งหลายอันแตกต่างกันใน
ภพ กำเนิด คติ ฐิติ และสัตตาวาส ย่อมปรากฏ เป็นภัยใหญ่หลวง ดุจ
หลุมถ่านเพลิงอันลุกโพลงฉะนั้น นี้ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภยตูปัฏฐานญาณนั้น ภพเป็นต้นทั้งหมด
ไม่เป็นที่พึ่งได้ มีโทษ ย่อมปรากฏดุจเรือนถูกไฟไหม้ ดุจข้าศึกเงื้อดาบ
ฉะนั้น. นี้ชื่อว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นสังขารโดยความมีโทษอย่างนี้ ความ
เบื่อหน่าย ความไม่ยินดีย่อมเกิดขึ้นในสังขารทั้งปวง เพราะสังขารทั้งหลาย
ในภพเป็นต้นมีโทษ นี้ชื่อว่า นิพพิทานุปัสสนาญาณ.

เมื่อเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นออกไปจาก
สังขารนั้นย่อมมีขึ้น. นี้ชื่อว่า มุญจิตุกามยตาญาณ.
การยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาด้วยปฏิ-
สังขานุปัสสนาญาณ เพื่อจะพ้นจากสังขารนั้น ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนา-
ญาณ.

พระโยคาวจรนั้น ยกสังขารทั้งหลายขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้
แล้วกำหนดอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่าเป็นตนหรือเนื่องด้วยตน
เพราะเห็นชัดซึ่งความเป็นอนัตตลักษณะในสังขารเหล่านั้น ละความกลัว
และความเพลิดเพลินในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยเป็นกลางในสังขาร
ทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่า เรา หรือ ของเรา เป็นผู้วางเฉยในภพทั้ง 3. นี้
ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ.
ก็สังขารุเปกขาญาณนั้น หากว่าพระโยคาวจรเห็นนิพพานเป็นทาง
สงบโดยความสงบ สละความเป็นไปแห่งสังขารทั้งปวงแล้วแล่นไป น้อม
ไปในนิพพาน หากไม่เห็นนิพพานโดยความเป็นธรรมชาติสงบ เป็นญาณ
มีสังขารเป็นอารมณ์เท่านั้น ย่อมเป็นไปบ่อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสสนา
3 อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา หรืออนัตตานุปัสสนา.
อนึ่ง สังขารุเปกขาญาณนั้น เมื่อตั้งอยู่อย่างนี้ก็ถึงความเป็นไปแห่งวิโมกข์
3 อย่างตั้งอยู่.
อนุปัสสนา 3 อย่าง ท่านเรียกว่า วิโมกขมุข คือ ทางแห่ง
วิโมกข์ 3.
ในวิโมกข์ 3 อย่างนี้ พระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นผู้มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้เฉพาะ อนิมิตต-
วิโมกข์.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้
เฉพาะ อัปปณิหิตวิโมกข์.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากไปด้วยความรัก ย่อม
ได้เฉพาะ สุญญตวิโมกข์.
พึงทราบความในวิโมกข์นี้ต่อไป อริยมรรคทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์ เป็นไปแล้วโดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์.
จริงอยู่ อริยมรรคนั้นชื่อว่าหานิมิตไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นด้วยธาตุอันไม่มี
นิมิต และชื่อว่าวิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
โดยนัยนี้เหมือนกัน อริยมรรคนั้นทำนิพพานให้เป็นอารมณ์เป็นไป
แล้วโดยอาการหาที่ตั้งมิได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.
พึงทราบว่า อริยมรรคทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็นไปแล้ว
โดยอาการเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์.
วิปัสสนาของกุลบุตรผู้บรรลุสังขารุเปกขาญาณ ย่อมถึงความสุดยอด.
วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ การวางเฉยในสังขารอย่างแรงกล้า ย่อมเกิด
ขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้เสพสังขารเปกขาญาณนั้น. มรรคจักเกิดขึ้นแก่
พระโยคาวจรนั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรวางเฉยในสังขาร พิจารณา
สังขารทั้งหลายว่า ไม่เที่ยงก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอนัตตาก็ดี ย่อมหยั่งลงสู่
ภวังค์ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อจากภวังค์ เพราะมนสิการ
โดยอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในสังขารุเปกขาญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการอยู่อย่างนั้น ปฐมชวนจิตย่อมเกิดขึ้น ปฐม-

ชวนจิตนั้นเรียกว่า บริกรรม. ต่อจากบริกรรมนั้น ทุติยชวนจิตย่อม
เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ทุติยชวนจิตนั้นเรียกว่า อุปจาร. แม้ต่อจาก
อุปจารนั้น ตติยชวนจิตย่อมเกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ตติยชวนจิตนั้น
เรียกว่า อนุโลม. นี้เป็นชื่อเรียกแยกกันของจิตเหล่านั้น แต่โดยไม่ต่างกัน
ชวนจิต 3 ดวงนี้ท่านเรียก อาเสวนะบ้าง บริกรรมบ้าง อุปจารบ้าง
อนุโลมบ้าง ก็อนุโลมญาณนี้เป็นญาณสุดท้ายของวิปัสสนา อันเป็น
วุฏฐานคามินี มีสังขารเป็นอารมณ์. แต่โดยตรงโคตรภูญาณเท่านั้น ท่าน
เรียกว่าเป็นที่สุดของวิปัสสนา. ต่อจากนั้น โคตรภูญาณเมื่อกระทำนิโรธ
คือนิพพานให้เป็นอารมณ์ ก้าวล่วงโคตรปุถุชน หยั่งลงสู่อริยโคตร เป็น
ธรรมชาติน้อมไปในนิพพานอารมณ์เป็นครั้งแรก อันไม่เป็นไปในภพอีก
ย่อมบังเกิดขึ้น. แต่ญาณนี้ไม่จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณ-
ทัสสนวิสุทธิเป็นอัพโภหาริกในระหว่างญาณทั้งสองเท่านั้น. เพราะญาณนี้
ตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา จึงถึงการนับว่าเป็นปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิหรือวิปัสสนา. เมื่อโคตรภูญาณกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ดับไป
แล้ว โสดาปัตตผลซึ่งทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยสัญญาที่โคตรภูญาณ
นั้นให้แล้ว กำจัดสังโยชน์คือทิฏฐิสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น. ในลำดับต่อจากนั้น ผลจิตสองหรือสาม
ขณะอันเป็นผลแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้น เพราะผลจิต
เป็นวิบากในลำดับต่อจากโลกุตรกุศล. ในที่สุดแห่งผลจิต มโนทวารา-
วัชชนจิตของพระโยคีนั้น เพราะตัดภวังค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
พิจารณา.
พระโยคีนั้นย่อมพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ

แต่นั้นพิจารณาผลว่า เราได้อานิสงส์นี้แล้ว. แต่นั้นพิจารณากิเลสที่ละ
ได้แล้วว่า กิเลสเหล่านั้นเราละได้แล้ว. แต่นั้นพิจารณากิเลสที่จะพึงฆ่าด้วย
มรรคเบื้องบน 3 ว่า กิเลสเหล่านี้ยังเหลืออยู่. ในที่สุดพิจารณาอมต-
นิพพานว่า ธรรมนี้อันเราแทงตลอดแล้ว. การพิจารณา 5 อย่างย่อม
มีแก่พระโสดาบันนั้นด้วยประการฉะนี้. ในที่สุดแห่งสกทาคามิผลและ
อนาคามิผลก็เหมือนกัน. แต่ในที่สุดแห่งอรหัตผลไม่มีการพิจารณากิเลส
ที่เหลือ. การพิจารณาทั้งหมดมี 19 อย่าง ดังนี้.
พระโยคาวจรนั้น ครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็นั่งบนอาสนะนั้น
นั่นเอง เห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว กระทำกามราคะและพยาบาทให้เบา
บาง ย่อมบรรลุ ทุติยมรรค. ในลำดับต่อจากทุติยมรรคนั้นก็บรรลุผล
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
แต่นั้น พระโยคาวจรทำการละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีส่วน
เหลือโดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมบรรลุ ตติยมรรค และบรรลุตติยผลตาม
นัยดังกล่าวแล้ว.
แต่นั้น ณ อาสนะนั้นเอง พระโยคาวจรเห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ทำการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มี
ส่วนเหลือ ย่อมบรรลุ จตุตถมรรค และบรรลุจตุตถผลโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
โดยเหตุเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้นก็เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้อรหันต
มหาขีณาสพ. ญาณในมรรค 4 เหล่านี้ ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ ด้วย
ประการฉะนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ด้วยสองบาทคาถานี้ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ
นิธาย ทณฺฑํ อเหฐยํ อญฺญตฺรมฺปิ เตสํ
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาใน

สัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นอันพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวถึง ศีลวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงศีลมีปาติโมกขสังวร
เป็นต้น. ด้วยบาทคาถานี้ว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ ไม่พึงปรารถนา
บุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เป็นอันท่านกล่าวถึง จิตตวิสุทธิ เพราะ
กล่าวถึงเมตตาเป็นต้น ด้วยการเว้นจากความกระทบกระทั่งและความยินดี.
ด้วยบทนี้ว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น เป็นอันท่านกล่าวถึง ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงการ
กำหนดนามรูปเป็นต้น. วิสุทธิ 3 ข้างต้นที่กล่าวแล้ว วิสุทธิ 4 ประการ
คือ กังขาวิตรณวิสุทธิ 1 มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ 1 ปฏิปทา-
ญาณทัสสนวิสุทธิ 1 ญาณทัสสนวิสุทธิ 1
เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว
(ครบ 7 ประการ) นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นเพียงหัวข้อในวิสุทธิ 7 นี้. แต่
ผู้ปรารถนาความพิสดาร พึงดูวิสุทธิมรรคแล้วถือเอาเถิด.
ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นี้
มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง 4 ไม่มีความขัดเคือง
ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย
ไม่หวาดสะดุ้ง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงถึงความเป็นที่รักของสกุล
ทั้งหลายเป็นต้น เข้าไปสำราญอยู่ยังภูเขาคันธมาทน์ ในบททั้งปวงก็มี
ความอย่างนี้.
จบอรรถกถานิทเทสแห่งคาถาที่ 1
ในอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คาถาที่ 2


2) สํสคฺคชาตสฺส ภวนฺติ เสฺนหา
เสฺนหนฺวยํ ทุกฺขมิทํ ปโหติ
อาทีนวํ เสฺนหชํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ทุกข์นี้
ย่อมเกิดตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่
ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สํสคฺคชาตสฺส คือ บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง. ในบทว่า
สํสคฺคชาตสฺส นั้น พึงทราบว่าความเกี่ยวข้องมีอยู่ 5 อย่าง คือ ทัสสน-
สังสัคคะ 1 สวนสังสัคคะ 1 กายสังสัคคะ 1 สมุลลปนสังสัคคะ 1
สัมโภคสังสัคคะ 1.

ในสังสัคคะเหล่านั้น ความกำหนัดเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งจักษุ-
วิญญาณ เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังคคะ (เกี่ยวข้องด้วย
การเห็น) ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะ มีดังนี้.
ลูกสาวกุฎุมพีเห็นภิกษุหนุ่มผู้อยู่ ณ กัลยาณีวิหาร เที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้านกาฬทีฆวาปี ในสีหลทวีป มีจิตปฏิพัทธ์ เมื่อไม่ได้สมความ
ปรารถนาด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาย. อีกตัวอย่างหนึ่ง ภิกษุหนุ่ม
รูปนั่นแหละ เห็นท่อนผ้าที่หญิงนั้นนุ่งห่ม คิดว่าเราคงไม่ได้อยู่ร่วมกับ
นางผู้นุ่งห่มผ้าอย่างนี้ แล้วหัวใจแตกถึงแก่มรณภาพ.