เมนู

ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

1

ว่าด้วยการเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด


[663] พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียด-
เบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดหนึ่ง ไม่พึงปรารถนาบุตร
จักปรารถนาสหายแต่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[664] คำว่า ทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย
ทณฺฑํ
ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการ
ทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า ทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวม
หมด. สัตว์ทั้งหลายทั้งผู้สะดุ้ง ทั้งผู้มั่นคง ท่านกล่าวว่า สัตว์ ในคำว่า
ภูเตสุ ดังนี้. สัตว์เหล่าใดยังละตัณหาไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดยังละความ
กลัวและความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้สะดุ้ง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว
ครั่นคร้าม ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้สะดุ้ง.
สัตว์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว และละความกลัวและความขลาดได้แล้ว
สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้มั่นคง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
เสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ผู้มั่นคง.

1. อธิบายคาถา 41 คาถา ของพระปัจเจกพุทธเจ้า 41 องค์ ในขัคควิสาณสูตร ขุ. สุ.
25/ข้อ 296.

อาชญามี 3 อย่าง คือ อาชญาทางกาย 1 อาชญาทางวาจา 1
อาชญาทางใจ 1 ชื่อว่า อาชญา.
กายทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางกาย.
วจีทุจริต 4 อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางวาจา.
มโนทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางใจ.
คำว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ความว่า วาง ปลง ละ ทิ้ง
ระงับ อาชญาในสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วางอาชญาในสัตว์
ทั้งปวง.
[665] คำว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง
ความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้แต่ผู้เดียว ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ท่อน
ไม้ ศัสตรา ด้วยสิ่งที่ทำให้เป็นแผลหรือด้วยเชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้
ทั้งปวง ด้วยฝ่ามือ ... หรือด้วยเชือก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เบียดเบียน
สัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง.
[666] ศัพท์ว่า ในอุเทศว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ
ดังนี้ เป็นศัพท์ปฏิเสธ.
บุตร 4 จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน 1 บุตรที่เกิดในเขต 1
บุตรที่เขาให้ 1 บุตรที่อยู่ในสำนัก 1 ชื่อว่า บุตร.
ความไปสบาย ความมาสบาย ความไปและความมาสบาย ความ
นั่งสบาย ความนอนสบาย ความพูดทักกันสบาย ความสนทนากัน สบาย
ความปราศรัยกันสบาย กับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สหาย
ในคำว่า สหายํ.
คำว่า ไม่พึงปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน ความว่า

ไม่พึงปรารถนา ไม่พึงยินดี ไม่พึงรักใคร่ ไม่พึงชอบใจบุตร จัก
ปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจ คนที่มีไมตรีกัน มิตรที่เห็นกันมา
มิตรที่คบกันมา หรือสหาย แต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
ปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ที่ไหน.
[667] คำว่า ผู้เดียว ในอุเทศว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวโดยส่วนแห่ง
บรรพชา ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง เพราะอรรถว่า
ละตัณหา เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะปราศจากโทสะโดย
ส่วนเดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วน
เดียว เพราะไปตามเอกายนมรรค เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณอย่าง
ยอดเยี่ยมแต่ผู้เดียว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชา
อย่างไร.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส ตัดกังวลใน
บุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและ
หนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มี
กังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง
เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้เดียว
โดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มี
เพื่อนสองอย่างไร.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้เดียวเสพอาศัยเสนาสนะ คือ ป่าและป่าชัฏอันสงัด มีเสียงน้อย
ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรม

ลับแห่งมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดิน
ผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว
กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยว
ไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา
อย่างไร.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียวไม่มีใครเป็นเพื่อนอย่างนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ เริ่มตั้งความเพียรมาก กำจัด
มารพร้อมทั้งเสนามารที่ไม่ปล่อยสัตว์ให้พ้นอำนาจ เป็นพวกพ้องของผู้
ประมาท ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งตัณหาอันมีข่าย
เเล่นไป ซ่านไป ในอารมณ์ต่าง ๆ.
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความ
เป็นอย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติ รู้โทษนี้และตัณหาเป็นแดน
เกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น
เว้นรอบ.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะ
โดยส่วนเดียวอย่างไร.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะ
ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละราคะเสียแล้ว. ชื่อว่าผู้เดียว
เพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโทสะเสียแล้ว. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโมหะเสียแล้ว.

ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะท่านละกิเลสแล้ว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว
อย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไปตามเอกายน-
มรรคอย่างไร.
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ท่านกล่าวว่า เอกายนมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่ง
ความสิ้นไปแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล
ย่อมทรงทราบธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว
ในปางก่อนพุทธาทิบัณฑิตข้ามแล้ว จักข้าม และข้ามอยู่
ซึ่งโอฆะ ด้วยธรรมอันเป็นทางนั้น
ดังนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้ซึ่งปัจเจก-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร.
ญาณในมรรค 4 ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ปัญญา
เป็นเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า ปัญญาเครื่องตรัสรู้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยปัจเจกพุทธญาณ
ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนาม-
รูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ. เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ตรัสรู้ว่า
เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณ
ดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะ
ดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ
นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควร
ให้เจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด ออก
แห่งผัสสายตนะ 6 ... แห่งอุปาทานขันธ์ 6 ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับโทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูต 4 ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้พร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้
ควรตามตรัสรู้ ควรตรัสรู้พร้อม ควรถูกต้อง ควรทำให้เเจ้ง ทั้งหมด
นั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.
จริยา (การเที่ยวไป) ในคำว่า จเร ดังนี้ มี 8 อย่าง คือ อิริยาปถ-
จริยา 1 อายตนจริยา 1 สติจริยา 1 สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1
มรรคจริยา 1 ปฏิปัตติจริยา 1 โลกกัตถจริยา 1.

การเที่ยวไปในอิริยาบถ 4 ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.
การเที่ยวไปในอายตนะภายในภายนอก 6 ชื่อว่า อายตนจริยา.
การเที่ยวไปในสติปัฏฐาน 4 ชื่อว่า สติจริยา.
การเที่ยวไปในฌาน 4 ชื่อว่า สมาธิจริยา.
การเที่ยวไปในอริยสัจ 4 ชื่อว่า ญาณจริยา.
การเที่ยวไปในมรรค 4 ชื่อว่า มรรคจริยา.
การเที่ยวไปในสามัญญผล 4 ชื่อว่า ปฏิปัตติจริยา.
โลกัตถจริยา คือ ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก ในพระ-
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก
ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเฉพาะบางส่วน ความประพฤติเป็นประ-
โยชน์แก่โลกในพระสาวกทั้งหลายเฉพาะบางส่วน.
ความประพฤติของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ ชื่อว่า
อิริยาปถจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า
อายตนจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ชื่อว่า สติจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ขวนขวายในอธิจิต ชื่อว่า สมาธิจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่า
ญาณจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่า มรรคจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ได้บรรลุผลแล้ว ชื่อว่า ปฏิปัตติจริยา.

ความประพฤติของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประ-
พฤติของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเฉพาะบางส่วน ความประพฤติของพระ-
สาวกทั้งหลายเฉพาะบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถจริยา. จริยา 8 ประการนี้.
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองใจย่อม
ประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ทำความ
ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ทั่วย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อม
ประพฤติด้วยวิญญาณ บุคคลผู้มนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหล้า ย่อมดำเนิน
ไปทั่วแก่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา บุคคลผู้
มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ย่อมประพฤติด้วยวิเศษ
จริยา จริยา 8 ประการนี้.
จริยาแม้อีก 8 ประการ
การประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา.
การประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภิโรปนจริยา.
การประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา.
การประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา.
การประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา.
การประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่า ปัคคหจริยา.
การประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา.
การประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา. จริยา 8 ประการนี้.
คำว่า เหมือนนอแรด ความว่า ขึ้นชื่อว่าแรดมีนอเดียว มิได้มี

นอที่สองฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นเหมือนนอแรด
เช่นกับนอแรด เปรียบด้วยนอแรด ฉันนั้นเหมือนกัน.
รสเค็มจัด กล่าวกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด กล่าวกันว่าเหมือน
ของขม รสหวานจัด กล่าวกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ของร้อนจัด กล่าวกันว่า
เหมือนไฟ ของเย็นจัด กล่าวกันว่าเหมือนหิมะ ห้วงน้ำใหญ่ กล่าวกันว่า
เหมือนสมุทร พระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาและพลธรรม กล่าวกันว่า
เหมือนพระศาสดาฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้น ย่อมเป็น
เหมือนนอแรด เช่นกับนอแรด เปรียบด้วยนอแรด เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อน
มีเครื่องผูกอันเปลื้องแล้ว ย่อมเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน
รักษา บำรุง เยียวยา ในโลก โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียน
สัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่พึงปรารถนาบุตร จัก
ปรารถนาสหายแต่ไหน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.


[668] ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้เป็นไปตามความรัก ย่อมปรากฏ บุคคลเมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[669] ความเกี่ยวข้องมี 2 อย่าง คือ ความเกี่ยวข้องเพราะได้
เห็น 1 ความเกี่ยวข้องเพราะได้ฟัง 1 ชื่อว่า สังสัคคะ ในอุเทศว่า
สํสคฺคชาตสฺส ภวนฺติ เสฺนหา ดังนี้.
ความเกี่ยวข้องเพราะได้เห็นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เห็นสตรีหรือกุมารีที่มีรูปสวย น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงานอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ก็ถือนิมิตเฉพาะส่วน ๆ ว่า ผม
งาม หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม
ปากงาม คิ้วงาม นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขางาม มืองาม
แข้งงาม นิ้วงาม หรือว่าเล็บงาม ครั้นพบเห็นเข้าแล้ว ย่อมพอใจ
รำพันถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยอำนาจความรัก นี้ชื่อว่า ความ
เกี่ยวข้องเพราะได้เห็น.
ความเกี่ยวข้องเพราะได้ฟังเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีสตรีหรือกุมารีรูปสวย น่าดู น่าชม
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง ครั้นได้ยินได้ฟังแล้ว
ย่อมชอบใจ รำพันถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยอำนาจความรัก
นี้ชื่อว่า เกี่ยวข้องเพราะได้ฟัง.
ความรัก ในคำว่า เสนฺหา มี 2 อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจ
ตัณหา 1 ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ 1.
ความรักด้วยอำนาจตัณหาเป็นไฉน สิ่งที่ทำให้เป็นเขต ทำให้
เป็นแดน ทำให้เป็นส่วน ทำให้มีส่วนสุดรอบ การกำหนดถือเอา ความ
ยึดถือว่าของเรา โดยส่วนแห่งตัณหาเท่าใด คือ บุคคลถือเอาว่า สิ่งนี้
ของเรา นั่นของเรา สิ่งเท่านั้นของเรา ของ ๆ เราโดยส่วนเท่านี้ รูป

ของเรา เสียงของเรา กลิ่นของเรา รสของเรา โผฏฐัพพะของเรา
เครื่องลาดของเรา เครื่องนุ่งห่มของเรา ทาสีของเรา ทาสของเรา แพะ
ของเรา แกะของเรา ไก่ของเรา สุกรของเรา ช้างของเรา โคของเรา
ม้าของเรา ลาของเรา ไร่นาของเรา ที่ดินของเรา เงินของเรา ทอง
ของเรา บ้านของเรา นิคมของเรา ราชธานีของเรา แว่นแคว้นของเรา
ชนบทของเรา ฉางข้าวของเรา คลังของเรา ย่อมยึดถือแผ่นดินใหญ่แม้
ทั้งสิ้นว่าของเรา ด้วยอำนาจตัณหา. ตัณหาวิปริต 108 นี้ชื่อว่าความรัก
ด้วยอำนาจตัณหา.
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 2. มิจฉา-
ทิฏฐิมีวัตถุ 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 1 ทิฏฐิเห็นปานนี้ ทิฏฐิไปแล้ว
ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิกวัดแก่ง ทิฏฐิเป็น
สังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ ทางผิด
คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยการแสวงหาผิด
ความถืออันวิปริต ความถืออันวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าจริงใน
วัตถุอันไม่จริง ทิฏฐิ 62 ประการ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง ความว่า
ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อมมี คือ ย่อม
เกิด ย่อมเกิดพร้อม ย่อมบังเกิด ย่อมบังเกิดเฉพาะ ย่อมปรากฏ เพราะ
เหตุแห่งวิปัลลาส และเพราะเหตุแห่งความเกี่ยวข้องด้วยการได้เห็นและ
การได้ยิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มี
ความเกี่ยวข้อง.

[670] ชื่อว่า ความรัก ในอุเทศว่า เสฺนหนฺวยํ ทุกฺขมิทํ ปโหติ
ดังนี้ ความรักมี 2 อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา 1 ความรัก
ด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ นี้
ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ทุกข์นี้... ย่อมปรากฏ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ
ฆ่าสัตว์บ้าง ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นหลายเรือน
บ้าง ทำการปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง คบ
ชู้ภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลผู้นั้นได้แล้วทูล
แด่พระราชาว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่ว ขอพระองค์ทรงลง
อาชญาตามพระประสงค์แก่ผู้นั้น พระราชาก็ทรงบริภาษผู้นี้ ผู้นั้นย่อม
เสวยทุกข์โทมนัส แม้เพราะเหตุแห่งบริภาษ ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้
เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี
เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัด ด้วยอำนาจ
ความยินดีของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้จองจำ
ผู้นั้นด้วยการตอกขื่อบ้าง ด้วยการผูกด้วยเชือกบ้าง ด้วยการจำด้วยโซ่
บ้าง ด้วยการผูกด้วยเถาวัลย์บ้าง ด้วยการกักไว้ในที่ล้อมบ้าง ด้วยการ
กักไว้ในบ้านบ้าง ด้วยการกักไว้ในนิคมบ้าง ด้วยการกักไว้ในนครบ้าง
ด้วยการกักไว้ในแว่นแคว้นบ้าง ด้วยการกักไว้ในชนบทบ้าง ทรงทำให้
อยู่ในถ้อยคำเป็นที่สุด (ทรงสั่งบังคับเป็นที่สุด) ว่า เจ้าจะออกไปจากที่นี้

ไม่ได้ ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งพันธนาการ ทุกข์
โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะ
เหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่ง
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้ริบทรัพย์
ของผู้นั้น ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัสแม้
เพราะเหตุแห่งความเสื่อมจากทรัพย์ ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะ
อะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุ
แห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
ของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้ทำ
กรรมกรณ์ต่าง ๆ แก่ผู้นั้น คือให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง
ให้ตอกคาบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง
ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูทั้งจมูกบ้าง ทำให้เป็นผู้มีหม้อข้าวเดือดบนศีรษะ
บ้าง ให้ถลกหนังศีรษะโล้นมีสีขาวเหมือนสังข์บ้าง ให้มีปากเหมือนปาก
ราหูบ้าง ทำให้มีไฟลุกที่มือบ้าง ให้ถลกหนังแล้วผูกเชือกฉุดไปบ้าง
ให้ถลกหนังเป็นริ้วเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง ทำให้มีห่วงเหล็กที่ศอกและ
เข่า แล้วใส่หลาวเหล็กตรึงไว้บ้าง ให้เอาเบ็ดเกี่ยวติดที่เนื้อปากบ้าง ให้
เอาพร้าถากตัวให้ตกไปเท่ากหาปณะบ้าง ให้เอาพร้าถากตัวแล้วทาด้วย
น้ำแสบบ้าง ให้นอนลงแล้วตรึงหลาวเหล็กไว้ในช่องหูบ้าง ให้ถลกหนัง
แล้วทุบกระดูกพันไว้เหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันอันร้อนบ้าง
ให้สุนัขกัดกินเนื้อที่ตัวบ้าง เอาหลาวเสียบเป็นไว้บ้าง และย่อมตัดศีรษะ

ด้วยดาบ ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัส แม้เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์ ทุกข์
โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะ
เหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความ
กำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น พระราชาเป็นใหญ่ในการลงอาชญา
ทั้ง 8 อย่างนี้ ผู้นั้น เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะกรรมของตน.
พวกนายนิรยบาล ย่อมให้ทำกรรมกรณ์ซึ่งมีเครื่องจำ 5 ประการ
กะสัตว์นั้น คือ ให้ตรึงหลาวเหล็กแกงที่มือ 2 ข้าง ที่เท้า 2 ข้าง ที่ท่าม
กลางอก สัตว์นั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ก็
ยังไม่ทำกาลกิริยา ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ทุกข์โทมนัส
อันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่ง
ความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัด
ด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น.
พวกนายนิรยบาลให้สัตว์เหล่านั้นนอนลงแล้วเอาผึ่งถาก และจับ
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง แล้วเอาพร้าถาก และให้เทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถ
แล้วให้วิ่งไปบ้าง วิ่งกลับไปบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดโชนมีเปลวลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงบ้าง ต้อนให้ขึ้นภูเขาถ่านเพลิงใหญ่ไฟติดโชนมีเปลวลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงบ้าง ให้กลับลงมาบ้าง และจับสัตว์นั้นเอาเท้าขึ้น เอา
ศีรษะลงแล้ว เหวี่ยงไปในหม้อเหล็กแดง อันไฟติดโชนมีเปลวรุ่งโรจน์
โชติช่วง สัตว์นั้นย่อมเดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กแดงเหมือนฟองน้ำข้าว
ที่กำลังเดือด สัตว์นั้นเมื่อเดือดร้อนพล่านอยู่ในหม้อเหล็กแดงเหมือนฟอง

น้ำข้าวที่กำลังเดือด ไปข้างบนคราวหนึ่ง ไปข้างล่างคราวหนึ่งบ้าง หมุน
ขวางไปคราวหนึ่งบ้าง สัตว์นั้น เสวยทุกขเวทนาอันกล้า แสบเผ็ดร้อนอยู่
ในหม้อเหล็กแดงนั้น แต่ก็ยังไม่ทำกาลกิริยา ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้น
ยังไม่สิ้น ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่ง
ความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และ
เพราะเหตุความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น พวกนายนิรยบาล
เหวี่ยงสัตว์นั้นลงในนรก ก็แหละนรกนั้นเป็นมหานรก
สี่เหลี่ยม มีสี่ประตู อันบาปกรรมจัดแบ่งออกเป็น
ส่วน ๆ มีกำแพงเหล็กกั้นไว้เป็นที่สุด ปิดครอบด้วยแผ่น
เหล็ก มีพื้นล้วนเป็นเหล็กไฟลุกโพลงอยู่ แผ่ไปร้อยโยชน์
โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกสมัย นรกใหญ่ ร้อนจัด มีเปลวไฟ
รุ่งโรจน์ยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุก น่ากลัว มีภัยเฉพาะ
หน้า มีแต่ทุกข์ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านหน้า เผา
เหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านหลัง กอง
เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านหลัง เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก
ผ่านไปจดฝาด้านหน้า กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้
เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านเหนือ
กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านเหนือ เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรม
ลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านใต้ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา
ด้านล่าง น่ากลัว เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไป
จนจดฝาปิด กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาเปิด น่ากลัว เผา

เหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดด้านพื้นล่าง แผ่น
เหล็กที่ติดไฟทั่ว แดงโชน ไฟโพลง ฉันใด อเวจีนรก
ข้างล่าง ก็ปรากฏแก่สัตว์ที่เห็นอยู่ในข้างบน ฉันนั้น.

เหล่าสัตว์ในอเวจีนรกนั้นชั่วช้ามาก ทำกรรมชั่วมา
มีแต่กรรมลามกอย่างเดียว ถูกไฟไหม้อยู่แต่ไม่ตาย กาย
ของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้นเสมอด้วยไฟ เชิญดูความ
มั่นคงของกรรมทั้งหลายเถิด ไม่มีเถ้า แม้แต่เขม่าก็ไม่มี
เหล่าสัตว์วิ่งไปทางประตูด้านหน้า (ที่เปิดอยู่) กลับจาก
ประตูด้านหน้าวิ่งมาทางประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตู
ด้านเหนือ กลับจากประตูด้านเหนือวิ่งมาทางประตูด้านใต้
แม้จะวิ่งไปทิศใด ๆ ประตูทิศนั้น ๆ ก็ปิดเอง สัตว์เหล่า
นั้นหวังจะออกไป แสวงหาทางที่จะพ้นไป แต่ก็ออกจาก
นรกนั้นไปไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย ด้วยว่ากรรม
อันลามก สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมด
ดังนี้.

ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก
เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุ
แห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของสัตว์นั้น.
ทุกข์อันมีในนรกก็ดี ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์
อันมีในเปรตวิสัยก็ดี ทุกข์อันมีในมนุษย์ก็ดี เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุอะไร ทุกข์เหล่า

นั้น ย่อมมี ย่อมเป็น ย่อมเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ย่อม
ปรากฏ เพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุ
แห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
ของสัตว์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์นี้เป็นไปตามความรักย่อม
ปรากฏ.
[671] ชื่อว่า ความรัก ในอุเทศว่า อาทีนวํ เสฺนหชํ เปกฺข-
มาโน
ดังนี้ ความรักมี 2 อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา 1
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา
ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า เมื่อเห็นโทษอันเกิดแต่ความรัก ความว่า เมื่อเห็น เมื่อ
แลเห็น เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณาเห็น ซึ่งโทษในความรักด้วยอำนาจ
ตัณหา และในความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะ-
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ความรักทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้เป็นไปตามความรัก ย่อมปรากฏ บุคคลเมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[672] บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อมเป็นผู้มีจิตผูกพัน บุคคลเมื่อ

เห็นภัยนั้นในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[673] ชื่อว่า มิตร ในอุเทศว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
หาเปติ อตฺถํ ปฏิพทฺธจิตฺโต
ดังนี้ มิตรมี 2 พวก คือ มิตรคฤหัสถ์ 1
มิตรบรรพชิต 1.
มิตรคฤหัสถ์เป็นไฉน คฤหัสถ์บางคนในโลกนี้ ย่อมให้ของที่ให้
กันยาก ย่อมสละของที่สละกันยาก ย่อมทำกิจที่ทำกันยาก ย่อมอดทน
อารมณ์ที่อดทนกันยาก ย่อมบอกความลับแก่มิตร ย่อมปิดบังความลับ
ของมิตร ย่อมไม่ละทิ้งในคราวที่มีอันตราย ถึงชีวิตก็ยอมสละเพื่อประโยชน์
แก่มิตร เมื่อมิตรหมดสิ้น (ยากจน) ก็ไม่ดูหมิ่น นี้ชื่อว่า มิตรคฤหัสถ์.
มิตรบรรพชิตเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่เคารพ เป็นผู้ควรแก่ความสรรเสริญ เป็นผู้อดทนถ้อยคำ เป็นผู้
ทำถ้อยคำลึก และย่อมไม่ชักชวนในเหตุอันไม่ควร ย่อมชักชวนในอธิศีล
ย่อมชักชวนในการขวนขวาย ในการบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ย่อมชักชวนในการ
ขวนขวายในการบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ชื่อว่า มิตรบรรพชิต.
การไปสบาย การมาสบาย การไปและการมาสบาย การยืนสบาย
การนั่งสบาย การนอนสบาย การพูดสบาย การเจรจาสบาย การสนทนา
สบาย การปราศรัยสบายกับบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นท่านกล่าวว่า
เป็นคนที่มีใจดี.
คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป
ความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์ อุดหนุนเกื้อกูล

พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี คือ พวกมิตรที่เห็นกันมา พวกมิตรที่คบ
กันมา และพวกสหาย ย่อมทำให้ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
ประโยชน์ทั้งสองบ้าง ประโยชน์มีในชาตินี้บ้าง ประโยชน์มีในชาติหน้า
บ้าง ประโยชน์อย่างยิ่งบ้าง เสื่อมไป เสียไป ละไป อันตรธานไป
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี
ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป.
คำว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน ความว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันด้วยเหตุ 2
อย่าง คือ เมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไว้สูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน 1
เมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน 1.
เมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไวสูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างไร
บุคคลเมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไว้สูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันโดยถ้อยคำ
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะมากแก่ฉัน ฉันอาศัยท่านทั้งหลาย ย่อม
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนอื่น ๆ
ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำแก่ฉัน คนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้อาศัย
ท่านทั้งหลาย เห็นกะท่านทั้งหลาย ชื่อและสกุลของมารดาบิดาเก่าแก่
ของฉันเสื่อมไปแล้ว ฉันย่อมรู้ได้เพราะท่านทั้งหลาย ฉันเป็นกุลุปกะของ
อุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น (ก็เพราะท่านทั้งหลาย).
เมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างไร
บุคคลเมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน โดย
ถ้อยคำอย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมากแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาศัย
ฉัน จึงถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้น

จากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฉันย่อมบอกบาลีบ้าง อรรถกถา
บ้าง ศีลบ้าง อุโบสถบ้าง แก่ท่านทั้งหลาย ฉันย่อมอธิษฐานนวกรรม
(เพื่อท่านทั้งหลาย) ก็แหละเมื่อเป็นดังนี้ ท่านทั้งหลายยังสละฉันไป
สักการะเคารพนับถือบูชาบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อ
อนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อม
เป็นผู้มีจิตผูกพัน.
[674] คำว่า ภัย ในอุเทศว่า เอตํ ภยํ สนฺถเว เปกฺขมาโน
ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียนผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัย
คือทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาฉลาม ภัยแต่
การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้าม
ในบริษัท เหตุที่น่ากลัว ความเป็นผู้ครั่นคร้าม ความเป็นผู้มีขนลุก
ขนพอง ความที่จิตหวาดเสียว ความที่จิตสะดุ้ง.
ความสนิทสนม ในคำว่า สนฺถเว มี 2 อย่าง คือ ความสนิท-
สนมด้วยอำนาจตัณหา 1 ความสนิทสนมด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อ
ว่า ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความสนิทสนมด้วย
อำนาจทิฏฐิ.
คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม ความว่า เมื่อเห็น เมื่อ
แลเห็น เมื่อเพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งภัยนี้ในความสนิทสนม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อมเป็นผู้มีจิตผูกพัน บุคคลเมื่อ
เห็นภัยนี้ในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[675] พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตร
เเละภรรยาทั้งหลาย กว้างขวาง เกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[676] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า วํโส ในอุเทศว่า วํโส วิสาโลว
ยถา วิสตฺโต
ดังนี้ ในพุ่มไม้ไผ่มีหนามมาก รก ยุ่ง เกี่ยวกัน ข้องกัน
คล้องกัน พันกัน ฉันใด ตัณหา ราคะ สาราคะ ความกระหยิ่ม
ความยินดี ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความ
กำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ
กำหนัด ความกำหนัดรอบ ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความ
ลวง ตัณหาอันให้สัตว์เกิด ตัณหาอันให้เกี่ยวข้องไว้กับทุกข์ ตัณหาอัน
เย็บไว้ ตัณหาดังข่าย ตัณหาดังแม่น้ำ ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์
ต่าง ๆ ความเป็นผู้หลับ ตัณหาอันแผ่ไป ตัณหาอันให้อายุเสื่อมไป
ตัณหาอันเป็นเพื่อนสอง ความตั้งไว้ ตัณหาอันนำไปในภพ ตัณหาดังป่า
ตัณหาดังหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ความสนิทสนม ความรัก ความเพ่ง ความ
ผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความ
หวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ

ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังใน
ชีวิต ความชอบ ความชอบทั่วไป ความชอบเฉพาะ กิริยาที่ชอบ
ความเป็นผู้ชอบ ความโลภมาก กิริยาที่โลภมาก ความเป็นผู้โลภมาก
ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็นผู้ไม่ใคร่ดี ความกำหนัดในอธรรม
ความกำหนัดไม่สม่ำเสมอ ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่
ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความปรารถนาดี กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในความ
ดับ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา กิเลสดังห้วงน้ำ กิเลสอันประกอบไว้ กิเลสอันร้อยไว้
ความถือมั่น ความกั้น ความบัง ความปิด ความผูก ความเศร้าหมอง
ความนอนตาม ความกลุ้มรุม ตัณหาดังเถาวัลย์ ความปรารถนาต่าง ๆ
มูลแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร อำนาจมาร
ที่อยู่ของมาร เครื่องผูกของมาร แม่น้ำคือตัณหา ข่ายคือตัณหา โซ่คือ
ตัณหา ทะเลคือตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็น
ตัณหาอันเกาะเกี่ยว ฉันนั้นเหมือนกัน.
ตัณหาชื่อวิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา นี้ เพราะอรรถว่า กระไร
เพราะอรรถว่า แผ่ไป ว่ากว้างขวาง ว่าซึมซาบไป ว่าครอบงำ ว่านำ
พิษไป ว่าให้กล่าวผิด ว่ามีรากเป็นพิษ ว่ามีผลเป็นพิษ ว่ามีการบริโภค
เป็นพิษ.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหากว้างขวาง แผ่ไป ซึมซาบไป ในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ

อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานา-
สัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต
ปัจจุบัน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า... พุ่มไม้ไผ่ที่ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด.
[677] ชื่อว่า บุตร ในอุเทศว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา
ดังนี้. บุตรมี 4 จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน 1 บุตรที่เกิดในเขต 1
บุตรที่เขาให้1 บุตรที่อยู่ในสำนัก 1. ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ. ตัณหา
ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า อเปกฺขา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย.
[678] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า ไม้ไผ่ ในอุเทศว่า วํสกฬีโรว
อสชฺชมาโน
ดังนี้ หน่อไม้อ่อนทั้งหลายในพุ่มไม้ไผ่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ติด
ไม่ขัด ไม่พัวพัน ออกไป สละออกไป พ้นไป ฉันใด.
ความขัดข้องมี 2 อย่าง คือ ความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา 1
ความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้องด้วยอำนาจ
ตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้น ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา สละคืนความขัดข้องด้วยอำนาจ
ทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้
สละคืนความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ข้อง ไม่ยึดถือ ไม่พัวพัน ใน
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนา-
สนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอก-

โวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูป
ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และในธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง
ออกไป สลัดออกไป พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดน
อยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้
ไผ่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พุ่มไม้ไผ่ผู้ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตร
และภรรยาทั้งหลาย กว้างขวาง เกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[679] มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกไว้ ย่อมไปเพื่อ
หาอาหารตามความประสงค์ ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ฉันนั้น.

[680] เนื้อ 2 ชนิด คือ เนื้อทราย 1 เนื้อสมัน 1 ชื่อว่า มฤค
ในอุเทศว่า มิโค อรญฺญมฺหิ ยถา อพนฺโธ เยนิจฺฉถํ คจฺฉติ โคจราย
ดังนี้
เนื้อที่อาศัยอยู่ในป่า ปราศจากการระแวงภัยเดินไป ปราศจาก
การระแวงภัยยืนอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนั่งอยู่ ปราศจากการระแวง
ภัยนอนอยู่ ฉันใด.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เนื้อที่อาศัยป่า เที่ยวไปในป่าใหญ่ ปราศจากความรังเกียจเดิน
ไป ปราศจากความรังเกียจยืนอยู่ ปราศจากความรังเกียจนอนอยู่ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเนื้อนั้นมิได้ไปในทางของพราน
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้บอด กำจัดมารให้เป็นผู้
ไม่มีทาง ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามกมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน อันมีความผ่องใส แห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่... ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามก
มองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข... ไปแล้วสู่สถานที่ที่
มารมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่... ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามกมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสา-

นัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้... ไปแล้วสู่สถานที่
ที่มารมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการ
ทั้งปวงแล้ว บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหา
ที่สุดมิได้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี ล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุเนวสัญญานาสัญญา-
ญายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า นี้สงบ นี้ประณีต ล่วงเนวสัญญานาสัญ-
ยตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และ
อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้บอด กำจัดมารให้เป็นผู้ไม่มีทาง
ไปแล้วสู่สถานทีที่มารมองหาไม่เห็น ภิกษุนั้นข้ามตัณหาอันเกี่ยวข้องใน
โลกแล้ว เป็นผู้ปราศจากการระแวงภัยเดินไป ปราศจากการระแวงภัย
ยืนอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนั่งอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนอนอยู่
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุไม่อยู่ในทางของมารผู้ลามก ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เนื้อในป่าอันเครื่องผูกอะไร ๆ ไม่ผูก
แล้ว ย่อมไปเพื่อหาอาหารตามความประสงค์ ฉันใด.
[681] คำว่า วิญฺญู ในอุเทศว่า วิญฺญู นโร เสริต เปกฺขมาโน
ดังนี้ ความว่า ผู้รู้แจ้ง เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส.
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ มาณพ โปสชน บุคคล ชีวชน

ชาตุชน ชันตุชน อินทคุชน (ชนผู้ดำเนินโดยกรรมใหญ่) มนุชะ. ชื่อว่า
เสรี ได้แก่ เสรี 2 อย่าง คือ ธรรมเสรี 1 บุคคลเสรี 1.
ธรรมเสรีเป็นไฉน สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ชื่อว่า ธรรม-
เสรี.
บุคคลเสรีเป็นไฉน บุคคลใดประกอบด้วยเสรีธรรมนี้ บุคคลนั้น
ท่านกล่าวว่า บุคคลเสรี.
คำว่า นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็นธรรมอันถึงความเป็นเสรี ความ
ว่า นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณาดู
ซึ่งธรรมอันถึงความเป็นเสรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันถึงความเป็นเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกแล้ว ย่อมไป
เพื่อหาอาหารตามความประสงค์ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.


[682] ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่
ที่ยืน ที่เดินและที่เที่ยวไป บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอัน
ให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

เหล่าใด บุคคลเหล่าใดท่านกล่าวว่า สหาย ในอุเทศว่า อามนฺตนา โหติ
สหายมชฺเฌ วาเส ฐาเน คมเน จาริกาย
ดังนี้.
คำว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน
ที่เดิน และที่เที่ยวไป
ความว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษา
ประโยชน์ตน การปรึกษาประโยชน์ผู้อื่น การปรึกษาประโยชน์ทั้งสอง
ฝ่าย การปรึกษาประโยชน์ปัจจุบัน การปรึกษาประโยชน์ภายหน้า การ
ปรึกษาปรมัตถประโยชน์ แม้ในที่อยู่ แม้ในที่ยืน แม้ในที่เดิน แม้ใน
ที่เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษา
ทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป.
[684] คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี
ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา
ความว่า สิ่งนี้ คือการครองผ้ากาสายะที่เป็น
บริขาร อันพวกคนพาล คือพวกเดียรถีย์ ผู้เป็นอสัตบุรุษ ไม่ปรารถนา
สิ่งนี้ คือการครองผ้ากาสายะที่เป็นบริขาร อันบัณฑิต คือพระพุทธเจ้า
สาวกของพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสัตบุรุษปรารถนา
แล้ว.
ชื่อว่า เสรี ได้แก่เสรี 2 อย่าง คือ ธรรมเสรี 1 บุคคลเสรี 1.
ธรรมเสรีเป็นไฉน สติปัฏฐาน 4 ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้
ชื่อว่าธรรมเสรี.
บุคคลเสรีเป็นไฉน บุคคลใดประกอบแล้วด้วยธรรมเสรีนี้ บุคคล
นั้นท่านกล่าวว่า บุคคลเสรี.
คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวก
คนชั่วไม่ปรารถนา
ความว่า บุคคลเมื่อเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู

เมื่อพิจารณาดู ซึ่งบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วปรารถนา
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่
ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอัน
ให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[685] การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางแห่งสหาย
แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก บุคคลเมื่อเกลียดความ
พลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[686] ชื่อว่า การเล่น ในอุเทศว่า ขิฑฺฑา รติ โหติ สหาย-
มชฺเฌ
ดังนี้ ได้แก่การเล่น 2 อย่าง คือ การเล่นกางกาย 1 การเล่น
ทางวาจา 1.
การเล่นทางกายเป็นไฉน ชนทั้งหลายเล่นช้างบ้าง เล่นม้าบ้าง
เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกบ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นหมากเก็บ
บ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่ง
บ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นตีคลีบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง
เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง

เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทาย
ใจกันบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย.
การเล่นทางวาจาเป็นไฉน เล่นตีกลองด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย
ปาก เล่นแกว่งบัณเฑาะว์ด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นเป่าปาก เล่นตี
ตะโพนด้วยปาก เล่นร้องรำ เล่นโห่ร้อง เล่นขับเพลง เล่นหัวเราะ นี้
ชื่อว่าการเล่นทางวาจา.
คำว่า ความยินดี ในคำว่า รติ นั้น เป็นเครื่องกล่าวถึง ความ
กระสัน การไปสบาย การมาสบาย . . . การปราศรัยสบาย กับบุคคล
เหล่าใด บุคคลเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สหาย ในอุเทศว่า สหายมชฺเฌ
ดังนี้.
คำว่า การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ความว่า
การเล่นและความยินดี ย่อมมีในท่ามกลางสหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย.
[687] ชื่อว่า บุตร ในอุเทศว่า ปุตฺเตสุ จ วิปุลํ โหติ เปมํ
ดังนี้ ได้แก่บุตร 4 จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน 1 บุตรที่เกิดใน
เขต 1 บุตรที่เขาให้ 1 บุตรที่อยู่ในสำนัก 1.
คำว่า แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก ความว่า ความรักใน
บุตรทั้งหลายมีประมาณยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่ความรักในบุตร
ทั้งหลายมีมาก.
[688] ของที่รัก ในอุเทศว่า ปิยวิปฺปโยคํ วิชิคุจฺฉมาโน
ดังนี้ มี 2 อย่าง คือ สัตว์อันเป็นที่รัก 1 สังขารอันเป็นที่รัก 1.
สัตว์อันเป็นที่รักเป็นไฉน ชนเหล่าใดมีอยู่ในโลกนี้ เป็นมารดาก็ดี

บิดาก็ดี พีน้องชายก็ดี พี่น้องหญิงก็ดี บุตรก็ดี ธิดาก็ดี มิตรก็ดี
พวกพ้องก็ดี ญาติก็ดี สายโลหิตก็ดี เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ
เกื้อกูล หวังความสบาย หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าสัตว์อันเป็นที่รัก.
สังขารอันเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ส่วนที่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ ชื่อว่าสังขารอันเป็นที่รัก.
คำว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก ความว่า เมื่อ
เกลียด เมื่ออึดอัด เมื่อเบื่อ ซึ่งความพลัดพรากจากของที่รัก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางแห่งสหาย
แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก บุคคลเมื่อเกลียดความ
พลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.


[689] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง 4 ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[690] คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง 4 ในอุเทศว่า จาตุทฺ-
ทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจ
ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็

เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
เมตตา เป็นจิตกว้างขวาง เป็นมหัคคตะ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
มีใจประกอบด้วยกรุณา. . . มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือน
กัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา เป็นจิตกว้างขวางถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ใน
ที่ทุกสถาน.
คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง 4 ไม่มีความขัดเคือง ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา จึงไม่มีความ
เกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศใต้ ใน
ทิศเหนือ ในทิศอาคเนย์ ในทิศหรดี ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในทิศใหญ่ ในทิศน้อย เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา
เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา เพราะเป็นผู้เจริ อุเบกขา จึงไม่มีความเกลียดชัง
สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ฯ ล ฯ ในทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง 4 ไม่มีความขัดเคือง.
[691] คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และไม่ถึงความแสวงหาผิด
อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง (ไม่ขวนขวาย)
เมื่อได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี

ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ในจีวรสันโดษนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านี้ ท่านกล่าวว่า ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่า
เป็นวงศ์เลิศอันมีมาแต่โบราณสมัย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้ง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และ
ไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร เมื่อไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง เมื่อได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ใน
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่าน
กล่าวว่าดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศอันมีมา
แต่โบราณสมัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
[692] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี
ดังนี้ ได้แก่อันตราย 2 อย่าง คือ อันตรายปรากฏ 1 อันตรายปกปิด 1.
อันตรายปรากฏเป็นไฉน ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ พวกโจร
พวกคนที่ทำกรรมแล้วหรือที่ยังไม่ได้ทำกรรม โรคตา โรคหู โรคจมูก

โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคเรอ
โรคมองคร่อ โรคร้อนใน โรคผอม โรคในท้อง โรคลมวิงเวียน โรค
ลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค
หืด โรคลมบ้าหมู หิตด้าน หิดเปื่อย โรคคัน ขี้เรื้อนกวาง โรค
ลักปิดลักเปิด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวง โรคต่อมแดง
บานทะโรค อาพาธเกิดแต่ดี อาพาธเกิดแต่เสมหะ อาพาธเกิดแต่ลม
อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิด
เพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่เท่ากัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิด
เพราะผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวด
อุจจาระ ปวดปัสสาวะ หรือว่าสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ.
อันตรายปกปิดเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กาม
ฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความ
ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง
ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
อันตราย ชื่อว่า ปริสฺสยา เพราะอรรถว่า กระไร เพราะอรรถว่า
ครอบงำ ว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม ว่าอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้น.

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร อันตรายเหล่านั้น
ย่อมครอบงำ ย่อมทับ ย่อมท่วมทับ ย่อมเบียดเบียนบุคคลนั้น ชื่อว่า
อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร
อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรม
ทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลายเหล่าไหน อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย
เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์
ความปฏิบัติโดยสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ การประกอบความเพียร สติสัมปชัญญะ ความหมั่นในการเจริญ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไป
เพื่อความเสื่อมอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นอย่างไร
อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัยอัตภาพ ย่อม
เกิดขึ้นในอัตภาพนั้น เหล่าสัตว์ผู้อาศัยโพรงย่อมอยู่ในโพรง เหล่าสัตว์
ผู้อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ เหล่าสัตว์ผู้อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า เหล่าสัตว์ที่
อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัย
อัตภาพย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพ ฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าอันตราย เพราะ
อรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพอย่างนี้.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส
ที่เป็นอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่
ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเห็นรูปด้วยตา อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริ
ด้วยความระลึกถึงอันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้
อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์.
อีกประการหนึ่ง เพราะฟังเสียงด้วยหู เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก
เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริด้วยความระลึก อันเกื้อกูลแก่
สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่
ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึง
กล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น
ย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่าผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่เป็นอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างนี้
แล ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพ
นั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ เป็นมลทินในระหว่าง เป็นไพรีใน
ระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
3 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทสะ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมหะเป็นมลทินใน
ระหว่าง เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล เป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึก
ในระหว่าง
โลภะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม โลภะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ
นั้น.
โทสะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโกรธย่อมไม่รู้จักอรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
โทสะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
ในขณะนั้น.
โมหะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง
จิตให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึง
ภัยนั้น คนหลงย่อมไม่รู้จักอรรถ คนหลงย่อมไม่เห็น

ธรรม โมหะย่อมครอบงำนรชนรนขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น.

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย 3 ประการแล เมื่อเกิด
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก. ธรรมอันกระทำอันตราย 3 ประการเป็นไฉน ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โทสะแล ฯ ล ฯ ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โมหะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย 3 ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่ผาสุก.
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมเบียด-
เบียนบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่เกิดแล้วในตนของ
ตน เบียดเบียนไม้ไผ่ฉะนั้น.

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ราคะ โหสะ โมหะ ความไม่ยินดี ความยินดี
ความเป็นผู้ขนลุกขนพอง มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่
อัตภาพนี้ ความตรึกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ย่อมผูก
สัตว์ไว้ เหมือนพวกเด็ก ๆ ผูกกาไว้ฉะนั้น.

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ความว่า ครอบงำ คือ ไม่ยินดี
ท่วมทับ บีบคั้น กำจัด ซึ่งอันตรายทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย.
คำว่า ผู้ไม่มีความหวาดเสียว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น ไม่ขลาด ไม่มีความหวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี เป็นผู้ละความ
กลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง 4 ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[693] แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ

ขวนขวายน้อย ในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยว ไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[694] คำว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็นผู้อันคนอื่น
สงเคราะห์ยาก
ความว่า แม้บรรพชิตบางพวกในศาสนานี้ เมื่อคนอื่น
ให้นิสัยก็ดี ให้อุเทศก็ดี ให้ปริปุจฉาก็ดี ให้จีวรก็ดี ให้บาตรก็ดี ให้
ภาชนะที่ทำด้วยโลหะก็ดี ให้ธมกรกก็ดี ให้ผ้ากรองน้ำก็ดี ให้ลูกตาลก็ดี
ให้รองเท้าก็ดี ให้ประคดเอวก็ดี ย่อมไม่ฟัง ไม่ตั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิต
เพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ เป็นผู้ประพฤติหยาบ เบือนหน้าไป
โดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็น
ผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก.
[695] คำว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ความว่า แม้
คฤหัสถ์บางพวกในโลกนี้ เมื่อคนอื่นให้ช้างก็ดี ให้รถก็ดี ให้นาก็ดี ให้
ที่ดินก็ดี ให้เงินก็ดี ให้ทองก็ดี ให้บ้านก็ดี ให้นครก็ดี ให้ชนบทก็ดี
ย่อมไม่ฟัง ไม่ทั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ
เป็นผู้ประพฤติหยาบ ย่อมเบือนหน้าไปโดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน.
[696] ชนทั้งปวงยกตนเสีย ท่านกล่าวในอรรถนี้ว่า พึงเป็นผู้มี
ความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย.
คำว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย
ความว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย คือพึงเป็นผู้ไม่ห่วงใย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ
ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[697] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว
เหมือนต้นทองหลาง มีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[698] ผม หนวด ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
แต่งตัว เครื่องประดับ ผ้า ผ้าห่ม ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด
เครื่องอาบน้ำ เครื่องตัด คันฉ่อง เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา
เครื่องผัดหน้า เครื่องทาปาก เครื่องประดับมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า
กล้อง ดาบ ร่ม รองเท้า กรอบหน้า ดาบเพชร (หรือเครื่องประดับ
ข้อมือ) พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้าชายยาว ดังนี้เป็นตัวอย่าง ท่านกล่าวว่า
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โวโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า ปลงเสียแล้วแห่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ความว่า ปลง-
เสียแล้ว คือ วางแล้ว ทิ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปลงเสียแล้ว
ซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์.
[699] คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดเครื่องหมายคฤหัสถ์ให้ตกไปแล้ว เหมือน

ต้นทองหลางมีใบเหลืองร่วงหล่นไปแล้วฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นไปแล้ว.
[700] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นวีรชน ในอุเทศว่า
เฉตฺวาน วีโร คิหิพนฺธนานิ ดังนี้ เพราะอรรถว่า มีความเพียร ว่าผู้อาจ
ว่าผู้องอาจ ว่าผู้สามารถ ว่าผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่
หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ผู้ละความกลัว ความขลาดแล้ว ผู้
ปราศจากขนลุกขนพอง.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ท่านเว้นแล้วจากความชั่ว
ทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ ล่วงพ้นทุกข์ในนรกเสียแล้ว
อยู่ด้วยความเพียร มีความเป็นผู้กล้า มีความเพียร ท่าน
กล่าวว่าเป็นวีรชน ผู้คงที่ เป็นจริงอย่างนั้น.

บุตร ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน
เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี เเว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง และวัตถุ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์.
คำว่า เป็นวีรชน . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นวีรชน ตัด ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้
สิ้นสุดให้ถึงความไม่มี ซึ่งเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นวีรชน . . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว

เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.


[701] ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.

[702] คำว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าพึงได้
พึงได้เฉพาะ พึงประสบ พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำสายกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[703] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ
ธีรํ
ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยปฐม-
ฌานแม้ด้วยทุติยฌาน แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน อยู่ด้วย -
กรรมดีแม้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยกรุณาเจโตวิมุตติ แม้ด้วย
มุทิตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยอุบกขาเจโตวิมุตติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วย
อากาสานัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ แม้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ เป็นบัณฑิต มี
ความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์.
[704] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺส-
ยานิ
ดังนี้ ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ อันตรายปรากฏ 1 อันตราย
ปกปิด 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงแล้ว ความว่า ครอบงำ ย่ำยี
ท่วมทับ กำจัดอันตรายทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำ
อันตรายทั้งปวงแล้ว.
[705] คำว่า พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเป็นผู้ปลื้มใจ มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจ
ชื่นชม มีใจปีติกล้า มีใจเบิกบาน เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถ รักษา บำรุง เยียวยา ไปกับสหายผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปลื้มใจเที่ยวไปกับสหายนั้น.
คำว่า มีสติ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติแก่กล้าอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึก ตามระลึกได้ซึ่งกรรมที่ทำ
และคำที่พูดแล้วแม้นานได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปลื้มใจ
มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.

[706] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.

[707] คำว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าไม่พึงได้
ไม่พึงได้เฉพาะ ไม่พึงประสบ ไม่พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือที่เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[708] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ
ธีรํ
ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดีแม้
ด้วยปฐมฌาน ฯ ล ฯ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ความว่า เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ คือ เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วย
กรรมดี เป็นนักปราชญ์.
[709] คำว่า ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว เสด็จ
เที่ยวไปพระองค์เดียว
ความว่า พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก
แล้ว ทรงชนะสงคราม กำจัดข้าศึกแล้ว ได้ความเป็นใหญ่ มีคลัง
บริบูรณ์ ทรงละแล้วซึ่งแว่นแคว้น ชนบท คลัง เงิน ทองเป็นอันมาก
และนคร ทรงปลงพระเกสา พระมัสสุแล้ว ทรงผ้ากาสายะ เสด็จออก

ผนวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จเที่ยวไป เที่ยวไป
ทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา ไปผู้เดียว ฉันใด แม้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวล
ในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในมิตรและพวกพ้องแล้ว
ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ
เป็นผู้ไม่มีกังวล เที่ยวไป เดินไป พักผ่อน เป็นไป รักษา บำรุง
เยียวยา ไปผู้เดียวฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดังพระราชา ทรง
ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.


[710] เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม
โดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอ
กัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภค
ปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[711] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวไม่สงสัย เป็น
เครื่องกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น

เครื่องกล่าวไม่เป็นสองแยก เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองทาง เป็นเครื่อง
กล่าวไม่ผิด. คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน สหายผู้ใดเป็น
ผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ สหายผู้นั้นท่านกล่าวว่า สหายผู้ถึง
พร้อมด้วยธรรม ในคำว่า สหายสมฺปทํ ดังนี้.
คำว่า ย่อมสรรเสริญซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ความว่า ย่อม
สรรเสริญ คือ ย่อมชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมสรรเสริญ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมโดยแท้.
[712] คำว่า ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
ความว่า สหายทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ สหายทั้งหลายเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ควรเสพ คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควร
ไต่ถาม ควรสอบถาม สหายที่ประเสริฐกว่า หรือสหายที่เสมอกัน (เท่านั้น)
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ควรเสพสหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
(เท่านั้น).
[713] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น
ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
ดังต่อไปนี้ บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมี
โทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการหลอกลวง ด้วย
การพูดเลียบเคียง ด้วยความเป็นหมอดู ด้วยความเป็นคนเล่นกล ด้วย

การแสวงหาลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้จริง ด้วยการให้ไม้ไผ่ ด้วยการ
ให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ ด้วยการให้จุรณ
ด้วยการให้ดิน ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ด้วยความ
เป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ด้วยความ
ประจบเขา ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ด้วยวิชา
ดูพื้นที่ ด้วยติรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม
ด้วยการเป็นทูต ด้วยการเดินรับใช้ ด้วยการเดินสาสน์ ด้วยทูตกรรม
ด้วยการให้บิณฑบาตอบแก่บิณฑบาต ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้โดยผิด
ธรรม โดยไม่สม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่าน
กล่าวว่า ผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการไม่หลอก-
ลวง ด้วยการไม่พูดเลียบเคียง ด้วยความไม่เป็นคนเล่นกล ด้วยการไม่
แสวงหาลาภด้วยลาภ ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้จริง ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่
ไม่ใช่ด้วยการให้ใบไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้ดอกไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้เครื่อง
อาบน้ำ ไม่ใช่ด้วยการให้จุรณ ไม่ใช่ด้วยการให้ดิน ไม่ใช่ด้วยการให้
ไม้สีฟัน ไม่ใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ไม่ใช่ด้วยความเป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ
ไม่ใช่ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ไม่ใช่ด้วยความประจบเขา
ไม่ใช่ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่
ไม่ใช่ด้วยติรัจฉานวิชา ไม่ใช่ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ไม่ใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์
ยาม ไม่ใช่ด้วยการเดินเป็นทูต ไม่ใช่ด้วยการเดินรับใช้ ไม่ใช่ด้วยการ
เดินสาสน์ ไม่ใช่ด้วยเวชกรรม ไม่ใช่ด้วยทูตกรรม ไม่ใช่ด้วยการให้

บิณฑบาตตอบแก่บิณฑบาต ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้ โดยธรรม
โดยสม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า ผู้
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ.
คำว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
ความว่า เมื่อไม่ได้ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ไม่พบ ไม่ปะสหายเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอัน
ไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วย
ธรรมโดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่
เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควร
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.


[714] บุคคลเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

[715] คำว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง ความว่า เห็น เห็น
แจ้ง เทียบเคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ.
คำว่า สุวณฺณเสฺส คือ ทองคำ. คำว่า สุกปลั่ง คือ บริสุทธิ์
เปล่งปลั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง.

[716] ช่างทอง ท่านกล่าวว่า กัมมารบุตร ในอุเทศว่า กมฺมาร-
ปุตฺเตน สุนิฏฺฐิตานิ
ดังนี้.
คำว่า ที่นายช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว ความว่า ที่นายช่างทองให้
สำเร็จดีแล้ว ทำดีแล้ว มีบริกรรมดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว.
[717] มือ ท่านกล่าวว่า ภุชะ ในอุเทศว่า สงฺฆฏฺฏยนฺตานิ
ทุเว ภุชสฺมึ
ดังนี้ กำไลมือสองวงในมือข้างหนึ่ง ย่อมเสียดสีกัน ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทบกระทั่งกันด้วยสามารถแห่งตัณหา สืบต่อใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย ในมนุษยโลก ในเทวโลก สืบต่อ
คติด้วยคติสืบต่ออุปบัติด้วยอุปบัติ สืบต่อปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ สืบต่อ
ภพด้วยภพ สืบต่อสงสารด้วยสงสาร สืบต่อวัฏฏะด้วยวัฏฏะ เที่ยวไป อยู่
ผลัดเปลี่ยน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สองวง
ในมือข้างหนึ่ง เสียดสีกันอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นาย
ช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้
เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[718] การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[719] คำว่า กับสหาย พึงมีแก่เราอย่างนี้ ความว่า ด้วยตัณหา

เป็นสหาย ตัณหาเป็นสหายมีอยู่ บุคคลเป็นสหายมีอยู่ ตัณหาเป็นสหาย
อย่างไร รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้ ผู้นั้นกล่าวว่า มีตัณหา
เป็นสหาย.
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น
อย่างอื่นไปได้.

ตัณหาเป็นสหายอย่างนี้.
บุคคลเป็นสหายอย่างไร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฟุ้งซ่านมิใช่
เพราะเหตุของตน มิใช่เพราะเหตุแห่งผู้อื่นให้ทำ มีจิตไม่สงบ คนเดียว
กลายเป็นคนที่สองบ้าง สองคนกลายเป็นคนที่สามบ้าง สามคนกลายเป็น
คนที่สี่บ้าง ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อมากในที่ที่ตนไปนั้น คือ พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องข้าว เรื่องน้ำ
เรื่องผ้า เรื่องดอกไม้ เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วย
ประการดังนี้ บุคคลเป็นสหายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้.
[720] ดิรัจฉานกถา 32 คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ
เรื่องความเจริญละความเสื่อมด้วยประการนั้น ท่านกล่าวว่า การพูดด้วย
วาจา ในอุเทศว่า วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา ดังนี้. ชื่อว่า ความ
เกี่ยวข้อง
ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง 2 อย่างคือ ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา 1

ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา นี้
ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การพูดด้วยวาจา
ก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี.
[721] ชื่อว่า ภัย ในอุเทศว่า เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน
ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียนผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัย
คือทุคติ ภัยแต่ลูกคลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่
การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้าม
ในประชุมชน เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนลุกขนพอง ความที่จิต
สะดุ้ง ความที่จิตหวั่นหวาด.
คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป ความว่า เมื่อเห็น เมื่อแลเห็น เมื่อ
ตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณา ซึ่งภัยนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[722] ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[723] คำว่า โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า กามา หิ จิตฺรา
มธุรา มโนรมา
ดังนี้ กามมี 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1
ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านั้นท่านกล่าวว่า กิเลส-
กาม.
คำว่า อันวิจิตร ความว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มี
กลิ่นชนิดต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ.
คำว่า มีรสอร่อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้
กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า เป็นกามสุข เป็นสุขเจือด้วยอุจจาระ เป็น
สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
ให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก เราย่อมกล่าวว่า ควรกลัวต่อความสุขนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย.
จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า
มโนรมา ดังนี้.
[724] คำว่า ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ ความว่า

ย่อมย่ำยีจิต คือ ย่อมให้จิตสะดุ้ง ให้เสื่อม ให้เสีย ด้วยรูปชนิดต่าง ๆ
ฯ ล ฯ ด้วยโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมย่ำยีจิต
ด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ.
[725] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
ดังต่อไปนี้ สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษแห่งกามเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยที่ตั้งแห่งศิลปะ คือ การนับ
นิ้วมือ การคำนวณ การประมาณ กสิกรรม พาณิชกรรม โครักขกรรม
เป็นนักรบ เป็นข้าราชการ หรือด้วยกิจอื่นซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ ทน
ต่อความหนาว ทนต่อความร้อน ถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัส
แห่งสัตว์เสือกคลาน เบียดเบียน ต้องตายเพราะความหิว ความกระหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามนี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกาม
เป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย
นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่อย่าง
นั้น โภคสมบัติเหล่านั้นย่อมไม่เจริญขึ้น กลับบุตรนั้นก็เศร้าโศก ลำบากใจ
ราพันเพ้อ ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า ความหมั่นของเราเป็น
หมันหนอ ความพยายามของเราไร้ผลหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ
แห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่ โภค-
สมบัติเหล่านั้นย่อมเจริญขึ้น กุลบุตรนั้นก็ได้เสวยทุกข์โทมนัส เพราะเหตุ

รักษาโภคสมบัติเหล่านั้น ด้วยคิดว่า โดยอุบายอะไร โภคสมบัติของเรา
จึงจะไม่ถูกพระราชาริบไป โจรจะไม่ลักไปได้ ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่ท่วม
พวกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ขนเอาไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครอง
อยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้นถูกพระราชาริบเอาไป ถูกโจรลักเอาไป
ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำท่วม หรือถูกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขนเอาไป กุลบุตร
ย่อมเศร้าโศก ฯ ล ฯ ถึงความหลงใหลว่า เรามีทรัพย์สิ่งใด แม้ทรัพย์
สิ่งนั้นหมดไปหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกัน
ได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระราชาวิวาทกับพระราชา
ก็ดี กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ดี พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ดี คฤหบดี
วิวาทกับคฤหบดีก็ดี มารดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับมารดาก็ดี
บิดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับบิดาก็ดี พี่น้องชายวิวาทกับพี่น้อง
หญิงก็ดี พี่น้องหญิงวิวาทกับพี่น้องชายก็ดี สหายวิวาทกับสหายก็ดี
ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่ง
กามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุแห่งกามนั้น
ประหารกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง
ด้วยศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงความทุกข์ปางตาย
บ้าง เพราะการประหารกันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้
เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกาม
เป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบ และ

โล่ จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว ย่อมเข้าสู่สงครามที่กำลังประชิดกันทั้งสอง
ฝ่าย เมื่อคนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คน
เหล่านั้นยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี และย่อมตัดศีรษะกันด้วยดาบ
ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้างในสงครามนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็น
กันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็น
อธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบและโล่
จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว เข้าไปสู่ป้อมอันมีปูนเป็นเครื่องฉาบทาบ้าง เมื่อ
คนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คนเหล่านั้น
ยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี รดด้วยโคมัยที่น่าเกลียดก็มี ทับด้วยฟ้า
ทับเหวก็มี ตัดศีรษะกันด้วยดาบก็มี ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง
คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในสงครามนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อบ้าง
ปล้นเรือนทุกหลังบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทาง
เปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาของชายอื่นบ้าง ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกาม
เป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง พวก

ราชบุรุษจับโจรคนนั้นได้แล้ว ให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้
บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยพลองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง
ฯ ล ฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง โจรเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้าง เพราะกรรมกรณ์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกาม
แม้นี้ เห็นกันได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมประพฤติ
ทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิการณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้น
ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่ง
กามแม้นี้ มีในสัมปรายภพ เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
คำว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า พบเห็น เทียบ-
เคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งโทษในกามคุณทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[726] คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[727] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า กามทั้งหลายเป็นเสนียด
เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย
ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นความ
ข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ ล้วนแล้วเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นภัย จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากภัยแม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้อันมีในสัมปราย-
ภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็น
ความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีใน
สัมปรายภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม.
สัตว์ที่เป็นปุถุชน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ เพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม และ

เป็นครรภ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด ภิกษุไม่ละฌาน
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นล่วงกามอันเป็นดังทางมีเปือกตม ข้าม
ได้ยาก ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นอย่างนั้น เข้าถึงชาติและ
ชรา ดิ้นรนอยู่.

เพราะฉะนั้น จึงว่า คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็น
อุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย.
[728] คำว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า
เห็น เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งภัยนี้ใน
กามคุณทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกาม
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[729] บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลานแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[730] ความหนาว ในอุเทศว่า สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทฺทํ
ปิปาสํ
ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ความหนาวย่อมมีด้วย

สามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ 1 ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดู
ภายนอก 1.
ความร้อน ในคำว่า อุณฺหํ ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ 2 ประการ
คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ 1 ความร้อนย่อม
มีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก 1.
ความหิว ท่านกล่าวว่า ขุทฺทา. ความอยากน้ำ ท่านกล่าวว่า
ปิปาสา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย.
[731] ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
ดังนี้ คือ ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
ลมมีธุลี ลมหนาว ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมบ้าหมู ลมแต่ครุฑ
ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ความร้อนแต่ดวงอาทิตย์ท่านกล่าวว่าแดด
แมลงตาเหลืองท่านกล่าวว่าเหลือบ งูท่านกล่าวว่าสัตว์เสือกคลาน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลาน.
[732] คำว่า ครอบงำแม้ภัยทั้งปวงนั้น ความว่า ครอบงำ
ปราบปราม กำจัด ย่ำยีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำแม้ภัย
ทั้งปวงนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลาน แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[733] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[734] ช้างตัวประเสริฐท่านกล่าวว่า นาค ในอุเทศว่า นาโค ว
ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา
ดังนี้. แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าเป็นนาค.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุไร พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความชั่ว ว่าไม่ถึง
ว่าไม่มา. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่า
ไม่ทำความชั่วอย่างไร อกุศลธรรมอันลามก ทำให้มีความเศร้าหมอง
ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้ง
แห่งชาติชราและมรณะต่อไป ท่านกล่าวว่า ความชั่ว.
พระขีณาสพย่อมไม่ทำความชั่วอะไร ๆ ในโลกเลย
สละแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งปวงและเครื่องผูกทั้งหลาย เป็น
ผู้หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่เกาะเกี่ยวในธรรมทั้งปวง ท่าน
กล่าวว่า เป็นนาค ผู้คงที่ มีตนเป็นอย่างนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความ
ชั่วอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึง
อย่างไร
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจราคะ ไม่ถึงด้วยอำนาจโทสะ

ไม่ถึงด้วยอำนาจโมหะ ไม่ถึงด้วยอำนาจมานพ ไม่ถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ
ไม่ถึงด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วยอำนาจ
อนุสัย ไม่ดำเนินออกเลื่อนเคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายอันให้เป็นพวก
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึงอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่มา
อย่างไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมา
สู่กิเลสทั้งหลาย ที่ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ด้วยสกทาคามิมรรค
ด้วยอนาคามิมรรค ด้วยอรหัตมรรค พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่านาค
เพราะเหตุว่าไม่มาอย่างนี้.

คำว่า เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ละ เว้น ปล่อยแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย เป็นผู้เดียว ย่างเข้า
ไปท่ามกลางป่า ย่อมเที่ยวไป เดินไป พักผ่อน ย่อมเป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ไปในป่า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ละ
เว้น ปล่อยแล้วซึ่งหมู่ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด คืออาศัย เสพ
เสนาสนะอันสงัด เป็นป่ารกชัฏมีเสียงน้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจาก
ลมแต่หมู่ชน เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว
เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน
จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เดินไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อน
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนนาคละ
แล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย.

[735] คำว่า มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง
ความว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว คือ เป็นช้างสูง
7 ศอกหรือ 8 ศอก ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนกัน
ฉันนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้วด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างมีตัวดังดอกบัว ฉันใด แม้พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น มีธรรมดังดอกบัว ด้วยดอกบัวคือโพชฌงค์ 7
ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างยิ่งด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความ
เร็ว ด้วยความกล้า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้
ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง.
[736] คำว่า ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็ฉันนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ คือ อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วย
ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง มุทิตาเจโต-
วิมุตติบ้าง อุเบกขาเจโตวิมุตติบ้าง อยู่ในป่าตามอภิรมย์ด้วยอากาสา-
นัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตน-
สมาบัติบ้าง เนวสัญญาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ผลสมาบัติบ้าง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อยู่ในป่าตามอภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[737] บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัย ด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[378] พึงทราบวินิจฉัย ในอุเทศว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติ
อันมีในสมัยด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีใน
ความคลุกคลีด้วยหมู่
ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
ในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักเป็นผู้ได้ตามประสงค์
ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือ
ความสงบ สุขในความตรัสรู้ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักได้ตามประสงค์ ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือความสงบ สุขในความตรัสรู้
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่
ยินดีในหมู่ บันเทิงในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักบรรลุ
ซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่งโลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีใน
สมัย ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักบรรลุซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่ง
โลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีในสมัย ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่.
[739] พระสุริยะ ท่านกล่าวว่า พระอาทิตย์. ในอุเทศว่า
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม ดังนี้ พระอาทิตย์นั้นเป็นโคดมโดยโคตร
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็เป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตรแห่งพระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์.
คำว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ความว่า ได้ฟัง ได้ยิน ศึกษา ทรงจำ
เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งถ้อยคำ คือ คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ ของ

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์เเห่ง
พระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุ
นั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในควานคลุกคลีด้วย
หมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.


[740] เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้
มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[741] สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 ท่านกล่าวว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม
ในอุเทศว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่สดับในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง เห็นเวทนา
โดยความเป็นตน ... เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ... เห็นสังขารโดยความ
เป็นตน... เห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง

เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ทิฏฐิเห็นปานนี้ ทิฏฐิ
ไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิกวัดแกว่ง
ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ
ทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความ
แสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่า
จริงในเรื่องอันไม่จริง ทิฏฐิ 62 เหล่านี้ เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม.
คำว่า ล่วงเสียแล้ว ความว่า ล่วงเสียแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วง
เลยแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย.
[742] มรรค 4 และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า มรรคนิยาม ในอุเทศว่า
ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค ดังนี้ เราประกอบแล้ว ถึงพร้อมแล้ว
บรรลุแล้ว ถูกต้องแล้ว ทำให้เเจ้งแล้วด้วยอริยมรรค 4 เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม.
คำว่า มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว ความว่า มีมรรคอันได้เเล้ว
มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว มีมรรคอันบรรลุแล้ว มีมรรคอันถูกต้องแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว.
[743] คำว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว คือ มีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว.
คำว่า อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย
ไม่ไปด้วยญาณอันเนื่องด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[744] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่โลภ ไม่โกหก ไม่
กระหาย ไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและโมหะ
กำจัดแล้ว ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[745] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความโลภ ในอุเทศว่า นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
ดังนี้.

ตัณหาอันเป็นความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัด
ขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังต้นตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
จึงเป็นผู้ไม่มีความโลภ วัตถุแห่งความโกหก ในคำว่า ไม่โกหก
มี 3 อย่าง คือ วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัย 1 วัตถุ
แห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถ 1 วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วน
แห่งการพูดอิงธรรม 1.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัยเป็นไฉน พวก
คฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความ
ปรารถนาครอบงำแล้ว มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก บอกเลิกรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรจะเที่ยวเลือกเก็บผ้า
เก่า ๆ จากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากตลาดบ้าง แล้วทำ
สังฆาฏิบริโภค นั่นเป็นความสมควร สมณะประสงค์อะไรด้วยบิณฑบาต
มีค่ามาก สมณะควรเลี้ยงชีพด้วยอาหารที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยว
แสวงหา นั่นเป็นความสมควร สมณะจะประสงค์อะไรด้วยเสนาสนะมีค่า
มาก สมณะพึงอยู่ที่โคนต้นไม้หรือพึงอยู่ในที่แจ้ง นั่นเป็นความสมควร
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันมีค่ามาก สมณะ
ควรทำยาด้วยมูตรเน่าบ้าง ด้วยชิ้นลูกสมอบ้าง นั่นเป็นความสมควร
เธอมุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก ก็บริโภคจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่

เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะที่เศร้าหมอง เสพคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ที่เศร้าหมอง.
พวกคฤหบดีก็รู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า สมณะรูปนี้มีความปรารถนา
น้อย เป็นผู้สันโดษ ชอบวิเวก ไม่เกี่ยวข้อง ปรารภความเพียร เป็นผู้
มีวาทะอันขจัดแล้ว ก็นิมนต์มากไปด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธา
จะประสบบุญเป็นอันมากก็เพราะมีปัจจัย 3 อย่าง พร้อมหน้ากัน คือ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา จะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะมีศรัทธาพร้อมหน้า 1
เพราะมีไทยธรรมพร้อมหน้า 1 เพราะมีทักขิไณยบุคคลพร้อมหน้า 1
ท่านทั้งหลายก็มีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมก็ปรากฏอยู่ และอาตมาผู้เป็น
ปฏิคาหกก็มีอยู่ ถ้าอาตมาจักไม่รับ ด้วยเหตุที่อาตมาไม่รับ ท่านทั้งหลาย
ก็จักเสื่อมบุญ อาตมาไม่มีความประสงค์ด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่าอาตมาจักรับ
เพื่ออนุเคราะห์แก่ท่านทั้งหลาย ภิกษุนั้นมุ่งความเป็นผู้อยากได้มาก ก็รับ
จีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มาก. ความสยิ้วหน้า ความเป็นผู้สยิ้วหน้า ความโกหก กิริยาที่โกหก
ความเป็นผู้โกหก เห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า วัตถุแห่งความโกหกเป็น
ส่วนแห่งการเสพปัจจัย.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถเป็นไฉน ภิกษุบางรูป
ในศาสนานี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ ประสงค์
จะให้เขาสรรเสริญ ดำริว่า ประชุมชนจะสรรเสริญเราโดยอิริยาบถอย่างนี้
จึงสำรวมเดิน สำรวมยืน สำรวมนั่ง สำรวมนอน มุ่งเดิน มุ่งยืน มุ่งนั่ง
มุ่งนอน เดินเหมือนภิกษุมีสมาธิ ยืนเหมือนภิกษุมีสมาธิ นั่งเหมือน

ภิกษุมีสมาธิ นอนเหมือนภิกษุมีสมาธิ ย่อมเป็นเหมือนดังเจริญฌาน
ต่อหน้าพวกมนุษย์ ความเริ่มตั้ง ความตั้ง ความสำรวมอิริยาบถ ความ
เป็นผู้สยิ้วหน้า ความโกหก กิริยาโกหก ความเป็นผู้โกหก เห็นปานนี้
ท่านกล่าวว่า วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถ.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการพูดอิงธรรมเป็นไฉน ภิกษุ
บางรูปในศาสนานี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ
มีความประสงค์จะให้เขาสรรเสริญ ดำริว่า ประชุมชนจะสรรเสริญเราด้วย
การพูดอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะที่ใช้จีวร
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก สมณะที่ใช้บาตรเห็นปานนี้ ใช้ภาชนะโลหะ
เห็นปานนี้ ใช้ธมกรกเห็นปานนี้ ใช้ผ้ากรองน้ำเห็นปานนี้ ใช้ลูกตาล
เห็นปานนี้ ใช้รองเท้าเห็นปานนี้ ใช้ประคดเอวเห็นปานนี้ ใช้สายโยค
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก และพูดว่า สมณะที่มีพระอุปัชฌายะเห็นปานนี้
มีอานุภาพมาก สมณะที่มีพระอาจารย์เห็นปานนี้ มีพวกร่วมพระอุปัชฌายะ
เห็นปานนี้ มีพวกร่วมพระอาจารย์เห็นปานนี้ มีพวกมีไมตรีกันเห็นปานนี้
มีมิตรที่เห็นกันมาเห็นปานนี้ มีมิตรที่คบกันมาเห็นปานนี้ มีสหายเห็น
ปานนี้ มีอานุภาพมาก.
และพูดว่า สมณะที่อยู่ในวิหารเห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก ผู้อยู่
ในเพิงมีหลังคาแถบเดียวเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในเรือนโล้นเห็นปานนี้ ผู้อยู่
ในถ้ำเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในกุฎีเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในเรือนยอดเห็นปานนี้
ผู้อยู่ในป้อมเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในโรงเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในที่พักเห็นปานนี้
ผู้อยู่ในโรงฉันเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในมณฑปเห็นปานนี้ ผู้อยู่ที่โคนต้นไม้
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก อนึ่ง ภิกษุผู้ก้มหน้ากว่าคนที่ก้มหน้า ผู้สยิ้ว

หน้ากว่าคนสยิ้วหน้า ผู้โกหกกว่าคนที่โกหก ผู้พูดมากกว่าคนพูดมาก
ผู้ที่คนอื่นสรรเสริญตามปากของคน กล่าวถ้อยคำอันปฏิสังยุตด้วยโลกุตระ
และนิพพานเช่นนั้น อันลึกซึ้ง ละเอียด ที่วิญญูชนปิดบังว่า สมณะนี้
ได้วิหารสมาบัติอันสงบเห็นปานนี้ ความสยิ้วหน้า ความเป็นผู้สยิ้วหน้า
ความโกหก กิริยาที่โกหก ความเป็นผู้โกหกเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการพูดอิงธรรม.
วัตถุแห่งความโกหก 3 อย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ
เสียแล้ว ตัดขาดเสียแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผา
เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่โกหก.
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่าน
กล่าวว่า ความระหาย. ในคำว่า ไม่มีความระหาย. ตัณหาอันเป็นเหตุ
ให้ระหายนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้
มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่มีความ
ระหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่มีความโลภ
ไม่โกหก ไม่มีความกระหาย.
[746] ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ ความ
เป็นผู้ริษยา ชื่อว่า ความลบหลู่ ในอุเทศว่า ไม่มีความลบหลู่ มีบาป
ธรรมดังรสฝาด และโมหะอันกำจัดแล้ว
ดังนี้.
ชื่อว่าบาปธรรมดังรสฝาด คือ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ความตีเสมอ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นดังรสฝาด
(แต่ละอย่าง)ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกข-

นิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้น
ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง-
ปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่สังขาราทิ-
ธรรมนี้เป็นปัจจัยแห่งกันและกัน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ถึง
พร้อมเฉพาะ ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม ความไม่แทงตลอด
ความไม่ถึงพร้อม ความไม่กำหนดถือเอา ความไม่เห็นพร้อม ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความหมดจดยาก ความเป็นพาล
ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลง ความหลงเสมอ อวิชชาเป็นโอฆะ
อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นปริยุฏฐาน อวิชชาเป็นข่าย
อวิชชาเป็นบ่วง โมหะ อกุศลมูล ชื่อว่า โมหะ.
ความลบหลู่ บาปธรรมดังรสฝาดและโมหะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น สำรอกแล้ว กำจัดแล้ว ละเสียแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว
ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและ
โมหะอันกำจัดแล้ว.
[747] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความหวัง ในอุเทศว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง
ดังนี้.
คำว่า ในโลกทั้งปวง คือ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลก
ทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ใน
อายตนโลกทั้งปวง.

คำว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง ความว่า เป็นผู้ไม่มี
ความหวัง คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา เป็นผู้ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าว
ว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่โลภ ไม่โกหก ไม่
ระหาย ไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและ
โมหะอันกำจัดแล้ว ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[748] พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันไม่เสมอ ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[749] สหายชั่ว ในอุเทศว่า ปาปํ สหายํ ปริวชฺชเยถ ดังนี้
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 101 ว่า ทานที่
ให้แล้วไม่มีผล 1 ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล 1 ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ
ทำชั่วไม่มี 1 โลกนี้ไม่มี 1 โลกหน้าไม่มี 1 มารดาไม่มี 1 บิดาไม่มี 1
โอปปาติกสัตว์ คือเหล่าสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดไม่มี 1 สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ทำให้เเจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศ
ให้ทราบ ไม่มีในโลก 1 ดังนี้ สหายนี้ชื่อว่า สหายชั่ว.
1. บาลีมีเพียง 9 ข้อ ขาด นตฺถิ หุตํ = การเซ่นสรวงไม่มีผล.

คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ความว่า พึงละ พึงเว้น พึงหลีกเลี่ยง
สหายชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นสหายชั่ว.
[750] สหายผู้ไม่เห็นประโยชน์ ในอุเทศว่า อนตฺถทสฺสี
วิสเม นิวิฏฺฐํ
ดังนี้ ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
มีวัตถุ 10 ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯ ล ฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยความรู้
ยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ไม่มีในโลก ดังนี้ สหายนี้ ชื่อว่าผู้ไม่เห็น
ประโยชน์.
คำว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในกายกรรม
อันไม่เสมอ ในวจีกรรมอันไม่เสมอ ในมโนกรรมอันไม่เสมอ ใน
ปาณาติบาตอันไม่เสมอ ในอทินนาทานอันไม่เสมอ ในกาเมสุมิจฉาจาร
อันไม่เสมอ ในมุสาวาทอันไม่เสมอ ในปิสุณาวาจาอันไม่เสมอ ใน
ผรุสวาจาอันไม่เสมอ ในสัมผัปปลาปอันไม่เสมอ ในอภิชฌาอันไม่เสมอ
ในพยาบาทอันไม่เสมอ ในมิจฉาทิฏฐิอันไม่เสมอ ในสังขารอันไม่เสมอ
ผู้ตั้งอยู่ ข้องอยู่ แอบอยู่ เข้าถึงอยู่ ติดใจ น้อมใจไปในเบญจกามคุณ
อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันไม่เสมอ.
[751] คำว่า ผู้ขวนขวาย ในอุเทศว่า สยํ น เสเว ปสุตํ
ปมตฺตํ
ดังนี้ ความว่า ผู้ใดย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากาม เป็นผู้
พระพฤติอยู่ในกาม มักมากอยู่ในกาม หนักอยู่ในกาม เอนไปในกาม
โอนไปในกาม อ่อนไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้
ผู้นั้นชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ผู้ใดเสาะหารูป ได้รูป บริโภครูป ด้วย

สามารถตัณหา เป็นผู้ประพฤติอยู่ในรูป มักมากในรูป หนักอยู่ในรูป
เอนไปในรูป โอนไปในรูป อ่อนไปในรูป น้อมใจไปในรูป มุ่งรูป
เป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ผู้ใดเสาะหาเสียง.. . ผู้ใด
เสาะหากลิ่น... ผู้ใดเสาะหารส ... ผู้ใดเสาะหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ
บริโภคโผฏฐัพพะด้วยสามารถตัณหา เป็นผู้ประพฤติอยู่ในโผฏฐัพพะ
มักมากในโผฏฐัพพะ หนักอยู่ในโผฏฐัพพะ เอนไปในโผฏฐัพพะ โอน
ไปในโผฏฐัพพะ อ่อนไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ มุ่ง
โผฏฐัพพะเป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม.
พึงกล่าวความประมาท ในคำว่า ปมตฺตํ ดังต่อไปนี้ ความปล่อย
จิตไป ความตามเพิ่มการปล่อยจิตไป ในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี
ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความทำโดยไม่เอื้อเฟื้อ ความ
ไม่ทำเนือง ๆ ความทำหยุด ๆ ความประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ
ความทอดธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความ
ไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนือง ๆ ในการบำเพ็ญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล
ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ ท่าน
กล่าวว่า ความประมาท.
คำว่า ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง
ความว่า ไม่ควรเสพ ไม่ควรอาศัยเสพ ไม่ควรร่วมเสพ ไม่ควรซ่องเสพ
ไม่ควรเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่ควรเต็มใจประพฤติ ไม่ควรสมาทานประพฤติ
กะคนผู้ขวนขวายและคนประมาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ควรเสพคน
ผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันไม่เสมอ ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.


[752] ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว กำจัดความสงสัย
เสียพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

[753] คำว่า ผู้เป็นพหูสูต ในอุเทศว่า พหุสฺสุตํ ธมฺมธรํ
ภเชถ
ดังนี้ ความว่า เป็นผู้ได้สดับมาก เป็นผู้ทรงธรรมที่ได้สดับมา
แล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งาม
ในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เป็นธรรมที่มิตร
นั้นสดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
คำว่า ธมฺมธรํ ความว่า ผู้ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ.
คำว่า ควรคบมิตรเป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ความว่า ควรคบ
ควรเสพ ควรเข้าไปเสพ ควรร่วมเสพ ควรช่องเสพ ซึ่งมิตรผู้เป็น
พหูสูตและผู้ทรงธรรม. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต
ผู้ทรงธรรม.
[754] มิตรผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ในอุเทศว่า มิตฺตํ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺตํ ดังนี้.

บุคคลผู้มีปฏิภาณ ในคำว่า ปฏิภาณเวนฺตํ นี้ มี 3 ประเภท คือ
ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติ 1 ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉา 1 ผู้มี
ปฏิภาณโดยการบรรลุ 1.
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ พระพุทธวจนะย่อม
แจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ
เพราะอาศัยปริยัติ.
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉาเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้ได้ถามในอรหัตผล ในอริยมรรคมีองค์ 8 ในอนิจจตา-
ทิลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ พระพุทธพจน์ย่อมแจ่มแจ้งแก่
บุคคลนั้น เพราะอาศัยการไต่ถาม บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะ
อาศัยปริปุจฉา.
บุคคลผู้มีปฏิภาณโดยการบรรลุเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้บรรลุสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4 สามัญญผล 4
ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ เมื่อรู้
อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุติ นิรุติ
ก็แจ่มแจ้ง ญาณในปฏิสัมภิทา 3 ประการนี้ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่ามีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา

ไม่มีอธิคม บทธรรมอะไรจักแจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้นเล่า เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ซึ่งมิตรมีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ.
[755] คำว่า รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว พึงกำจัดความ
สงสัยเสีย
ความว่า รู้ทั่วถึง รู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณาให้
แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์
ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในสัมปรายภพ พึงกำจัด
พึงปราบ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความสงสัย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว พึงกำจัดความสงสัย
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว กำจัดความสงสัย
เสีย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[756] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะ
แห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

[757] ชื่อว่า การเล่น ในอุเทศว่า ขิฑฺฑา รตี กามสุขญฺจ
โลเก
ดังนี้ ได้เเก่การเล่น 2 อย่าง คือ การเล่นทางกาย 1 การเล่น
ทางวาจา 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า การเล่น
ทางวาจา.

คำว่า ความยินดี นี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงความเป็นผู้ไม่กระสัน.
คำว่า กามสุข ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึง
รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวน
ให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น สุขโสมนัส
นี้เราเรียกว่า กามสุข เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามสุข.
คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า. . .
ความเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก.
[758] คำว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย ความว่า ไม่ทำ
ความพอใจ ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก เป็นผู้ไม่มี
ความอาลัย คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย.
[759] ชื่อว่า เครื่องประดับ ในอุเทศว่า วิภูสนฏฺฐานา วิรโต
สจฺจวาที
ดังนี้ ได้แก่เครื่องประดับ 2 อย่าง คือ เครื่องประดับของ
คฤหัสถ์อย่างหนึ่ง เครื่องประดับของบรรพชิตอย่างหนึ่ง.
เครื่องประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน ผม หนวด ดอกไม้ ของ
หอม เครื่องลูบไล้ เครื่องประดับ เครื่องแต่งตัว ผ้า เครื่องประดับ
ศีรษะ ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด เครื่องอาบน้ำ เครื่องตัด

กระจกเงา เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา เครื่องทาปาก เครื่อง
ผัดหน้า เครื่องผูกข้อมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า กล้องยา ดาบ ร่ม
รองเท้า กรอบหน้า พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้ามีชายยาว เครื่องประดับ
ดังกล่าวมานี้ เป็นเครื่องประดับของคฤหัสถ์.
เครื่องประดับของบรรพชิตเป็นไฉน การประดับจีวร การประดับ
บาตร การประดับเสนาสนะ การประดับ การตกแต่ง การเล่น การ
เล่นรอบ ความกำหนัด ความพลิกแพลง ความเป็นผู้พลิกแพลง ซึ่ง
กายอันเปื่อยเน่านี้ หรือซึ่งบริขารอันเป็นภายนอก การประดับนี้ เป็น
การประดับของบรรพชิต.
คำว่า เป็นผู้พูดจริง ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็น
ผู้พูดจริง เชื่อมคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่กล่าวให้
เคลื่อนคลาดแก่โลก เว้นทั่ว งดเว้น ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น
พรากออกไป จากฐานะแห่งเครื่องประดับ มีใจปราศจากเขตแดนอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแล้วจากฐานะแห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะ
แห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

[760] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[761] บุตร ในคำว่า ปุตฺตํ ในอุเทศว่า ปุตฺตญฺจ ทารํ ปิตรญฺจ
มาตรํ
ดังนี้ มี 4 คือ บุตรที่เกิดแต่ตน 1 บุตรที่เกิดในเขต 1 บุตร
ที่เขาให้ 1 บุตรที่อยู่ในสำนัก 1 ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ บุรุษผู้ให้
บุตรเกิดชื่อว่าบิดา สตรีผู้ให้บุตรเกิดชื่อว่ามารดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุตร ทาระ บิดา มารดา.
[762] แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว-
ประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย ท่านกล่าวว่า ทรัพย์ ใน
อุเทศว่า ธนานิ ธญฺญานิ จ พนฺธวานิ ดังนี้. ของที่กินก่อน ของที่กิน
ทีหลัง ท่านกล่าวว่า ธัญชาติ. ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง
ลูกเดือย หญ้ากับแก้ ชื่อว่าของที่กินก่อน เครื่องแกงชื่อว่าของที่กินทีหลัง.
พวกพ้อง ในคำว่า พนฺธวานิ มี 4 จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็น
ญาติ 1 พวกพ้องโดยโคตร 1 พวกพ้องโดยความเป็นมิตร 1 พวกพ้อง
เนื่องด้วยศิลป 1 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง.
[763] ชื่อว่า กาม ในอุเทศว่า หิตฺวาน กามานิ ยโถธกานิ
ดังนี้ โดยหัวข้อได้แก่กาม 2 อย่าง คือวัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯ ล ฯ
เหล่านั้นท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.
คำว่า ละกามทั้งหลาย ความว่า กำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสกาม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลาย.

คำว่า ตามส่วน ความว่า ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้แล้ว
ด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[764] กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[765] คำว่า เครื่องข้องก็ดี ว่าเปิดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่า
เกี่ยวข้องก็ดี ว่าพัวพันก็ดี นี้เป็นชื่อแห่งเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า
สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ ดังนี้.
คำว่า กามนี้มีความสุขน้อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการ
นี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยคา อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน

ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น สุข
โสมนัสนั้นแลเรากล่าวว่า กามสุข กามสุขนี้มีน้อย กามสุขนี้เลว กามสุข
นี้ลามก กามสุขนี้ให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามนี้เป็นเครื่อง
ข้อง มีความสุขน้อย.
[766] คำว่า กามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า
กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก มีโทษมาก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เหมือนโครงกระดูก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
ชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนคบเพลิง กาม
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนความฝัน กามทั้งหลายพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เหมือนผลไม้ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
คาบและสุนัขไล่เนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหอก
และหลาว กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนศีรษะงูเห่า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กาม
นี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก.
[767] คำว่า ดังฝีก็ดี ว่าเบ็ดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่าความข้อง
ก็ดี ว่าความกังวลก็ดี เป็นชื่อของเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า คณฺโฑ
เอโส อิติ ญตฺวา มติมา
ดังนี้.
บทว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวข้อง เป็นบทบริบูรณ์

เป็นที่ประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า อิติ
นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็นดังฝี ความว่า บุคคล
ผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส รู้แล้ว คือ เทียบเคียงพิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำ
ให้ปรากฏว่า กามนี้เป็นดังฝี เป็นเบ็ด เป็นเหยื่อ เป็นความข้อง เป็น
ความกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็น
ดังฝี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[768] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[769] สังโยชน์ ในอุเทศว่า สนฺทาลยิตฺวาน สญฺโญชนานิ
ดังนี้ มี 10 ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราค-
สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์.
คำว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย ทำลาย

พร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งสังโยชน์ 10
ประการ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย.
[770] ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ข่าย ในอุเทศว่า ชาลํว
เภตฺวา สลิลมฺพุจารี
ดังนี้ . น้ำท่านกล่าวว่า สลิละ. ปลาท่านกล่าวว่า
อัมพุจารี สัตว์เที่ยวอยู่ในน้ำ. ปลาทำลาย ฉีก แหวกข่ายขาดลอดออก
แล้ว เที่ยวว่าแหวกไป รักษา บำรุง เยียวยา.
ข่ายมี 2 ชนิด คือ ข่ายคือตัณหา 1 ข่ายคือทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่า ข่ายคือตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ข่ายคือทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิเสียแล้ว เหมือนปลาทำลายข่าย
ฉะนั้น เพราะเป็นผู้ละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่พัวพันในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำ
ไม่ให้มีเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลาทำลายข่ายฉะนั้น.
[771] คำว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละแล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยอรหัตมรรค เหมือนไฟไหม้เชื้อหญ้าและไม้ลามไปมิได้กลับมา
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา พึง

เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.


[772] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

[773] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาท-
โลโล
ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว จึงออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จากบ้านนี้ไปยัง
บ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนครโน้น จากรัฐนี้
ไปยังรัฐโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้ขวนขวายความเที่ยว
นาน เที่ยวไปไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่
สำรวม เดินดูกองทัพช้าง ดูกองทัพม้า ดูกองทัพรถ ดูกองทัพเดินเท้า
ดูพวกกุมาร ดูพวกกุมารี ดูพวกสตรี ดูพวกบุรุษ ดูร้านตลาด ดู

ประตูบ้าน ดูข้างบน ดูข้างล่าง ดูทิศใหญ่ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้
ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น
ปานนี้ คือการฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น
การเล่านิยาย เพลงปรบมือ การเล่นปลุกฝี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้าน
เมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้
สำรวม ไม่ดูกองทัพช้าง ไม่ดูกองทัพม้า ไม่ดูกองทัพรถ ไม่ดูกองทัพ
เดินเท้า ไม่ดูพวกกุมาร ไม่ดูพวกกุมารี ไม่ดูพวกสตรี ไม่ดูพวกบุรุษ
ไม่ดูร้านตลาด ไม่ดูประตูบ้าน ไม่ดูข้างบน ไม่ดูข้างล่าง ไม่ดูทิศใหญ่
ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้
เหลวไหลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความไม่ดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว ไม่

ออกจากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ไม่จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น ไม่จาก
บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น ไม่จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น ไม่จากนครนี้ไปยัง
นครโน้น ไม่จากรัฐนี้ไปยังรัฐโน้น ไม่จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น
ไม่ขวนขวายการเที่ยวนาน เที่ยวไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้สำรวม
จักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิ ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็น
เหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉัน โภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม ฯ ล ฯ การ
ดูกองทัพ ภิกษุเป็นผู้งดเว้น จากการขวนขวายดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้
ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
เหลวไหลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า ออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้
ขวนขวยการเที่ยวไปนาน เที่ยวไปไม่หยุด ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้าแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้า ภายในสังฆาราม ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์
มิใช่เพราะเหตุที่ถูกใช้ ออกจากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น จากวิหารนี้
ไปยังวิหารโน้น จากเพิงนี้ไปยังเพิงโน้น จากปราสาทนี้ไปยังปราสาท
โน้น จากเรือนโล้นหลังนี้ไปยังเรือนโล้นหลังโน้น จากถ้ำนี้ไปยังถ้ำโน้น
จากที่เร้นนี้ไปยังที่เร้นโน้น จากกระท่อมนี้ไปยังกระท่อมโน้น จากเรือน
ยอดหลังนี้ไปยังเรือนยอดหลังโน้น จากป้อมนี้ไปยังป้อมโน้น จากโรงนี้
ไปยังโรงโน้น จากที่พักแห่งนี้ไปยังที่พักแห่งโน้น จากโรงเก็บของแห่งนี้
ไปยังโรงเก็บของแห่งโน้น จากโรงฉันแห่งนี้ไปยังโรงฉันแห่งโน้น จาก
มณฑปแห่งนี้ไปยังมณฑปแห่งโน้น จากโคนไม้ต้นนี้ไปยังโคนไม้ต้นโน้น
ในสถานที่ที่ภิกษุนั่งกันอยู่หรือกำลังเดินไป มีรูปเดียวก็รวมเป็นรูปที่สอง
มีสองรูปก็เป็นรูปที่สาม หรือมีสามรูปก็เป็นรูปที่สี่ ย่อมพูดคำเพ้อเจ้อ
มากในที่นั้น คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ เรื่องความเจริญ
ความเสื่อม ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น เป็นผู้เว้น เว้นขาด ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ชอบ
ในความสงัด ยินดีในความสงัด ประกอบในความสงบจิต ณ ภายใน
เนือง ๆ มีฌานมิได้ห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร
เพ่งฌาน ยินดีในฌาน หมั่นประกอบเอกีภาพ หนักอยู่ในประโยชน์ตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สำรวมจักษุและไม่เหลวไหลเพราะเท้า.

[774] คำว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์ ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์.
คำว่า มีใจอันรักษาแล้ว ความว่า มีใจคุ้มครองแล้ว คือ มีจิต
รักษาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอัน
รักษาแล้ว.
[775] คำว่า กิเลสมิได้ชุ่ม ในอุเทศว่า อนวสฺสุโต อปริฑยฺห-
มาโน
ดังนี้ ความว่า สมจริงตามเถรภาษิตที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยาสูตรและ
อนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลา จงพึงเทศนานั้น จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า
อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อม
ยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ

มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์
ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ผู้อันกิเลส
ชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ
ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนที่ทำด้วยไม้อ้อ หรือเรือน
ที่ทำด้วยหญ้าแห้งเกราะ ฝนรั่วรดได้ ถ้าแม้บุรุษเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
แล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้บุรุษ
เอาคบหญ้าที่ติดไฟแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ
ทางทิศใต้ ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน แม้ทางทิศไหน ๆ ไฟก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหา
ภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำ
ได้ ภิกษุครอบงำรูปไม่ได้ เสียงครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำเสียงไม่ได้
กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นไม่ได้ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุ
ครอบงำรสไม่ได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ
ไม่ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ถูกรูปครอบงำ ถูก
เสียงครอบงำ ถูกกลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ
ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำ ภิกษุเหล่านั้นไม่ครอบงำอกุศลธรรมอันลามก
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม
อันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ฯ ล ฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศล
ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้

ท่านกล่าวว่า ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่
จะรู้พึงแจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุ
นั้นทางหู มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนกูฏาคารศาลา หรือสันถาคารศาลา มีดินหนา มีเครื่องฉาบทาอัน
เปียก ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ
ตะวันออก ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
โชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้
ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน ถึงแม้โดยทางไหน ๆ ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้
ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่อง
ไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถึงแม้มารจะเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำไม่ได้ ภิกษุครอบงำ
รูปได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ กลิ่นครอบงำภิกษุ
ไม่ได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้
โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะได้ ธรรมารมณ์
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ครอบงำรูป
ครอบงำเสียง ครอบงำกลิ่น ครอบงำรส ครอบงำโผฏฐัพพะ ครอบงำ

ธรรมารมณ์ กิเลสเหล่านั้น ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำอกุศลธรรม
อันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวน
กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว.
คำว่า ไฟกิเลสไม่เผา ความว่า ผู้อันไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ
ไฟคือโมหะ ไม่แผดเผา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว
ไฟกิเลสไม่เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[776] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[777] ผมและหนวด ฯ ล ฯ ผ้ามีชายยาว ท่านกล่าวว่า เครื่อง
หมายของคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ ความว่า ปลงลง
แล้ว คือ ละทิ้ง ระงับแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์.
[778] คำว่า เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทรงบาตรและจีวรครบ เหมือนต้นปาริฉัตตกะ
คือ ต้นทองหลางมีใบหนา มีร่มเงาชิด ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ.
[779] คำว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและ
ภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว
ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม้มีกังวล
เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ดำเนิน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าว
ว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาคออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.


[780] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความติดใจในรสทั้ง-
หลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น
เที่ยวไปตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[781] คำว่า ในรสทั้งหลาย ในอุเทศว่า รเสสุ เคธํ อกรํ
อโลโล
ดังนี้ คือ รสที่ราก รสที่ต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก
รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า
รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน.
สมณพราหมณ์ผู้ติดใจในรสมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เที่ยวแสวงหารสด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้
รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน
ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม
ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด
ร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสเผ็ดร้อน ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหา
รสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารส
ไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารส
ฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่
อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้รสเย็นแล้วก็แสวงหารส
ร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใด ๆ
ก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้น ๆ แสวงหารสอื่นต่อไป ย่อมเป็นผู้ยินดี ติดใจ
ชอบใจ หลงใหล ซบเซา ข้อง เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสทั้งหลาย.
ตัณหาในรสนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน

เพื่อความมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพียงเพื่อให้
ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อบำบัดความเบียดเบียน เพื่อ
อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะกำจัดทุกขเวทนาเก่า
จักไม่ให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น จักเป็นไปได้สะดวก จักไม่มีโทษ จัก
อยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียงกำหนดเท่านั้น คนทาแผลเพื่อประโยชน์
จะให้งอกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือพวกเกวียนหยอดเพลาเกวียน เพื่อ
ประโยชน์แก่การขนภาระออกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือคนกินเนื้อบุตร
เพื่อประโยชน์แก่จะออกจากทางกันดารเป็นกำหนดเท่านั้น ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยอุบายแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา... จักอยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียง
กำหนดเท่านั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยตัณหาในรส มีจิตอันทำให้
ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจในรส
ทั้งหลาย.
คำว่า ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ความว่า ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็นเหตุให้
โลเล หรือว่า เป็นเหตุให้เหลวไหล ตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเลเหลวไหล
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มี
ที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ไม่มี
ตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจ
ในรสทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล.

[782] คำว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น ในอุเทศว่า อนญฺญโปสี สปทาน-
จารี
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เลี้ยงแต่ตนเท่านั้น มิได้
เลี้ยงผู้อื่น.
เราเรียกบุคคลผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น ปรากฏอยู่ ตั้งมั่นคงดี
แล้ว ในสารธรรม มีอาสวะสิ้นแล้ว คายโทษออกแล้ว
นั้น ว่าเป็นพราหมณ์

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น.
คำว่า ผู้เที่ยวไปตามลำดับตรอก ความว่า เวลาเช้า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต มีกายวาจาจิตอันรักษาแล้ว มีสติตั้งมั่น มีอินทรีย์อันสำรวม
แล้ว สำรวมจักษุ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ออกจากสกุลหนึ่งไปสู่สกุลหนึ่ง
เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก.
[783] คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีจิต
พัวพัน ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ เป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิต
พัวพัน 1 เป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน 1.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะแก่อาตมามาก อาตมาได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย คน
อื่น ๆ อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงสำคัญเพื่อจะให้หรือ
เพื่อจะทำแก่อาตมา ชื่อและวงศ์สกุลของโยมมารดาโยมบิดาเก่าของอาตมา
เสื่อมไปแล้ว อาตมาย่อมได้ว่า เราเป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เราเป็น

กุลุปกะของอุบาสิกาโน้น เพราะท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำ
ตั้งผู้อันไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า อาตมามีอุปการะมากแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาศัยอาตมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็น
สรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม การพูด
เท็จ และการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อาตมาให้อุเทศ ให้ปริปุจฉา บอกอุโบสถ อธิษฐานนวกรรม แก่ท่าน
ทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นดังนั้น ท่านทั้งหลายสละอาตมาแล้ว ย่อมสักการะ
เคารพนับถือบูชาผู้อื่น ภิกษุเป็นผู้ตั้งคนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน
อย่างนี้.
คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
มีจิตไม่พัวพันด้วยความกังวลในสกุล คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีจิตไม่
พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความติดใจในรสทั้งหลาย
ไม่มีตัณหาเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.


[784] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต 5 ประ-
การ สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

ของจิต อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่ง
ความรักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[785] คำว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต 5 ประการ ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีซึ่งกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจ-
นิวรณ์ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้น
จิต 5 ประการ.
[786] ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง (แต่ละอย่าง) ชื่อว่า เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ของจิต ในอุเทศว่า อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ ดังนี้.
คำว่า สลัดเสียเเล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต
ความว่า สลัด บรรเทา ละ กำจัด ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลส
เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สลัดเสียแล้วซึ่ง
กิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต.
[787] นิสัย ในคำว่า ผู้อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ในอุเทศว่า
อนิสฺสิโต เฉตฺวา เสฺนหโทสํ ดังนี้ มี 2 อย่าง คือ ตัณหานิสัย 1
ทิฏฐินิสัย 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. ชื่อว่า
ความรัก ได้แก่ ความรัก 2 อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา 1
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจตัณหา
ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.

ชื่อว่า ความชัง คือ ความปองร้อย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง
ความโกรธตอบ ความเคือง ความเคืองทั่วไป ความเคืองเสมอ ความชัง
ความชังทั่วไป ความชังเสมอแห่งจิต ความพยาบาทแห่งจิต ความ
ประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง
กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้
พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจ
ถึงน้ำตาไหล ความไม่พอใจ.
คำว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่งความรักและความชัง
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัด ตัดขาด ตัดขาดสิ้น บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความรักด้วยอำนาจตัณหา
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิและความชัง อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัยตา ไม่อาศัย
หู ฯ ล ฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป
ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขต
แดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่งความ
รักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต 5 ประ-
การ สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งปวง
อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่งความรักและความ
ชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[788] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจด
วิเศษแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[789] คำว่า ละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ แล้ว
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว.
[790] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย กิริยาที่หยุดเฉย ความที่
จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในอุเทศ
ว่า ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทฺธํ ดังนี้.
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความหยุดอยู่ ความไม่ส่าย ความไม่
ฟุ้งแห่งจิต ความแน่วแน่ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมา-
สมาธิ ชื่อว่า สมถะ.
อุเบกขาในจตุตถฌาน และสมถะเป็นความหมดจด เป็นความ
หมดจดวิเศษ เป็นความขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่
หวั่นไหว.
คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษ ความว่า ได้ ได้
แล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌานและสมถะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้อุเบกขา
และสมถะอันหมดจดวิเศษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะ-
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจด
วิเศษแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[791] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารภความเพียร เพื่อถึง
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตมิได้ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน มีความพยายามมั่นคง เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรง
และกำลัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[792] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ปรมัตถประโยชน์ ในอุเทศว่า
อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา ดังนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ปรารภความเพียร เพื่อถึง คือเพื่อได้
เพื่อได้เฉพาะ เพื่อบรรลุ เพื่อถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถประโยชน์
มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงปรมัตถประโยชน์.
[793] คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ

เจริญถึง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เนื้อ
และเลือดจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที
เรายังไม่ได้บรรลุอิฐผล ที่การกบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
แล้ว จักไม่หยุดความเพียรเลย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามีจิตไม่
ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจักไม่
ทำลายบัลลังก์นี้ ตราบเท่าเวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประกองจิตตั้งจิตไว้ว่า
เราจักไม่กิน จักไม่ดื่ม ไม่ออกจากวิหาร และจัก
ไม่เอนข้างลงนอน เมื่อยังถอนลูกศรคือตัณหาไม่ได้

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจะไม่ลุก
จากอาสนะนี้ ตราบเท่าเวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจักไม่ลงจาก
ที่จงกรมนี้ จักไม่ออกจากวิหารนี้ จักไม่ออกจากเพิงนี้ จักไม่ออกจาก
ปราสาทนี้ จักไม่ออกจากเรือนโล้นนี้ จักไม่ออกจากถ้ำนี้ จักไม่ออกจาก
ที่เร้นนี้ จักไม่ออกจากกระท่อมนี้ จักไม่ออกจากเรือนยอดนี้ จักไม่ออก
จากแม่แคร่นี้ จักไม่ออกจากโรงนี้ จักไม่ออกจากที่พักนี้ จักไม่ออกจาก
หอฉันนี้ จักไม่ออกจากมณฑปนี้ จักไม่ออกจากโคนไม้นี้ ตราบเท่า
เวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า ในเช้าวันนี้
นี่แหละ เราจักนำมา จักนำมาด้วยดี จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้
แจ้งซึ่งอริยธรรม พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน
มีความพระพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า ในเที่ยงวันนี้
นี่แหละ ในเย็นวันนี้นี่แหละ ในเวลาก่อนอาหารวันนี้นี่แหละ ในเวลา
หลังอาหารวันนี้นี่แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยามกลางนี้แหละ ในยาม
หลังนี้แหละ ในข้างแรมนี้แหละ ในข้างขึ้นนี้แหละ ในฤดูฝนนี้แหละ
ในฤดูหนาวนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้นนี้แหละ ในตอน
วัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาด้วยดี
จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรม พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการ
อย่างนี้.

[794] คำว่า มีความพยายามมั่นคง ในอุเทศว่า ทฬฺหนิกฺ-
กโม ถามพลูปปนฺโน
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มี
สมาทานมั่น มีสมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ในกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต การแจกทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ
ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา ความเป็นผู้เกื้อกูล
แก่สมณะ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์ ความประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ผู้ใหญ่ในสกุล และในกุศลธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งขึ้นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความพยายามมั่นคง.
คำว่า เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วย
เรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความพยายามมั่นคง มีความเข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารภความเพียร เพื่อถึง
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตมิได้ย่อหย่อน มีความประพฤติ
มิได้เกียจคร้าน มีความพยายามมั่นคง เข้าถึงด้วย
เรี่ยวแรงและกำลัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.


[795] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติ
ธรรมสมควร ในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็น

โทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[796] คำว่า ไม่ละวิเวกและฌาน ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ชอบวิเวก ยินดีใจวิเวก ประกอบความสงบจิต
ณ ภายในเนือง ๆ ไม่ห่างจากฌาน ไม่ละฌาน คือ ประกอบ ประกอบทั่ว
ประกอบพร้อม หมั่นประกอบ หมั่นประกอบพร้อม เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า
ไม่ละฌานด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว
ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่า ไม่ละฌานแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ละวิเวกและฌาน.
[797] สติปัฏฐาน 4 ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ 8 ท่านกล่าวว่า
ธรรม ในอุเทศว่า ธมฺเมสุ นิจฺจํ อนุธมฺมจารี ดังนี้.
ธรรมอันสมควรเป็นไฉน ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร
ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความ
เป็นผู้คุ้มกรองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ เหล่านี้ท่าน
กล่าวว่า ธรรมอันสมควร.
คำว่า ประพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติ ปฏิบัติ ดำเนิน เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ในธรรมทั้งหลาย ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือ ติดต่อเนือง ๆ
ต่อลำดับ ไม่สับสน เนื่องกันกระทบกัน เหมือนระลอกน้ำเป็นคลื่น
สืบต่อกระทบเนื่องกันไป ในเวลาก่อนอาหาร ในเวลาหลังอาหาร ใน
ยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน
ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลายตลอด
กาลเป็นนิตย์.
[798] คำว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย ความว่า
พิจารณาเห็นโทษโนภพทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติ
ธรรมสมควรในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็น
โทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

[799] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
ประมาท ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ มีธรรมอันนับพร้อม
แล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น

[800] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกฺขยํ ปตฺถยํ
อปฺปมตฺโต
ดังนี้.
คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ความว่า ปรารถนา จำนง
ประสงค์ซึ่งความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความสิ้นคติ
ความสิ้นอุปบัติ ความสิ้นปฏิสนธิ ความสิ้นภพ ความสิ้นสงสาร ความ
สิ้นวัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา.
คำว่า ไม่ประมาท ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทำโดย
เอื้อเฟื้อ ทำโดยติดต่อ ฯ ล ฯ ไม่ประมาทในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท.
[801] คำว่า ไม่โง่เขลา ในอุเทศว่า อเนลมูโค สุตฺวา สติมา
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา
เป็นเครื่องรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่โง่เขลา.
คำว่า มีสุตะ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นพหูสูต ทรง
ไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ คือ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสุตะ.
คำว่า มีสติ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้มีสติ ประ-
กอบด้วยสติรอบคอบอย่างยิ่ง ระลึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ.
[802] ญาณ ปัญญา ความรู้ชัด ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า สังขาตธรรม ในอุเทศว่า
สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา ดังนี้.
คำว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว
มีธรรมอันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเห็นแจ้งแล้ว มีธรรมแจ่มแจ้งแล้วว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นพิจารณาขันธ์แล้ว พิจารณา
ธาตุแล้ว พิจารณาอายตนะแล้ว พิจารณาคติแล้ว พิจารณาอุปบัติแล้ว
พิจารณาปฏิสนธิแล้ว พิจารณาภพแล้ว พิจารณาสังขารแล้ว พิจารณา
วัฏฏะแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดังอยู่ในขันธ์เป็นที่สุด ในธาตุ
เป็นที่สุด ในอายตนะเป็นที่สุด ในคติเป็นที่สุด ในอุปบัติเป็นที่สุด
ในปฏิสนธิเป็นที่สุด ในภพเป็นที่สุด ในสงสารที่สุด ในวัฏฏะเป็น
ที่สุด ในสังขารเป็นที่สุด ในภพเป็นที่สุด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทรงไว้
ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.

พระขีณาสพใดมีภพเป็นที่สุด มีอัตภาพ มีสงสาร
คือชาติ ชรา และมรณะ ครั้งหลังสุด พระขีณาสพนั้น
ไม่มีในภพใหม่.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว.
อริยมรรค 4 ท่านกล่าวว่า ธรรมอันแน่นอน ในคำว่า นิยโต นี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยอริยมรรค 4 ชื่อว่ามีธรรมอันแน่นอน
คือ ถึง ถึงพร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งนิยามธรรมด้วยอริยมรรค
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันแน่นอน.
ความเพียร ความปรารภความเพียร ความก้าวหน้า ความ
บากบั่น ความหมั่น ความเป็นผู้มีความหมั่น เรี่ยวแรง ความพยายาม
แห่งจิต ความบากบั่นอันไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทอดฉันทะ ความ
เป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมา-
วายามะ ท่านกล่าวว่า ปธาน ในคำว่า ปธานวา.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยความเพียรนี้ เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่ามีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมนับ
พร้อมแล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
ประมาท ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ มีธรรมอันนับพร้อม
แล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

[803] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดที่ตาข่าย ไม่ติดอยู่
เหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[804] คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ ความว่า
สีหมฤคราชไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ
ไม่สยดสยอง ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่พรั่นพรึง ไม่หวาดเสียว ไม่หนีไป
ในเพราะเสียงทั้งหลายฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้
ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง
ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่มีความพรั่นพรึง ไม่หวาดเสียว ไม่หนี ละความ
กลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพองอยู่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ.
[805] ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
ลมมีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมพัดตามกาล ลมหัวด้าน
ลมแต่ปีกนก ลมแต่ครุฑ ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า
วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน ดังนี้.
ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ชาละ ลมไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด
ไม่เกาะที่ตาข่าย ฉันใด ข่าย 2 อย่าง คือ ข่ายตัณหา 1 ข่ายทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิแล้ว เพราะ
ละข่ายตัณหา เพราะสละคืนข่ายทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่เกาะ ในรูป เสียง ฯ ล ฯ ในรูปที่ได้เห็น

เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้
ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจาก
เขตแดนอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่ข้องเหมือนลม
ไม่ข้องอยู่ที่ตาข่าย.

[806] ดอกบัว ท่านกล่าว่า ปทุมํ ในเทศว่า ปทุมํ ว โตเยน
อลิมฺปนาโน
ดังนี้. น้ำ ท่านกล่าวว่า โตยะ. ดอกปทุมอันน้ำย่อมไม่ติด
ไม่เอิบอาบ ไม่ซึมซาบ ฉันใด ความติด 2 อย่าง คือ ความติดด้วย
ตัณหา 1 ความติดด้วยทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติด
ด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละความติดด้วยตัณหา เพราะสละคืนความติดด้วย
ทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่เข้าไปติด ไม่ฉาบ ไม่เข้า
ไปฉาบ ในรูป เสียง ฯ ล ฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่
ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น
ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดเหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง

กล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติด
เหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[807] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า มีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่
ครอบงำสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็น
กำลัง ปราบปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไปฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพซึ่งเสนาสนะอันสงัด
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[808] คำว่า เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปราม
ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป
ความว่า สีหมฤคราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ
มีเขี้ยวเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม กำจัด ย่ำยี ซึ่งสัตว์
ดิรัจฉานทั้งปวง เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม
กำจัด ย่ำยีซึ่งสัตว์ทั้งปวงด้วยปัญญา เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนสีหราช
มีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปราม ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป.
[809] คำว่า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด ความว่า สีหมฤคราช
เข้าไปสู่ราวป่าอันสงัด เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่ารกชัฏ สงัด เงียบสงัด ไม่มีเสียงกึกก้อง
ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่
การหลีกออกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว
นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งใน
ที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป ท่องเที่ยวไป

ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า มีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่
ครอบงำสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็น
กำลัง ปราบปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[810] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวล
มิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[811] คำว่า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
อันเป็นวิมุตติตลอดเวลา
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจ
ประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่
ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วย
มุทิตา มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย

อุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา.
[812] พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียด
ชัง
ดังต่อไปนี้ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น สัตว์ทั้งหลายในทิศ
ตะวันออกจึงไม่เกลียดชัง สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ
ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี
ในทิศเบื้องล่าง ในทิศเบื้องบน ในทิศน้อยทิศใหญ่ทั้ง 10 ทิศ ไม่
เกลียดชัง.
คำว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง ความว่า อันสัตว์โลก
ทั้งหมดมิได้เกลียด มิได้โกรธ มิได้เสียดสี มิได้กระทบกระทั่ง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวล
มิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[813] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
ชีวิตพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[814] ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ชื่อว่า ราคะ ในอุเทศว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
ดังนี้. จิตอาฆาต ฯ ล ฯ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจจนถึงน้ำตาไหล
ความไม่พอใจ ชื่อว่า โทสะ. ความไม่รู้ในทุกข์ ฯ ล ฯ อวิชชาเป็นบ่วง
ความหลงใหล อกุศลมูล ชื่อว่า โมหะ.
คำว่า ละแล้วซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ในภายหลัง ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้ว
ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ.
[815] สังโยชน์ ในอุเทศว่า ทำลายเสียซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย
ดังนี้ มี 10 ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ฯ ล ฯ อวิชชา-
สังโยชน์. คำว่า ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย
ทำลายทั่ว ทำลายพร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ในภายหลัง ซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายเสียแล้ว
ซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย.
[816] คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต ความว่า พระปัจเจก
สัมพุทธเจ้านั้น ไม่หวาดเสียว ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง
ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง ไม่พรั่น ไม่กลัว ไม่สะทกสะท้าน ไม่หนี ละ
ความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง ในเวลาสิ้นสุดชีวิต.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
ชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.


[817] มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคม
ด้วย มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมี
ปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด (เพราะฉะนั้น)
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[818] คำว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหา
สมาคมด้วย
ความว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์
ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในปัจจุบันเป็น
เหตุ มีประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่างยิ่งเป็นเหตุ จึง
จะคบหา สมคบ เสพ สมาคมด้วย. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรทั้งหลาย
มีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย.
[819] มิตร ในอุเทศว่า มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มี
2 จำพวก คือ มิตรคฤหัสถ์ 1 มิตรบรรพชิต 1 ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า
มิตรคฤหัสถ์ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่ามิตรบรรพชิต. คำว่า มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ
หาได้ยาก
ความว่า มิตร 2 จำพวกนี้ ไม่มีการณะ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
หาได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก.
[820] คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในอุเทศว่า อตฺตตฺถ-
ปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
ดังนี้ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมคบ สมคบ-
เสพ เสพด้วย ส้องเสพ เอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อ เข้านั่งใกล้ ไต่ถาม

สอบถาม เพื่อประโยชน์ตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน
เพราะการณะแห่งตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน.
คำว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่สะอาด ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด วจีกรรมอันไม่สะอาด มโนกรรม
อันไม่สะอาด ปาณาติบาตอันไม่สะอาด อทินนาทานอันไม่สะอาด กาเม-
สุมิจฉาจารอันไม่สะอาด มุสาวาทอันไม่สะอาด ปิสุณวาจาอันไม่สะอาด
ผรุสวาจาอันไม่สะอาด สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด อภิชฌาอันไม่สะอาด
พยาบาทอันไม่สะอาด มิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด เจตนาอันไม่สะอาดความ
ปรารถนาอันไม่สะอาด ความตั้งใจอันไม่สะอาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้ไม่สะอาด คือ เป็นคนเลว เลวลง เป็นคนทราม ต่ำช้า ลามก
ชั่วช้า ชาติชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง
ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
[821] คำว่า ผู้เดียว ในอุเทศว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
ดังนี้ ฯ ล ฯ จริยา (การเที่ยวไป) ในคำว่า จเร ดังนี้ มี 8 อย่าง ฯ ล ฯ
ชื่อว่าพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคม
ด้วย มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลาย
มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด (เพราะฉะนั้น)
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

จบขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ก็แหละนิเทศแห่งพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งในศาสนา 16 คน
นี้ คือ อชิตพราหมณ์ 1 ติสสเมตเตยพราหมณ์ 1
ปุณณกพราหมณ์ 1 เมตตคูพราหมณ์ 1 โธตกพราหมณ์ 1
อุปสีวพราหมณ์ 1 นันทพราหมณ์ 1 เหมกพราหมณ์ 1
โตเทยยพราหมณ์ 1 กัปปพราหมณ์ 1 ชตุกัณณีพราหมณ์
ผู้เป็นบัณฑิต 1 ภัทราวุธพราหมณ์ 1 อุทยพราหมณ์ 1
โปสาลพราหมณ์ 1 โมฆราชพราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ 1
ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณใหญ่ 1 รวมเป็น 16 นิทเทส
และในปารายนวรรคนั้น ยังมีขัคควิสาณสุตตนิทเทส
อีก 1 นิทเทส นิทเทสทั้ง 2 อย่างควรรู้ บริบูรณ์แล้ว
ท่านลิขิตไว้ดีแล้ว.

สุตตนิทเทส จบบริบูรณ์

อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส


ต่อนี้ไปถึงโอกาสแห่งการพรรณนา ขัคควิสาณสุตตนิทเทส แล้ว.
พวกเราจักพรรณนาเพียงบทที่เกินต่อจากบทนี้เท่านั้น.

ปฐมวรรค


คาถาที่ 1


1*) สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
อวิเหฐยํ อญฺญตรฺปิ เตสํ
น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหายํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึง
ปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า
ภูเตสุ คือ ในสัตว์ทั้งหลาย.
ภูต ศัพท์ในบทว่า ภูเตสุ นี้เป็นไปในอรรถว่า สิ่งที่มี ในบทมี
อาทิอย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะสิ่งที่มีอยู่.
เป็นไปในอรรถว่า ขันธ์ 5 ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ สารีปุตฺต
สมนุปสฺสสิ
ดูก่อนสารีบุตร เธอจงพิจารณา ขันธ์ นี้. เป็นไปในอรรถว่า
รูป 4 อย่าง มีปฐวีธาตุเป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า รูป 4 มีปฐวีธาตุเป็นต้น
* เลขหน้าคาถาทุกคาถา ในขัคควิสาณสุตตนิทเทสนี้ ไม่ใช่เลขข้อในบาลี. เป็นเลขลำดับ
คาถา มีทั้งหมด 41 คาถา.