เมนู

คำว่า มีจิตน้อมไป ความว่า เป็นผู้เอนไปในนิพพาน โอนไป
ในนิพพาน เงื้อมไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่ามีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
นิพพานอันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มี
อุปมาในที่ไหน ๆ ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ) โดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่
ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้
มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้.

จบปารายนวรรค

อรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส


ต่อแต่นี้ไป พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าว
คำมีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ปารายนสูตรนี้แล้ว. บทว่า ปริจาริกโสฬสนฺนํ คือ พราหมณ์ 16 คน
พร้อมกับท่านปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรีพราหมณ์. หรือพราหมณ์
16 คนผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ. คือพราหมณ์นั้น
นั่นเอง. ณ ที่นั้นบริษัท 16 นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และ
ข้างขวา 6 โยชน์ นั่งตรงไป 12 โยชน์. บทว่า อชฺฌิฏฺโฐ ทูลเชื้อเชิญ

คือทูลวิงวอน. บทว่า อตฺถมญฺญาย รู้ทั่วถึงอรรถ คือรู้ทั่วถึงอรรถ
แห่งบาลี. บทว่า ธมฺมมญฺญาย รู้ทั่วถึงธรรม คือรู้ทั่วถึงธรรมแห่งบาลี.
บทว่า ปารายนํ เป็นชื่อของธรรมปริยายนี้. มาณพทั้งหลาย เมื่อจะ
ประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ฯ ล ฯ พุทฺธเสฏฺฐ-
มุปาคมุํ
มาณพทั้งหลาย คือ อชิตะ ฯ ล ฯ ได้พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณํ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจรณะ
ถึงพร้อมแล้ว คือผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปาติโมกข์ศีลเป็นต้น อันเป็น
ปทัฏฐานแห่งนิพพาน. บทว่า อิสึ คือ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปาคมึสุ มาเฝ้า คือเข้าไปใกล้. บทว่า อุปสงฺกมึสุ
เข้ามาเฝ้า คือเข้าไปไม่ไกล. บทว่า ปยิรุปาสึสุ เข้ามานั่งใกล้ คือนั่ง
ในที่ใกล้. บทว่า ปริปุจฺฉึสุ คือ ทูลถามแล้ว. บทว่า ปริปญฺหึสุ คือ
สอบถามแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โจทยึสุ คือ สอบถาม. บทว่า
สีลาจารนิปฺผตฺติ คือ ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระอันสูงสุด. อธิบายว่า
ศีลสำเร็จด้วยมรรค. บทว่า คมฺภีเร ที่ลึก เป็นคำตรงกันข้ามกับความ
เป็นธรรมง่าย. บทว่า ทุทฺทเส เห็นได้ยาก คือชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึก
ไม่สามารถจะเห็นได้ง่าย. บทว่า ทุรนุโพเธ รู้ได้ยาก คือชื่อว่ารู้ได้ยาก
เพราะเห็นได้ยาก คือตรัสรู้ได้ยาก ไม่สามารถจะตรัสรู้ได้ง่าย. บทว่า
สนฺเต สงบ คือดับ. บทว่า ปณีเต ประณีต คือถึงความเป็นเลิศ
ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึงโลกุตรธรรมอย่างเดียว. บทว่า อตกฺกา-
วจเร
ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยความตรึก คือไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยญาณเท่านั้น

บทว่า นิปุเณ คือ ละเอียดอ่อน. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีเย คือ อัน
บัณฑิตผู้ปฏิบัติชอบพึงรู้ได้.
บทว่า โตเสสิ ทรงให้ยินดี คือให้ถึงความยินดี. บทว่า วิโตเสสิ
ให้ยินดียิ่ง คือให้เกิดโสมนัสหลาย ๆ อย่าง. บทว่า ปสาเทสิ ให้
เลื่อมใส คือได้ทำให้พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส. บทว่า อาราเธสิ
ให้พอใจ คือให้ยินดี ให้ถึงความสำเร็จ. บทว่า อตฺตมเน อกาสิ ทำให้
พอใจ คือทำให้เบิกบานด้วยโสมนัส.
ต่อไป บทว่า พฺรหฺมจริยมจรึสุ คือ ได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์.
เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายนํ เป็นอันท่านกล่าวถึงทางแห่งนิพพาน
อันเป็นฝั่งแห่งมรรคพรหมจรรย์นั้น. พึงเชื่อมว่า ปารายนมนุภาสิสฺสํ
เราจักกล่าวปารายนสูตร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตร
แล้ว ชฎิล 16,000 คนได้บรรลุพระอรหัต. เทวดาและมนุษย์นับได้
14 โกฏิ ที่เหลือได้ตรัสรู้ธรรม. สมดังที่โบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้ายังเทวดาและมนุษย์ 14 โกฏิ ให้บรรลุ
อมตธรรม ณ ปารายนสมาคม อันรื่นรมย์ที่ปาสาณกเจดีย์.

เมื่อจบพระธรรมเทศนา พวกมนุษย์มาจากที่นั้น ๆ ด้วยอานุภาพ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปรากฏในคามและนิคมเป็นต้นของตนๆ แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ 16,000 รูปแวดล้อม ก็ได้เสด็จไปยัง
กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้น ท่านปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปบอกพาวรีพราหมณ์ ถึงการ
บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เพราะข้าพระองค์ปฏิญาณไว้แก่พาวรี-
พราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะได้รับอนุญาตจากพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ได้ไปถึงฝั่งโคธาวรีด้วยยานพาหนะ แล้วจึงเดินไปด้วยเท้ามุ่งหน้า
ไปยังอาศรม. พาวรีพราหมณ์นั่งแลดูต้นทาง เห็นท่านปิงคิยะปราศจาก
หาบและชฎา เดินมาด้วยเพศของภิกษุ ก็สันนิษฐานเอาว่า พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติแล้วในโลก จึงถามท่านปิงคิยะเมื่อไปถึงแล้วว่า พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติแล้วในโลกหรือ. ท่านปิงคิยะตอบว่า ถูกแล้วพราหมณ์ พระ-
พุทธเจ้าประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์ ทรงแสดงธรรมแก่พวกเรา. พาวรี-
พราหมณ์บอกว่า ข้าพเจ้าจักฟังธรรมของท่าน. ลำดับนั้นพาวรีพราหมณ์
พร้อมด้วยบริษัท บูชาท่านปิงคิยะด้วยสักการะเป็นอันมาก แล้วให้
ปูอาสนะ. ท่านปิงคิยะนั่งบนอาสนะนั้นแล้วกล่าวคำเป็นอาทิว่า ปารายน-
มนุคายิสฺส
ข้าพเจ้าจักขับตามเพลงขับ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคายิสฺสํ คือ ข้าพเจ้าจักขับตามเพลง
ขับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ยถา อทฺทกฺขิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเห็นอย่างใด คือทรงเห็นเองด้วยการตรัสรู้จริง และด้วยญาณอันไม่
ทั่วไป. บทว่า นิกฺกาโม มิได้มีกาม คือละกามได้แล้ว. ปาฐะว่า
นิกฺกโม บ้าง. คือมีความเพียร. หรือออกจากธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล.
บทว่า นิพฺพโน มิได้มีป่า คือปราศจากป่าคือกิเลส หรือปราศจากตัณหา
นั่นเอง. บทว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร
ท่านปิงคิยะแสดงว่า บุคคลพึงพูดเท็จด้วยกิเลสเหล่าใด บุคคลนั้นละกิเลส
เหล่านั้นเสีย. ท่านปิงคิยะยังความอุตสาหะในการฟังให้เกิดแก่พราหมณ์
ด้วยบทนี้.
บทว่า อมโล ไม่มีมลทิน คือปราศจากมลทินคือกิเลส. บทว่า
วิมโล หมดมลทิน คือมีมลทินคือกิเลสหมดไป. บทว่า นิมฺมโล ไร้มลทิน

คือบริสุทธิ์จากมลทินคือกิเลส. บทว่า มลาปคโต ปราศจากมลทิน
คือเที่ยวไปไกลจากมลทินคือกิเลส. บทว่า มลวิปฺปหีโน ละมลทิน คือ
ละมลทินคือกิเลส. บทว่า มลวิปฺปมุตฺโต พ้นแล้วจากมลทิน คือพ้น
แล้วจากกิเลส. บทว่า สพฺพมลวีติวตฺโต ล่วงมลทินทั้งปวงได้แล้ว คือ
ล่วงมลทินคือกิเลสทั้งปวงมีวาสนาเป็นต้น. บทว่า เต วนา ป่าเหล่านั้น
คือกิเลสดังได้กล่าวแล้วเหล่านั้น.
บทว่า วณฺณูปสญฺหิตํ คือ ประกอบด้วยคุณ. บทว่า สจฺจวฺหโย
มีพระนามจริง คือประกอบด้วยพระนามจริงที่เรียกกันว่า พุทฺโธ ดังนี้.
บทว่า พฺรหฺเม คือ เรียกพราหมณ์นั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป.
บทว่า เอโก โลโก ภวโลโก โลกหนึ่ง ได้แก่โลกคือภพ คือวิบาก
อันเป็นไปในภูมิ 3. ชื่อว่า ภพ เพราะมีวิบากนั้น. โลกคือภพนั่นแล
ชื่อว่า ภวโลก. ในบทว่า ภวโลโก จ สมฺภวโลโก จ นี้ โลกหนึ่งๆ
มีอย่างละสอง ๆ. ภวโลกมีสองอย่าง ด้วยอำนาจแห่งสัมปัตติภพและ
วิปัตติภพ. แม้สัมภวโลกก็มีสอง คือสัมปัตติสมภพและวิปัตติสมภพ.
ในโลกเหล่านั้น โลกคือสัมปัตติภพ ได้แก่ สุคติโลก. ชื่อว่า สัมปัตติ
เพราะโลกนั้นดี เพราะมีผลที่น่าปรารถนา. ชื่อว่า ภพ เพราะมี เพราะเป็น.
ภพ คือสัมปัตตินั่นแล ชื่อว่า สัมปัตติภพ. โลกนั้นนั่นแล ชื่อว่า โลกคือ
สัมปัตติภพ. โลกคือสัมปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้เข้าถึงสุคติ.
ชื่อว่า สมภพ เพราะมีผลเกิดจากกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งสมบัติ
ชื่อว่าสัมปัตติสมภพ. โลกคือสัมปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่าโลกคือ
สมบัติสมภพ.

โลกคือวิปัตติภพ ชื่อว่า อบายโลก. จริงอยู่ อบายโลกนั้น ชื่อว่า
วิปัตติ เพราะโลกนั้นน่าเกลียด เพราะมีผลที่ไม่น่าปรารถนา. ชื่อว่าภพ
เพราะมีเพราะเป็น ภพคือวิบัตินั้นแล ชื่อว่า วิปัตติภพ. โลกคือวิปัตติภพ
นั่นแล ชื่อว่าโลกคือวิปัตติภพ. โลกคือวิปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้
เข้าถึงอบาย. จริงอยู่ กรรมที่ให้เข้าถึงอบายนั้น ชื่อว่า สมภพ เพราะ
มีผลเกิดจากกรรมนั้น. ความสมภพแห่งวิบัติ ชื่อว่า วิปัตติสมภพ. โลกคือ
วิปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่า โลกคือวิบัติสมภพ. บทว่า ติสฺโส เวทนา
คือเวทนา 3 ได้แก่ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุก มสุขเวทนา 1
เป็นโลกิยะเท่านั้น. บทว่า อาหารา อาหารคือปัจจัย.
จริงอยู่ ปัจจัยเรียกว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งผลของตน. อาหาร
มี 4 คือ กวฬิงการาหาร 1 ผัสสาหาร 1 มโนสัญเจตนาหาร 1
วิญญาณาหาร 1.
ชื่อว่า กวฬิงจการะ เพราะควรทำให้เป็นคำด้วยวัตถุ. ชื่อว่า อาหาร
เพราะควรกลืนกินได้. บทนี้เป็นชื่อของโอชะอันเป็นวัตถุมีข้าวสุก และ
ขนมเป็นต้น. โอชานั้นชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งรูปทั้งหลายอันมี
โอชะเป็นที่ 8.
ผัสสะ 6 อย่าง มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมา
ซึ่งเวทนา 3.
ชื่อว่า มโนสัญเจตนา เพราะเป็นสัญเจตนาของใจ ไม่ใช่ของสัตว์.
เหมือนเอกัคคตาของจิต หรือว่าสัญเจตนาที่สัมปยุตกับใจ ชื่อว่า
มโนสัญเจตนา. เหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย. คือกุศลเจตนาและ
อกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ 3. ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งภพ 3.

บทว่า วิญฺญาณํ คือ ปฏิสนธิวิญญาณ 19 ประเภท. วิญญาณนั้น
ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งนามรูปในขณะปฏิสนธิ.
บทว่า อุปาทานกฺขนฺธา คือ ขันธ์อันเกิดจากอุปาทาน ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์. พึงเห็นว่าเป็นศัพท์ที่ลบคำในท่ามกลางเสีย. หรือขันธ์
ทั้งหลายมีเพราะอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนไฟเกิดแต่หญ้า
ไฟเกิดแต่แกลบ. หรือขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์. เหมือนบุรุษของพระราชา (ราชบุรุษ). หรือขันธ์ทั้งหลาย
มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนดอกของต้นไม้
ผลของต้นไม้.
อนึ่ง อุปาทานมี 4 คือกามุปาทาน ถือมั่นกาม 1 ทิฏฐุปาทาน
ถือมั่นทิฏฐิ 1 สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต 1 อัตตวาทุปาทาน
ถือมั่นวาทะว่าตน 1. แต่โดยอรรถ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะการถือไว้
อย่างมั่นคง.
อุปาทานขันธ์มี 5 คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญู-
ปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.
บทว่า ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ ได้แก่ อายตนะภายใน 6 คือ
จักขวายตนะ โสดายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ.
วิญญาณฐิติ 7 มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. โลกธรรม 8 ก็เหมือนกัน.
โลกธรรม 8 เหล่านี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา
สรรเสริญ สุข ทุกข์ ชื่อว่า โลกธรรม เพราะเมื่อโลกยังเป็นไปอยู่
ธรรมเหล่านี้ก็หมุนเวียนไปตามโลก. ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายไม่พ้นไปจาก
โลกธรรมเหล่านั้นได้. ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โลกธรรม 8 เหล่านี้ย่อมเป็นไปตามโลก และโลกก็ย่อมเป็นไปตามโลก.
ธรรม 8 เหล่านี้ โลกธรรม 8 คืออะไร คือ ลาภ เสื่อมลาภ ฯ ล ฯ สุข
และทุกข์. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ย่อมติดตาม ไม่ละ.
อธิบายว่า ไม่กลับออกไปจากโลก. บทว่า ลาโภ ลาภของบรรพชิต
มีจีวรเป็นต้น ของคฤหัสถ์มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ลาภ
นั้น ก็ชื่อว่า เสื่อมลาภ. ท่านกล่าวว่าไม่มีลาภ ชื่อว่า เสื่อมลาภ ไม่พึง
กำหนดเอาแค่ถึงความไม่มีประโยชน์. บทว่า ยโส คือ บริวารยศ.
เมื่อไม่ได้บริวารยศนั้น ชื่อว่า เสื่อมยศ. บทว่า นินฺทา คือ กล่าวโทษ.
บทว่า ปสํสา คือ กล่าวถึงคุณ. บทว่า สุขํ ได้แก่ กายิกสุข คือสุข
ทางกาย และเจตสิกสุข คือสุขทางใจ ของเหล่ากามาวจรบุคคลทั้งหลาย.
บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจของปุถุชน พระโสดาบัน
และพระสกทากามี. พระอนาคามีและพระอรหันต์ มีทุกข์ทางกายเท่านั้น.
บทว่า สตฺตาวาสา คือ ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อธิบายว่า
ที่เป็นที่อยู่. ที่อยู่เหล่านั้นเหมือนขันธ์ทั้งหลายที่ประกาศไว้แล้ว . ใน
วิญญาณฐิติ 7 กับด้วยอสัญญสัตตภูมิ 1 และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ 1
จึงเป็นสัตตาวาส 9. บทว่า ทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ 10 คือ
จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ. บทว่า ทฺวาทสา-
ยตนานิ
ได้แก่ อายตนะ 10 กับด้วยมนายตนะ 1 และธรรมายตนะ 1.
บทว่า อฏฺฐารส ธาตุโย ได้แก่ ธาตุ 18 เพราะกระทำธาตุหนึ่ง ๆ ให้
เป็นอย่างละ 3 ๆ คือจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุ
ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.

บทว่า สาทินาโม คือ มีพระนามเช่นเดียวกัน กับพระผู้มีพระภาคเจ้า
เหล่านั้น. บทว่า สทิสนาโม คือ มีพระนามแสดงคุณอย่างเดียวกัน. บทว่า
สทิสวฺหโย คือ มีพระนามเรียกชื่อโดยคุณเป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สจฺจสทิสวฺหโย มีพระนามเหมือนนามจริง คือมีพระนามไม่วิปริต แสดง
ถึงพระคุณเป็นเอกแท้จริง. บทว่า อาสิโต นั่ง คือเข้าไปหา. บทว่า
อุปาสิโต เข้าไปนั่ง คือเข้าไปคบ. บทว่า ปยิรุปาสิโต นั่งใกล้ คือ
เข้าไปหาด้วยความภักดี.
บทว่า กุพฺพนกํ คือ ป่าเล็ก. บทว่า พหุปฺผลํ กานนมาวเสยฺย
อาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มาก คืออยู่อาศัยป่าที่เต็มไปด้วยผลไม้หลายชนิด.
บทว่า อปฺปทเส คือ ผู้มีปัญญาน้อยนับตั้งแต่พราหมณ์พาวรี. บทว่า
มโหทธึ มีน้ำมาก คือสระใหญ่มีสระอโนดาตเป็นต้น.
บทว่า อปฺปทสฺสา คือ เป็นผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า ปริตฺตทสฺสา คือ
เป็นผู้มีปัญญาอ่อนมาก. บทว่า โถกทสฺสา มีปัญญาเล็กน้อยคือมีปัญญาน้อย
ยิ่งกว่าน้อย. บทว่า โอมกทสฺสา คือ มีปัญญาต่ำช้า. บทว่า ลามกทสฺสา
มีปัญญาลามก คือโง่ถึงที่สุด. บทว่า ชตุกฺกทสฺสา มีปัญญาทราม
คือมีปัญญาต่ำ โง่ที่สุด. บทว่า อปฺปมาณทสฺสํ1 เห็นพระนิพพาน
อันเป็นอัปปมาณธรรม2 เพราะก้าวล่วงปมาณธรรม.3 บทว่า อคฺคทสฺส
มีปัญญาเลิศ คือเห็นธรรมอันเลิศโดยนัยมีอาทิว่า อคฺคโต ปสนฺนานํ
คือเลื่อมใสแล้วโดยความเป็นเลิศ. บทว่า เสฏฺฐทสฺสํ มีปัญญาประเสริฐ
คือมีปัญญาประเสริฐโดยนัยมีอาทิว่า สมฺพุทฺโธ ทิปทํ เสฏฺโฐ พระ-
พุทธเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า. สี่บทมีอาทิว่า วิเสฏฺฐทสฺสํ มีปัญญา
1. คำนี้ไม่มีในบาลี 2. ได้แก่โลกุตรธรรม 3. ได้แก่โลกิยธรรม.

วิเศษ เพิ่มอุปสัคลงไป. บทว่า อสมํ ไม่มีผู้เสมอ คือเป็นพระสัพพัญญู
หาผู้เสมอมิได้. บทว่า อสมสมํ สมกับไม่มีผู้เสมอ คือสมกับพระพุทธเจ้า
ในอดีตซึ่งไม่มีผู้เสมอ. บทว่า อปฺปฏิสมํ คือ ไม่มีผู้เสมอกับพระองค์.
บทว่า อปฺปฏิภาคํ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ คือเว้น จากรูปเปรียบของพระองค์.
บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลํ หาใครเปรียบมิได้ คือปราศจากบุคคลผู้เปรียบ
กับพระองค์. บทว่า เทวาติเทวํ คือ เป็นเทพยิ่งกว่าแม้วิสุทธิเทพ
(คือพระอรหันต์). ชื่อว่า อุสภะ เป็นผู้องอาจ เพราะอรรถว่า เห็นร่วมกัน
ในอภิมงคล. ชื่อว่าเป็น บุรุษสีหะ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้งหวาดเสียว.
ชื่อว่า บุรุษนาค เพราะอรรถว่า ไม่มีโทษ. ชื่อว่า บุรุษอาชาไนย เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้สูงสุด. ชื่อว่า เป็นบุรุษแกล้วกล้า เพราะอรรถว่า เหยียบ
แผ่นดินคือบริษัท 8 แล้วตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่หวั่นไหว
ด้วยปัจจามิตรที่เป็นศัตรูไร ๆ ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก. ชื่อว่า เป็น
บุรุษผู้นำธุระไป
เพราะอรรถว่า นำธุระคือพระธรรมเทศนาไป. บทว่า
มานสกตสรํ สระที่มนุษย์สร้างไว้ คือสระที่มนุษย์คิดสร้างไว้อันมีชื่อ
อย่างนั้น. บทว่า อโนตตฺตทหํ สระอโนดาต คือพระจันทร์และ
พระอาทิตย์เดินไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ ย่อมยังทิศนั้นให้สว่างใน
ระหว่างภูเขา เดินไปตรงย่อมไม่ให้แสงสว่าง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
สระนั้นจึงชื่อว่า อโนดาต. สระอโนดาตเป็นอย่างนี้.
บทว่า อกฺโขพฺภํ อนิโตทกํ มหาสมุทรที่ไม่กำเริบมีน้ำนับไม่ถ้วน
คือ ไม่สามารถจะให้น้ำซึ่งนับไม่ถ้วนหวั่นไหวได้. บทว่า เอวเมว เป็นบท
อุปมา. ใคร ๆ ไม่สามารถให้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหวั่นไหวได้โดย
ฐานะเป็นผู้องอาจ ดุจมหาสมุทรที่ไม่กำเริบฉะนั้น. บทว่า อมิตเตชํ

มีเดชนับไม่ถ้วน คือมีเดชคือพระญาณนับไม่ถ้วน. บทว่า ปภินฺนญาณํ
มีญาณแตกฉาน คือมีญาณแตกฉานด้วยอำนาจแห่งทศพลญาณเป็นต้น.
บทว่า วิวฏจกฺขุํ มีพระจักษุเปิดแล้ว คือมีสมันตจักษุ. บทว่า ปญฺญา-
ปเภทกุสลํ
ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา คือทรงฉลาดในความรู้
อันเป็นประเภทแห่งปัญญา โดยนัยมีอาทิว่า รู้ทั่ว รู้ก่อน ค้นคว้า
ค้นคว้าทั่ว ดังนี้. บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิทํ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาแล้ว
คือทรงได้ปฏิสัมภิทา 4 แล้ว. บทว่า จตุเวสารชฺชปฺปตฺตํ ทรงถึง
เวสารัชญาณ 4 แล้ว คือทรงถึงความเป็นผู้กล้าในฐานะ 4 ดังที่ท่าน
กล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้
เฉพาะ ท่านยังไม่รู้. บทว่า สุทฺธาธิมุตฺตํ คือ น้อมพระทัยไปในผล
สมาบัติอันบริสุทธิ์ คือเข้าไปในผลสมาบัตินั้น. บทว่า เสตปจฺจตฺตํ มี
พระองค์ขาวผ่อง คือมีอัตภาพพิเศษบริสุทธิ์ เพราะละแม้วาสนาได้แล้ว.
บทว่า อทฺวยภาณึ มีพระวาจามิได้เป็นสอง คือปราศจากพระวาจา
เป็นสอง เพราะมีพระวาจากำหนดไว้แล้ว. บทว่า ตาทึ เป็นผู้คงที่
คือเป็นเช่นนั้น หรือไม่หวั่นไหวไปในอารมณ์ ที่น่าปรารถนาและไม่น่า
ปรารถนา. ชื่อว่า ตถาปฏิญฺญา เพราะมีปฏิญญาอย่างนั้น. บทว่า
อปริตฺตกํ คือ ไม่เล็กน้อย. บทว่า มหนฺตํ เป็นผู้ใหญ่ คือถึงความเป็น
ผู้ใหญ่ล่วงไตรธาตุ. บทว่า คมฺภีรํ มีธรรมลึก คือคนอื่นเข้าถึงได้ยาก.
บทว่า อปฺปเมยฺยํ มีคุณธรรมอันใคร ๆ นับไม่ได้ คือชั่งไม่ได้. บทว่า
หุปฺปริโยคาหํ คือ มีคุณยากที่จะหยั่งถึง. บทว่า พหุรตนํ มีรัตน่ะมาก
คือมีรัตนะมาก ด้วยรัตนะมีศรัทธาเป็นต้น. บทว่า สาครสมํ มีคุณ
เสมอด้วยสาคร คือเช่นกับสมุทร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.

บทว่า ฉฬงฺคุเปกฺขาย สมนฺนาคตํ ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6
คือบริบูรณ์ด้วยอุเบกขามีองค์ 6 โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า เห็นรูปด้วยจักษุ
แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ. บทว่า อตุลํ ชั่งไม่ได้ คือปราศจากการชั่ง
ใคร ๆ ไม่สามารถจะชั่งได้. บทว่า วิปุลํ มีธรรมไพบูลย์ คือมีธรรม
ใหญ่ยิ่ง. บทว่า อปฺปเมยฺยํ ประมาณมิได้ คือไม่สามารถประมาณได้.
บทว่า ตํ ตาทิสํ มีพระคุณเช่นนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อม
ด้วยพระคุณคงที่. บทว่า ปวทตมคฺควาทินํ ตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่
กล่าว. พึงทราบการเชื่อมความว่า ตรัสธรรมที่ควรบอกกล่าวสูงสุดกว่า
พวกที่บอกกล่าว. บทว่า สิเนรุมิว นคานํ เช่นภูเขาสิเนรุเลิศกว่าภูเขา
ทั้งหลาย คือดุจภูเขาสิเนรุในระหว่างภูเขาทั้งหลาย. บทว่า ครุฬมิว
ทฺวิชานํ
คือ ดุจครุฑเลิศกว่านกทั้งหลายฉะนั้น. บทว่า สีหมิว มิคานํ
ดุจสีหะเลิศกว่ามฤคทั้งหลาย คือดุจสีหะเลิศในระหว่างสัตว์ 4 เท้าทั้งหลาย.
บทว่า อุทธิมิว อณฺณวานํ ดุจสมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลายมากมาย.
บทว่า ชินปวรํ เป็นพระชินะผู้ประเสริฐ คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ ในกาลก่อนอาจารย์เหล่าใด. บทว่า ตมนุ-
ทาสิโน
คือ ทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว. บทว่า
ภูริปญฺญาโณ มีพระปัญญาปรากฏ คือมีพระญาณเป็นธง. บทว่า
ภูริเมธโส มีพระปัญญาตั้งแผ่นดิน คือมีพระปัญญาไพบูลย์.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า ปภงฺกโร ทรงแผ่รัศมี คือทรงแผ่พระเดช. บทว่า
อาโลกกโร ทรงแผ่แสงสว่าง คือทรงกำจัดความมืด. บทว่า โอภาสกโร
ทรงแผ่โอภาส คือทรงแผ่แสงสว่าง. ชื่อว่า ทีปงฺกโร เพราะทรงแผ่แสงสว่าง

ดังประทีป. บทว่า อุชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างสูง คือทรงแผ่ความ
สว่าง. บทว่า ปชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างโชติช่วง คือทรงแผ่แสง
สว่างไปทั่วทิศใหญ่ทิศน้อย. บทว่า ภูริปญฺญาโณ มีพระปัญญาปรากฏ
คือมีพระญาณกว้างขวาง. บทว่า ญาณปญฺญาโณ มีพระญาณปรากฏ
คือปรากฏด้วยพระญาณ. บทว่า ปญฺญาธโช มีปัญญาเป็นดังธง คือ
มีปัญญาดังธง เพราะอรรถว่า ยกขึ้น ดุจในบทมีอาทิว่า ธงเป็นเครื่อง
ปรากฏของรถ. บทว่า วิภูตวิหารี มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง คือ
มีวิหารธรรมปรากฏ.
บทว่า สนฺทิฏฐิกมกาลิกํ คือ อันผู้ประพฤติพึงเห็นผลเอง ไม่
ให้บรรลุผลในลำดับกาล. บทว่า อนีติกํ คือ ปราศจากจัญไรมีกิเลส
เป็นต้น.
บทว่า สนฺทิฏฐิกํ อันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง คืออีนผู้บรรลุโลกุตร-
ธรรม พึงละธรรมที่พึงถึงด้วยศรัทธาของคนอื่นแล้ว เห็นด้วยตนเอง
ด้วยปัจจเวกขณญาณ. พระธรรมนั้นอันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง. ชื่อว่า
อกาโล ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะไม่มีกาล หมายถึงการให้ผลของตน.
ไม่ประกอบด้วยกาลนั้นแล ชื่อว่า อกาลิโก. อธิบายว่า อริยมรรคธรรม
นั้นย่อมให้ผลของตนในลำดับทีเดียว1 พระธรรมนั้นไม่ประกอบด้วย
กาลนั้น. ชื่อว่า เอหิปฺสสิโก เพราะควรเรียกให้มาดูเป็นไปอย่างนี้ว่า
จงมาดูธรรมนี้เถิด. พระธรรมนั้นควรเรียกให้มาดู. ชื่อว่า โอปนยิโก
เพราะแม้เพ่งถึงผ้าและศีรษะที่ถูกไฟไหม้ก็ย่อมควร น้อมเข้าไปในจิต
ของตน. พระธรรมนั้นควรน้อมเข้าไป. ชื่อว่า อันวิญญูชนพึงรู้ด้วย
1. คือเมื่ออริยมรรคจิตดับไป ผลจิตเกิดต่อทันที.

ตนเอง เพราะอันบุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญูเป็นต้น แม้ทั้งปวงพึงทราบ
ในตนว่า มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว.
ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์กล่าวสองคาถากะท่านปิงคิยะ มีอาทิว่า
กินฺนุ ตมฺหา ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้ครู่หนึ่งหรือหนอดังนี้.
บทว่า มุหุตฺตมฺปิ คือ แม้หน่อยหนึ่ง. บทว่า ขณมฺปิ แม้ขณะ
หนึ่ง คือแม้ไม่มาก. บทว่า ลยมฺปิ คือ แม้พักหนึ่ง. บทว่า วสฺสมฺปิ
คือ แม้ส่วนหนึ่ง. บทว่า อฏฺฐมฺปิ คือ แม้วันหนึ่ง.
ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะ เมื่อจะแสดงถึงการไม่อยู่ปราศจากสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นาหํ ตมฺหา อาตมา
มิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า โย เม ฯ ล ฯ ปสฺสามิ นํ มนสา จกฺขุนาว คือ อาตมา
เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยมังสจักษุ. บทว่า
นมสฺสมาโน วิวเสมิ รตฺตึ คือ อาตมานมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน.
บทว่า เตน เตเนว นโต อาตมาเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ
ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยทิศาภาคใด ๆ แม้อาตมาก็นอบ
น้อมไปโดยทิศาภาคนั้น ๆ เอนไปในทิศนั้น โอนไปในทิศนั้น เงื้อมไป
ในทิศนั้น น้อมไปในทิศนั้น.
บทว่า ทุพฺพลถามกสฺส มีเรี่ยวแรงทุรพล คือมีกำลังน้อย.
อีกอย่างหนึ่ง. มีกำลังน้อยและมีเรี่ยวแรงน้อย. ท่านกล่าวว่ามีกำลังคือ
ความเพียรหย่อน. บทว่า เตเนว กาโย น ปเนติ คือ กายไม่ได้ไปใน
สำนักพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล เพราะมีเรี่ยวแรงน้อย.

ปาฐะว่า น ปเลติ บ้าง ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ตตฺถ คือ ใน
สำนักพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า สงฺกปฺปยนฺตาย ด้วยความดำริ คือไป
ด้วยความดำริ. บทว่า เตน ยุตฺโต ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับ
โดยทิศาภาคใด ใจของอาตมาประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ขวน-
ขวายแล้วโดยทิศาภาคนั้น.
บทว่า เยน พุทฺโธ คือ ควรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยทิศาภาค
ใด ไม่ไปโดยทิศาภาคนั้น. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เยน เป็นคติยาวิภัตติ
ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เป็น ยตฺถ ความว่า พระพุทธเจ้าประทับ
ณ ที่ใด ไม่ไป ณ ที่นั้น. บทว่า น วชติ คือ ไม่ไปข้างหน้า. บทว่า
น คจฺฉติ คือ ไม่เป็นไป. บทว่า นาภิกฺกมติ คือ ไม่เข้าไปหา.
บทว่า ปงฺเก สยาโน คือ นอนในเปือกตมคือกาม. บทว่า ทีปา
ทีปํ อุปลฺลวึ
แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง คือไปหาศาสดาเป็นต้น แต่
ศาสดาเป็นต้น. บทว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธํ ภายหลังได้เห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า คืออาตมานั่นถือทิฏฐิผิดอย่างนี้ท่องเที่ยวไป คราวนั้นได้เห็น
พระพุทธเจ้า ณ ปาสาณกเจดีย์.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เสมาโน คือ นอนอยู่. บทว่า สยมาโน
คือ สำเร็จการนอน. บทว่า อาวสมาโน คือ อยู่. บทว่า ปริวสมาโน
คือ พักอยู่เป็นนิจ. บทว่า ปลฺลวึ คือ ยิ่ง. บทว่า อุปลฺลวึ แล่นไป
แล้ว คือถึงฝั่ง. บทว่า สมุปลฺลวึ คือ เลื่อนไปแล้ว. เพิ่มอุปสัคลงไป.
บทว่า อทฺทสํ ได้เห็นแล้ว เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยายความ. บทว่า อทฺทกฺขึ
คือ ได้พบแล้ว. บทว่า อปสฺสึ คือ ได้ประสบแล้ว. บทว่า ปฏิวชฺฌึ
คือ แทงตลอดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นจบพระคาถานี้ทรงทราบว่า ท่านปิงคิยะ
และพาวรีพราหมณ์มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
นั่นเอง เปล่งพระรัศมีสีทองออกไป. ท่านปิงคิยะนั่งพรรณนาพระพุทธคุณ
แก่พาวรีพราหมณ์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจประทับยืนอยู่ข้างหน้าตน
จึงบอกแก่พาวรีพราหมณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว. พราหมณ์ลุกจาก
ที่นั่งยืนประคองอัญชลี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแผ่พระรัศมีไป
แสดงพระองค์แก่พราหมณ์ ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของชนแม้ทั้งสอง
เมื่อจะตรัสเรียกท่านปิงคิยะเท่านั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า ยถา อหุ วกฺกลิ
ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ พระวักกลิเถระเป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อย
แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง บรรดามาณพ 16 คน
ภัทราวุธะ คนหนึ่งก็ดี อาฬวิโคตมะ ก็ดี ล้วนมีศรัทธาอันปล่อยแล้ว
ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปล่อยศรัทธาแต่
นั้น จึงเริ่มวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้ จัก
ถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
จบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.
เมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะทั้งอยู่ในอรหัตผล พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่
ในอนาคามิผล. ส่วนบริษัท 500 ของพาวรีพราหมณ์ได้เป็นโสดาบัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มุญฺจสฺสุ คือ จงละ. บทว่า ปมุญฺจสฺสุ
คือ จงปล่อย. บทว่า อธิมุญฺจสฺสุ จงน้อมลง คือจักทำการน้อมลงใน
ศรัทธานั้น. บทว่า โอกปฺเปหิ จงกำหนด คือจงให้เกิดความพยายาม
ให้มาก. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

ด้วยอรรถว่า มีแล้วไม่มี. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งหลาย
เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก คือทนอยู่ไม่ได้. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา
อนตฺตา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่า ไม่อยู่ในอำนาจ.
บัดนี้ ท่านปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตน จึงกล่าว
คาถามีอาทิว่า เอส ภิยฺโย คือ ข้าพระองค์นี้ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี
แล้วย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาณวา เป็นผู้มีปฏิภาณ คือเข้าถึง
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. บทว่า ภิยฺโย คือ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
บทว่า อธิเทเว อภิญฺญาย คือ ทรงรู้ธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ.
บทว่า ปโรปรํ คือ เลวและประณีต. ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงรู้ธรรมชาติ
ทั้งหมดอันทำความเป็นอธิเทพให้แก่พระองค์และผู้อื่น. บทว่า กงฺขีนํ
ปฏิชานตํ
ทรงทำผู้สงสัยให้กลับรู้ได้ คือ เมื่อมีผู้สงสัยกลับรู้ว่า เรา
หมดสงสัยแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า ปารายนิกปญฺหานํ คือ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้
แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่ง. ชื่อว่า อนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุด.
ชื่อว่า ปริยนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุดรอบ. ชื่อว่า ปริจฺเฉทกโร
เพราะทรงทำความกำหนดเขตแดน. ชื่อว่า ปริวฏุมกโร เพราะทรงทำ
ความสรุป. บทว่า ปิงฺคิยปญฺหานํ เพื่อทรงแสดงว่า มิใช่ทรงกระทำ
ส่วนสุดแห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่งอย่าง
เดียว ที่แท้ทรงกระทำส่วนสุดแห่งปัญหาแม้ของปิงคิยปริพาชกเป็นต้น
ด้วย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปิงฺคิยปญฺหานํ ปัญหาของปิงคิยะดังนี้.

บทว่า อสํหิรํ คือ นิพพานอันราคะเป็นต้นนำไปไม่ได้. บทว่า
อสํกุปฺปํ คือ ไม่กำเริบ ไม่มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา. ท่าน
กล่าวถึงนิพพานด้วยบททั้งสอง. บทว่า อทฺธา คมิสฺสามิ ข้าพระองค์
จักถึงเป็นแน่แท้ คือจักถึงนิพพานธาตุ อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น โดยส่วน
เดียวเท่านั้น. บทว่า น เมตฺถ กงฺขา คือ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้
มีแก่ข้าพระองค์. บทว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ ขอพระองค์ทรง
จำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้ ความว่า ท่านปิงคิยะ
ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นแล้วในตน ด้วยโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ว่า
แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธา ฉันนั้น แล้วปล่อยด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง เมื่อ
จะประกาศศรัทธาธิมุติ (ความน้อมไปด้วยศรัทธา) นั้น จึงทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า เอวํ มํ ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ มีอธิบายว่า ขอพระองค์
จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว เหมือนอย่างที่พระองค์
ได้ตรัสไว้กะข้าพระองค์แล้วฉะนั้น.
บทว่า น สํทริยติ คือ ไม่สามารถถือนำเอาไปได้. บทว่า นิโยค-
วจนํ
เป็นคำประกอบ. บทว่า อวฏฺฐาปนวจนํ เป็นคำสันนิษฐาน.
ใน ปรายนวรรค นี้ บทใดมิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ พึงถือเอา
บทนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บทที่เหลือในบททั้งปวง
ชัดดีแล้ว.
จบอรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส
จบอรรถกถาปรายนวรรคนิทเทส
แห่งขุททกนิกายอรรถกถา ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา

ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

1

ว่าด้วยการเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด


[663] พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียด-
เบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดหนึ่ง ไม่พึงปรารถนาบุตร
จักปรารถนาสหายแต่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรดฉะนั้น.

[664] คำว่า ทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย
ทณฺฑํ
ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการ
ทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า ทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวม
หมด. สัตว์ทั้งหลายทั้งผู้สะดุ้ง ทั้งผู้มั่นคง ท่านกล่าวว่า สัตว์ ในคำว่า
ภูเตสุ ดังนี้. สัตว์เหล่าใดยังละตัณหาไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดยังละความ
กลัวและความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้สะดุ้ง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว
ครั่นคร้าม ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้สะดุ้ง.
สัตว์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว และละความกลัวและความขลาดได้แล้ว
สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้มั่นคง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
เสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ผู้มั่นคง.

1. อธิบายคาถา 41 คาถา ของพระปัจเจกพุทธเจ้า 41 องค์ ในขัคควิสาณสูตร ขุ. สุ.
25/ข้อ 296.