เมนู

กัปปมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านกัปปะ


[366] (ท่านกัปปะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรมอันเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อัน
ชราและมัจจุราชถึงรอบแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก
อย่างไร.

[367] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการมาและการไป
กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติ
ชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ติฏฐตํ
ดังนี้.
แม้ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้ที่สุดข้างปลายแห่ง
สงสารก็ไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง
ติดอยู่ น้อมใจ ไปแล้ว ในท่ามกลางสงสาร.
ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้น
ชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่ง
สงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยชาติเท่านี้ พ้น
จากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติ

เท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติ
เท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้น
พันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปี
เท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ...
สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัป
เท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิกัป
เท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร
ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้.
สมจริงดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดอันรู้ไม่ได้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นไว้ มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป เสวยความทุกข์ความพินาศเป็น
อันมากตลอดกาลนาน มากไปด้วยป่าช้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้
แหละ จึงสมควรจะเบื่อหน่าย ควรจะคลายกำหนัด ควรจะหลุดพ้นใน
สังขารทั้งปวง ดังนี้. ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้.
ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร วัฏฏะจักเป็นไป
สิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างปลาย
แห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ...
สิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อย
โกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สินแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้น
ปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้... สิ้นพันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้... สิ้นโกฏิ

ปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปี
เท่านี้... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสน
กัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัป
เท่านี้ ... วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป
ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ แม้
ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างนี้.
สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน ติดอยู่ น้อมใจไปแล้ว
ในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร.

คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่อง
กล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า กปฺโป
เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ท่านกัปปะทูลถามว่า.
[368] คำว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความ
ว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ
เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว. คำว่า เมื่อภัยใหญ่มี
แล้ว ความว่า เมื่อชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย มีแล้ว เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว.
[369] คำว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชรา
ถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุราชถูกต้อง ถึงรอบ

ตั้งลง ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ
มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุราชถึงรอบแล้ว.
[370] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่ง
ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ขอจงทรง
ประกาศซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น
ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและ
ความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระ-
องค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง.
[371] พราหมณ์นั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์ ใน
อุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ทีปมกฺขาหิ ดังนี้.
คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง ความว่า ขอจงตรัสบอก ...
ขอจงประกาศซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่
ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์.
[372] คำว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร ความว่า ทุกข์นี้พึงดับ
คือ พึงสงบ พึงถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้นี่แหละ คือ
ทุกข์อันมีในปฏิสนธิไม่พึงบังเกิดอีก คือ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดพร้อม
ไม่พึงบังเกิด ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโว-
การภพ ปัญจโวการภพ ในคติใหม่ อุปบัติใหม่ ปฏิสนธิใหม่ ภพ
สงสารหรือในวัฏฏะ พึงดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในภพ
นี้นี่แหละ อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว
ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก
อย่างไร.


[373] (พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนกัปปะ)
เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ที่ตั้งอยู่
ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่
มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ดูก่อนกัปปะ เรา
จะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน.

[374] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการไปและการมา
กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก
ชาติ ชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเฌ สรสฺมึ
ติฏฺฐตํ
ดังนี้.

แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ล ฯ
ก็สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจไปแล้ว
ในท่ามกลางสงสาร ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร ฯลฯ
ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร
ย่อมไม่ปรากฏอย่างไร ฯ ล ฯ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้
อย่างนี้ แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้
อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อม
ใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ใน
อุเทศว่า กปฺปาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนกัปปะ.
[375] ข้อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความ
ว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ เกิด
พร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว.
คำว่า เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย
มรณภัย มีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัย
ใหญ่มีแล้ว.
[376] ข้อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชรา
ถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง

ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะ
ก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไร
เป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว.
[377] ข้อว่า ดูก่อนกัปปะ เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน
ความว่า เราจะบอก ... จะประกาศ ซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่
ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ใน
อุเทศว่า กปฺป เต ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนกัปปะ เราจะบอก
ธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่ตั้งอยู่
ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่
มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ดูก่อนกัปปะ เรา
จะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน.


[378] เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มี
ตัณหาเครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไป
แห่งชราและมัจจุนี้นั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง.

[379] คำว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ
อนาทานํ
ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสทุจริต
เป็นเครื่องกังวล อมตนิพพานะเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็น

ที่ระงับแห่งกิเลสเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล.

คำว่า ไม่มีตัณหาเครี่องถือมั่น ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ
ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า เครื่องถือมั่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น.
[380] คำว่า เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น ความว่า เป็นที่
พึ่ง คือ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ซ่อนเร้น เป็นสรณะ เป็นคติที่ไป.
คำว่า ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น คือ ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพาน
นั้นมิได้มี โดยที่แท้ที่พึ่งนั้นนั่นแหละเป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธานสูงสุด และอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่พึ่งนี้ไม่ใช่
อย่างอื่น.
[381] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตรัสว่า วานะ ในอุเทศว่า นิพฺพานํ อิติ นํ พฺรูมิ ดังนี้.
อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่ง
ตัณหาเครื่องร้อยรัด.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับ.
คำว่า เราขอบอก คือ เราขอบอก ... ขอประกาศ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เราขอบอกนิพพานนั้น.
[382] คำว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ ความว่า อมตนิพพาน
เป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มี
ตัณหาเครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไป
แห่งชราและมัจจุนี้นั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง.


[383] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้ว
เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจแห่งมาร ไม่ไป
บำรุงมาร.

[384] คำว่า เอตํ ในอุเทศว่า เอตทญฺญาย เย สตา ดังนี้
คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัด.
คำว่า อญฺญาย คือ รู้ทั่วถึง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ
ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่วถึง ... ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ
ไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ 4 ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ เพราะเหตุนั้น
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ.
[385] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรม

อันเห็นแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรม
อันพิจารณา มีธรรมอันเจริญแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับ
ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว.
[386] ผู้ประกอบมหาชนไว้ในบาปธรรมแล้วให้ตาย ผู้ประกอบ
มหาชนไว้ในธรรมดำ เป็นผู้ใหญ่ ผู้มีในส่วนสุดแห่งอกุศลธรรม ผู้ไม่
ปล่อยมหาชน ผู้เป็นพวกพ้องของคนประมาท ชื่อว่า มาร ในอุเทศว่า
น เต มารวสานุคา ดังนี้.
คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจมาร
ความว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจมาร แม้
มารก็ยังอำนาจให้เป็นไปในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นไม่ได้ พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้นครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีซึ่งมาร พวก
ของมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร ที่อยู่แห่งมาร โคจร
แห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ย่อมอยู่ ดำเนิน เป็นไป รักษา บํารุง
เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่
ไปตามอำนาจมาร.
[387] คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุงมาร
ความว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุง เที่ยวบำรุง บำเรอ
รับใช้มาร พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้บำรุง เที่ยวบำรุง
บำเรอ รับใช้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุงมาร เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้ว
เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจแห่งมาร ไม่ไป
บำรุงมาร.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบกัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ 10

อรรถกถากัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ 10


พึงทราบวินิจฉัยใน กัปปสุตตนิทเทสนี้ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสงสารอันเป็นท่ามกลาง
เพราะไม่มีความปรากฏที่สุดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย. บทว่า ติฏฺฐตํ
คือ แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่. บทว่า ยถยิทํ นาปรํ สิยา คือ ทุกข์นี้ไม่
พึงมีอีกอย่างไร.
บทว่า อาคมนํ การมา คือ การมาในที่นี้แต่เบื้องต้นและที่สุด.
บทว่า คมนํ การไป คือ การไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้. บทว่า คมนา-
คมนํ
การไปและการมา ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจทั้งสองอย่างนั้น.