เมนู

โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านโตเทยยะ


[346] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า)
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
ของผู้นั้นเป็นเช่นไร.

[347] คำว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ความว่า กาม
ทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โตเทยฺย ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพยำเกรง. คำว่า โตเทยฺย เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโตเทยยะทูลถามว่า.
[348] คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อม
ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ผู้ใด คือ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น. เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
[349] คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า
ผู้ใดข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามพ้น ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็น

ไปล่วงแล้วจากความสงสัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และผู้ใดข้ามพ้นจาก
ความสงสัยได้แล้ว.
[350] คำว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร ความว่า พราหมณ์
นั้นย่อมทูลถามวิโมกข์ว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นอย่างไร คือ มีสัณฐาน
เช่นไร มีประการอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร อันบุคคลนั้นพึงปรารถนา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
ของผู้นั้นเป็นเช่นไร.


[351] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโตเทยยะ)
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มี
แก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี.

[352] คำว่า ยสฺมึ ในอุเทศว่า ยสฺมึ กามา น วสนฺติ ดังนี้
คือ ในพระอรหันตขีณาสพ โดยหัวข้อว่า กามา กามมี 2 อย่าง คือ
วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้
เรียกว่ากิเลสกาม.
คำว่า ย่อมไม่มี ความว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ คือ ย่อมไม่
อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มี

อยู่ในผู้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า โตเทยยะ
ในอุเทศว่า โตเทยฺยาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า ภควา นี้ เป็น
สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนโตเทยยะ.
[353] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ยสฺส น วิชฺชติ ดังนี้.
คำว่า ยสฺส คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ.
คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อมไม่มี คือ
ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์แก่ผู้ใด คือ ตัณหานั้นอันผู้ใดละแล้ว สงบแล้ว
ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
[354] วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในทุกข์ ฯ ล ฯ ความที่จิต
หวาด ใจสนเท่ห์ เรียกว่า กถังกถา ในอุเทศว่า กถงฺกถา จ โย ติณฺโณ
ดังนี้.
คำว่า โย คือ พระขีณาสพนั้นใด.
คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า ผู้ใด
ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงจากความ
สงสัยได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัย
ได้แล้ว.
[355] คำว่า วิโมกข์อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี ความว่า
วิโมกข์อย่างอื่นอันเป็นเครื่องให้หลุดพ้นได้ของผู้นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นควร

ทำกิจด้วยวิโมกข์อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์อย่างอื่นของ
ผู้นั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี.


[356] ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ ขอพระองค์ตรัสบอกให้แจ้งซึ่ง
ปัญญานั้น แก่ข้าพระองค์.

[357] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีความหวังอยู่ ความว่า
ผู้นั้นไม่มีตัณหาหรือยังมีตัณหา คือ ย่อมหวัง จำนง ยินดี ปรารถนา
รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ
อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอก-
โวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่.
[358] คำว่า ผู้มีปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาณวา โส อุท

ปญฺญกปฺปี ดังนี้ ความว่า เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า หรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า หรือว่า
ย่อมก่อตัณหาทิฏฐิ คือ ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้
บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณคืออภิญญา 5
หรือด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นมีปัญญาหรือมีความก่อ
(ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา.
[359] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสักกะ ในคำว่า สกฺก
ในอุเทศว่า มุนี อหํ สกฺก ยถา วิชญฺญํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้
เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่าพระสักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่าพระสักกะ.
พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์
คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือ
ปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท
ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค
ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ ด้วยทรัพย์เป็นดังว่าแก้วหลายอย่างเหล่านั้น
แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้อาจ องอาจ สามารถ

ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง
ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุก
ขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าพระสักกะ.
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ความ
ว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จัก คือ พึงรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ
รู้ประจักษ์ ซึ่งมุนีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร.
[360] คำว่า ตํ ในอุเทศว่า ตมฺเม วิยาจิกฺข สมนฺตจกฺขุ
ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ขอให้
ประสาท ซึ่งปัญหาใด.
คำว่า ขอโปรดตรัสบอกให้แจ้ง ความว่า ขอจงตรัสบอก...
ขอจงประกาศ พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า
สมนฺตจกฺขุ ฯ ล ฯ เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกให้แจ้งซึ่งปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกล่าวว่า
ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกให้แจ้ง
ซึ่งปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์.

[361] ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ดูก่อนโตเทยยะ
ท่านจงรู้จักมุนี ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพแม้อย่างนี้.

[362] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ ความว่า ผู้นั้น
ไม่มีตัณหา ไม่เป็นไปกับด้วยตัณหา คือ ไม่หวัง ไม่จำนง ไม่ยินดี
ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่ชอบใจ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น ฯ ล ฯ รูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่.
[363] คำว่า ผู้นั้นมีปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาณวา โส น
จ ปญฺญกปฺปี
ดังนี้ ความว่า ผู้นั้นเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความ
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า ผู้นั้น
ย่อมไม่ก่อซึ่งตัณหาหรือทิฏฐิ คือ ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิด
พร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณ
คืออภิญญา 5 หรือด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นมีปัญญา
ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา.
[364] ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ในอุเทศว่า
เอวมฺปิ โตเทยฺย มุนึ วิชาน ดังนี้ ฯ ล ฯ บุคคลนั้นล่วงแล้วซึ่งธรรม
เป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย ย่อมเป็นมุนี.
คำว่า ดูก่อนโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี ... แม้อย่างนี้ ความว่า

ดูก่อนโตเทยยะ ท่านจงรู้จัก รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ซึ่งมุนีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนโทเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี... แม้อย่างนี้.
[365] คำว่า อกิญฺจนํ ในอุเทศว่า อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ
ดังนี้ ความว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวล
คือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส
เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้อันมุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
มุนีนั้นตรัสว่า ไม่มีเครื่องกังวล โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า กามภเว
ดังนี้ กามมี 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้
เรียกว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม โดยอุเทศว่า ภพ ภพมี
2 อย่าง คือ กรรมภพ 1 ปุนภพอันมีในปฏิสนธิ 1 ฯ ล ฯ นี้เป็นปุนภพ
อันมีในปฏิสนธิ.
คำว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ความว่า
ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวข้อง ไม่พัวพัน ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่ประกอบในกามและภพ มีใจอันทำให้ปราศจาก
เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ดูก่อนโตเทยยะ
ท่านจงรู้จักมุนีผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ
แม้อย่างนี้.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก
ฉะนี้แล.
จบโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 9

อรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 9


พึงทราบวินิจฉัยในโตเทยยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร
โตเทยยมาณพทูลถามว่า วิโมกข์ของผู้นั้นพึงปรารถนาเช่นไร. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีวิโมกข์อื่นแก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ 2.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร คือ วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความสิ้นตัณหา
นั้นแลเป็นวิโมกข์ โตเทยยมาณพก็มิได้เข้าใจความนั้น จึงทูลถามอีกว่า
นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺญกปฺปี หรือมีความก่อด้วยปัญญา
คือก่อตัณหาหรือทิฏฐิด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกความนั้น แก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 4.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กามภเว คือ ในกามและในภพ. บทว่า
รูเป นาสึสติ ไม่หวังในรูป คือไม่ปรารถนาในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน 4.