เมนู

เหมกมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ


[324] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์
เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีใน
คำนั้น.

[325] คำว่า เย ในอุเทศว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ดังนี้
ความว่า พาวรีพราหมณ์และพราหมณ์อื่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรี-
พราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอกแล้ว . . . ประกาศแล้ว ซึ่งทิฏฐิของตน
ความควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน อัธยาศัยของตน
ความประสงค์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นก่อน . . . พวก
อาจารย์เหล่านี้พยากรณ์แล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เหมโก ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
ด้วยความเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วย
ความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า เหมโก เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านเหมกะทูลถามว่า.

[326] คำว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ความว่า ใน
กาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ก่อน
กว่าศาสนาของพระโคดม กว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า กว่าศาสนาของ
พระชินเจ้า กว่าศาสนาของพระตถาคต กว่าศาสนาของพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม.
[327] คำว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ ความว่า ได้
ยินว่า เรื่องนี้มีแล้วอย่างนี้ ได้ยินว่า เรื่องนี้จักมีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้.
[328] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา ความว่า
คำทั้งปวงนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คือ อาจารย์เหล่านั้น กล่าวธรรม
อันไม่ประจักษ์แก่ตน ที่ตนมิได้รู้เฉพาะเอง โดยบอกตามที่ได้ยินกันมา
บอกตามลำดับสืบ ๆ กันมา โดยอ้างตำรา โดยเหตุที่นึกเดาเอาเอง โดย
เหตุที่คาดคะเนเอาเอง ด้วยความตรึกตามอาการ ด้วยความชอบใจว่าต้อง
กับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ
กันมา.
[329] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ
ความว่า คำทั้งปวงนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ คือ เป็นเครื่องยัง
วิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความดำริให้เจริญ เป็นเครื่องยังกามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงญาติให้เจริญ
เป็นเครื่องยังความตรึกถึงชนบทให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงเทวดา
ให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่นให้เจริญ เป็น
เครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญให้เจริญ

เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นให้เจริญ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.
[330] คำว่า ข้าพระองค์ไม่ยินดียิ่งในคำนั้น ความว่า ข้าพระ-
องค์ไม่รู้ ไม่เข้าถึง ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
ไม่ยินดีในคำนั้น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์
เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีใน
คำนั้น.


[331] ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็น
เครื่องกำจัดตัณหา ที่บุคคลรู้แล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึง
ข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.

[332] พราหมณ์นั้นกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์
ในอุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้.
คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์
โปรดตรัส . . . โปรดทรงประกาศพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และข้อปฏิบัติอันให้ถึงนิพพาน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ... แก่ข้าพระองค์.
[333] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหานิคฺฆาตนํ มุนิ
ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดตัณหา ความว่า เป็นเครื่องปราบตัณหา
เป็นเครื่องละตัณหา เป็นเครื่องสงบตัณหา เป็นเครื่องสละคืนตัณหา
เป็นเครื่องระงับตัณหา เป็นอมตนิพพาน.
ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนิ ฯ ล ฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย จึง
เป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระมุนี . . . เครื่องกำจัดตัณหา.
[334] คำว่า ที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า
บุคคลทำธรรมใดให้ทราบแล้ว คือ เทียบเคียงแล้ว พิจารณา ให้เจริญ
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้ทราบแล้ว . . . ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยอาการ 4 อย่าง คือเป็นผู้มี
สติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ ผู้นั้นท่านกล่าวว่า
เป็นผู้มีสติ.
คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นไป รักษา เยียวยา ให้เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่บุคคล
ทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.

[335] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า ตเร โลเก
วิสตฺติกํ
ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า
แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก ความว่า
พึงเป็นผู้มีสติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ซึ่งตัณหาอันซ่านไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็น
เครื่องกำจัดตัณหาที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึง
ข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก แก่ข้า-
พระองค์เถิด.


[336] ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะใน
ปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยินและที่ได้ทราบ (ที่รู้
แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.

[337] คำว่า ทิฏฺฐํ ในอุเทศว่า อิธ ทิฏฺฐสุตมุตํ วิญฺญาเตสุ
ดังนี้ ความว่า ที่ได้เห็นด้วยจักษุ. คำว่า สุตํ ความว่า ที่ได้ยินด้วยหู.
คำว่า มุตํ ความว่า ที่ทราบ คือที่สูดด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วย

กาย. คำว่า วิญฺญาตํ คือ ที่รู้ด้วยใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า . . . ที่เห็น
ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง.
[338] คำว่า ดูก่อนเหมกะ . . . ในปิยรูปทั้งหลาย ความว่า
สิ่งอะไรเป็นปิยรูป (เป็นที่รัก) สาตรูป (เป็นที่ยินดี) ในโลก. จักษุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุวิญญาณ โสต-
วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กาย-
สัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูป-
สัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรม-
ตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก
โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิจาร สัททวิจาร
คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในปิยรูปทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าเหมกะ.
[339] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินใน
กาม ตัณหาในกาม ความสิเน่หาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความ

หลงในกาม ความชอบใจในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ
กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า ฉันทราคะ ในอุเทศว่า ฉนฺทราควิโน-
ทนํ
ดังนี้. คำว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ ความว่า เป็นที่ละฉันทราคะ
เป็นที่สงบฉันทราคะ เป็นที่สละคืนฉันทราคะ เป็นที่ระงับฉันทราคะ
เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ.
[340] คำว่า บทนิพพาน... ไม่เคลื่อน ความว่า บทนิพพาน คือ
บทที่ต้านทาน บทที่เร้น บทที่ยึดหน่วง บทที่ไม่มีภัย. คำว่า ไม่เคลื่อน
คือ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง เป็นธรรมไม่แปรปรวน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บทนิพพาน . . . ไม่เคลื่อน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะใน
ปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน และที่ได้ทราบ (ที่
รู้แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.

[341] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้น
แล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย
เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ใน
โลก.

[342] คำว่า เอตํ ในอุเทศว่า เอตทญฺญาย เย สตา ดังนี้
คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด.

คำว่า รู้ทั่วถึง ความว่า รู้ทั่ว คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่ว ทราบ . . . ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา. คำว่า เย คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ 4 ประการ คือ
มีสติเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนี้ เป็นผู้มีสติ.
[343] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรม
อันเห็นแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรมอัน
พิจารณาแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันปรากฏแล้ว มีธรรม
อันเห็นแล้ว . . . มีธรรมอันปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ยังราคะ โทสะ
โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงให้ดับ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว.
[344] คำว่า เข้าไปสงบแล้ว ในอุเทศว่า อุปสนฺตา จ เต สทา
ดังนี้ ความว่า ชื่อว่าเข้าไปสงบแล้ว คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เข้าไป
สงบวิเศษแล้ว ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ
ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นธรรมชาติ

สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว ไหม้แล้ว ดับแล้ว ปราศจากไปแล้ว เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. คำว่า เต คือ พระอรหันต-
ขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า ทุกสมัย คือ ทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง สิ้นกาลทั้งปวง สิ้นกาล
เป็นนิตย์ กาลยั่งยืน เนือง ๆ ติดต่อ ไม่เจือกับเหตุอื่นสืบต่อโดยลำดับ
เหมือนระลอกน้ำมิได้ว่างสืบต่อไม่ขาดสาย กาลมีประโยชน์ กาลที่ถูก
ต้อง กาลเป็นปุเรภัต กาลเป็นปัจฉาภัต ยามต้น ยามกลาง ยามหลัง
ข้างแรม ข้างขึ้น คราวฝน คราวหนาว คราวร้อน ตอนวัยต้น ตอน
วัยกลาง ตอนวัยหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย.
[345] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ในอุเทศว่า ติณฺณา โลเก วิสตฺติกํ ดังนี้.
ตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกํ เพราะอรรถว่ากระไร
เพราะอรรถว่า ฯ ล ฯ แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว. . .ในโลก ความว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งตัณหาอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่ง
ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้น
แล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย
เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ใน
โลก.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ พระเหมกะนั่งประนมอัญชลี
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 8

อรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ 8


พึงทราบวินิจฉัยในเหมกสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากํสุ ในกาลก่อนพวกอาจารย์เหล่านี้
พยากรณ์แล้ว คือในกาลก่อนพาวรีพราหมณ์เป็นต้นพยากรณ์ลัทธิของตน
แก่ข้าพระองค์. บทว่า หุรํ โคตมสาสนา คือ ก่อนแต่ศาสนาของพระ-
โคดม. บทว่า สพฺพนฺตํ ตกฺกวฑฺฒนํ คือ คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยัง
ความวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เจริญ.
บทว่า เย จญฺเญ ตสฺส อาจริยา พราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์
ของพาวรีพราหมณ์ คือพราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์ผู้ให้พาวรีพราหมณ์
นั้นศึกษาถึงมารยาท. บทว่า เต สกํ ทิฏฺฐึ คือ อาจารย์เหล่านั้นบอกถึง
ทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า สกํ ขนฺตึ คือ ความอดทนของตน. บทว่า